เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน, (วปอ.9469)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวกนกนุช จินดาโชตสิริ, (วปอ.9469)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวกนกนุช จินดาโชตสิริ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่64
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา และอุปสรรคการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย
และต่างประเทศ และเพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน โดยการใช้เครื่องมือ
คือการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบดังนี้
1. สถานการณ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นด้วยสาเหตุเพราะ
ประชาชนมีการใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้นและมีการส่งเสริมที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจ
ที่สร้างสรรค์ที่มีความแข็งแกร่งและพึ่งพาตนเองได้ ภาครัฐได้มีการจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วย
การพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 และให้ใช้ต่อเนื่องจนถึงปี 2565 และได้จัดทำ
กฎหมายในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ออกตามความในพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร
พ.ศ. 2562 และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบการกำกับดูแลของกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยาแต่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยนั้นได้พบปัญหาและอุปสรรค
ตามห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาไม่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์
การจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำไปสู่ภาคอุตสาหกรรมมีไม่เพียงพอและไม่ได้คุณภาพ การผลิตใน
ภาคอุตสาหกรรมยังไม่ได้มาตรฐานสากล และไม่สามารถส่งเสริมการตลาดได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย
ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2. จากการเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศจีนที่เป็น
แนวปฎิบัติที่ดีคือการที่รัฐบาลจีนมีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ที่ยากจนให้กลายเป็นพื้นที่ในการ
เพาะปลูกพืชสมุนไพรจีน และมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป โดยการ
สนับสนุนทั้งด้านความรู้ งบประมาณ เทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือประชากรในพื้นที่ที่ยากจนให้มีอาชีพ
และรายได้
3. แนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน พบแนวทางดังนี้ 1) ภาครัฐ
ควรจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างต่อเนื่องโดยการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรให้มีศักยภาพ
แข่งขันด้านอุตสาหกรรมสมุนไพรในระดับสากล มีการทบทวนกฎหมายและกำหนดนโยบายที่จะ
สนับสนุนการจัดหาแหล่งทุน ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกร 2) กลุ่ม
ผู้ประกอบการควรสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้มี
กระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล GMP (Good Manufacturing Practice) ศึกษาความต้องการ
ของตลาดสมุนไพรทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริหารจัดการตลาดสมุนไพรทั้งรูปแบบออนไลน์
และออฟไลน์มีการวิจัยและพัฒนาในเชิงพาณิชย์ 3) กลุ่มเกษตรกรควรผลิตวัตถุดิบสมุนไพรให้มี
คุณภาพเพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จข
ในการดำเนินการ 4) ประชาชนควรมีความเชื่อมั่นและมีความรู้และความเข้าใจในการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
คำสำคัญ : การส่งเสริมอย่างยั่งยืน, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
abstract:
Abstract
Title The Guidelines for the Sustainable Promotions of Thai Herbal Products
Field Economy
Name Miss Kanoknut Jindachotsiri Course : NDC Class : 64
This qualitative research had the objective to study the situations, the
problems and the obstacles of the promotions for Thai herbal products. Comparing
the Thai promotions for herbal products and the foreign promotions for herbal
products. Studying the guidelines for the sustainable promotions of Thai herbal
products. The tools used in this research were gathering information from the indepth interview and using the content analysis. The results were found that:
1. The situations of the development for the Thai herbal products tend
to grow up because Thai people take care of themselves and it was able to promote
the base in terms of the creative economy to be more strong and self-sufficient. Thai
Government had the national master plan of the development for Thai herbal issue
1 2017-2021 and used continuously until 2022, Food and Drug Administration used
the law for corporate governance the Thai herbal products that issued under the
Thai herbal products act 2019. According to the supply chain, the problems and the
obstacles of the promotions for Thai herbal products were research and
development could not be used commercially, the supply of raw materials to the
industrial sector were insufficient and no quality, Industrial production did not meet
international standards, the marketing could not meet the target groups both
domestically and internationally.
2. From the comparison of the Thai promotions for herbal products and
the Chinese promotions for herbal products the results was found that the best
practices of the Chinese promotions for herbal products were the Chinese
government policy to develop poor areas to be the areas for cultivation of Chinese
medicinal plants. Cooperation with the private sector produced the Chinese herbal
products. The government supported the budget, technology, and knowledge to
help the poor people to have career and income.
3. The guidelines for the sustainable promotions for Thai herbal
products, it was found that 1) the government should plan the strategies to develop
Thai herbal products continuously by analysis of market demand both domestically
and internationally, cooperation with the entrepreneur groups and the farmer groups
to have competitive potential at the international level, review of the law and havingง
the policy to promote and support the knowledge, financing, technology and
innovation to the entrepreneur groups and the farmer groups, 2) the entrepreneur
groups should build competitiveness in production of Thai herbal products to meet
international standards GMP, studying the market demand both domestically and
internationally, managing the market both offline and online, continuing research
and development for commercial use, 3) the farmer groups should produce quality
raw materials to feed into the industry, exchange knowledge with successful farmers,
4) people have confidence and knowledge and understanding in the consumption of
Thai herbal products.
Keyword : the sustainable promotions, Thai herbal products