เรื่อง: ความตระหนักรู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีการศึกษา ๒๕๖๒, (วปอ.9170)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. เอกรัตน์ ช้างแก้ว, (วปอ.9170)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง ความตระหนักรู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้า ปีการศึกษา 2562
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย พลตรี เอกรัตน์ ช้างแก้ว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
การวิจัยเรื่อง “ความตระหนักรู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียน
นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีการศึกษา 2562” การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจ
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ประเมินความตระหนักรู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียน
นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีการศึกษา 2562 เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการรักษา
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้สามารถรับมือ
กับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเสนอการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคลากร
ของกองทัพบกในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อไป
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ นักเรียนนายร้อย
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าที่ก าลังศึกษาในปีการศึกษา 2562 ทุกชั้นปี ขนาดตัวอย่าง 300 นาย
โดยให้กลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางด้านชั้นปีการศึกษา มีผลต่อความตระหนักรู้ภัยคุกคาม
ทางไซเบอร์ ปัจจัยทางด้านหลักสูตรการศึกษา ไม่มีผลต่อความตระหนักรู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และ
ปัจจัยด้านประสบการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีผลต่อความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์
ของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีการศึกษา 2562
ผลการวิจัยและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสามารถน ามาวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาแนวทาง
การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้แก่ แนวทาง
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับสากล
การพัฒนาความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่จ าเป็น การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ที่เหมาะสม การพัฒนาอาจารย์ผู้สอน และทักษะที่ควรได้รับจากหลักสูตรฯ
abstract:
Abstract
The objective of the research “The Awareness of Cyber Threats among
Cadets of Chulachomklao Royal Military Academy in the 2019 Academic Year” is to
study and to assess the understanding of cyber threats among cadets at
Chulachomklao Royal Military Academy. In addition, this study aims to propose
guidelines for developing a cyber security course for cadets, which will enable cadets
to cope with cyber threats effectively. The research also discusses the application of
these guidelines to the development of Royal Thai Army personnel in response to
cyber threats.
This research utilizes both quantitative and qualitative methodology.
The population is the cadets of Chulachomklao Royal Military Academy who are
studying in the 2019 academic year in every grade with a sample size of 300 cadets.
The research found factors throughout the 2019 academic year that
affected the awareness of cyber threats among cadets, including experiences of
cyber threats. However, factors related to the educational curriculum had no effect
on the awareness of cyber threats.
The guidelines formed as a result of the research findings and sample
interviews can be used for further qualitative research to develop a cyber security
course for a Bachelor of Science Curriculum. These guidelines should comply with
international cyber security standards, the development of essential information
technology knowledge, and the development of appropriate teaching materials.
In addition, this research can be used to develop teachers and the skills that should
be gained from the courses.