เรื่อง: การจัดการกำลังคนแพทย์ของไทยในอนาคต, (วปอ.9168)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.อ.ต. อิทธพร คณะเจริญ, (วปอ.9168)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การจัดการกำลังคนแพทย์ของไทยในอนาคต
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พลอากาศตรีนายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
การวิจัยเรื่อง การจัดการกำลังคนแพทย์ของไทยในอนาคต มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคด้านอัตรากำลังคนแพทย์ในประเทศไทย และ
เสนอแนะแนวทางการพัฒนาบทบาทด้านอัตรากำลังคนแพทย์ของทั้งภาครัฐและเอกชนต่อการ
เปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่าง ๆ การวิจัยเป็นการการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาความต้องการวิชาชีพแพทย์ ภายใต้เงื่อนไขระบบ
สุขภาพยังเป็นอยู่ในปัจจุบัน และพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของคนไทยยังไม่เปลี่ยนแปล โดยมี
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วนโครงสร้างอายุของ
ประชากรเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ได้ข้อสรุปความต้องการแพทย์ในการให้บริการด้านสุขภาพทั้งประเทศ
ในอีก 10 ปีข้างหน้า ควรต้องมีแพทย์ทั่วไปอยู่ที่ 43,000 คน (WHO 1:1500) โดยในส่วนนี้ควรเป็น
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 6,500 คน (1:10,000) ตามนโยบาย Primary care cluster (PCC) โดย
จำนวนแพทย์ทั่วไปและเวชศาสตร์ครอบครัวที่ควรมีคือ 38,236 – 46,946 คน โดยคิดเป็นความ
ต้องการแพทย์อยู่ระหว่าง 1,241 - 1,763 คน เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนแพทย์ที่จะมีนอนาคต
ภายใต้สมมติฐานไม่มีกรเปลี่ยนแปลงกำลังการผลิตแพทย์ ในอนาคต 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมี
แพทย์ที่ทำงาน เท่ากับ 75,000 คน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญ 45,000 คน และแพทย์ทั่วไป และแพทย์
เวชตสตร์ครอบครัว 30,000 คน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับความต้องการแพทย์ในอีก 10 ปีข้างหน้า
จำนวนแพทย์ที่ประเทศไทยจะมีน้อยกว่าความต้องการแพทย์ ถึง 13,000 คน และอัตราการผลิต
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ปัจจุบันปีละ 180 คน รวมยอดสะสม อยู่เพียง 2,700 คน (ไม่นับอนุมัติ
บัตรที่ไม่ได้ผ่านการอบรม) ยังต่ำกว่าเป้าหมาย ถึง 3,800 คน โดยมีจำนวนแพทย์รวมขึ้นทะเบียน
ประมาณการ 100,000 คน แต่อยู่วัยทำงาน 75,000 คน โดยมีผู้เกษียณซึ่งส่วนหนึ่งดูแลผู้ป่วยได้ไม่
ต่ำกว่า 10,000 คน การปรับจำนวนการผลิตแพทย์จะเป็นสิ่งที่ตามมากล่าวคือ แพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ
เด็กอาจต้องพิจารณาจำนวนการผลิตใหม่ เนื่องจะมีจำนวนเด็กลดลง ขณะที่ผู้สูงวัยมากขึ้น ต้องเพิ่ม
จำนวนเพื่อให้สัดส่วนพอเพียงดูแลในระยะยาว ตลอดจนต้องเกิดความเชี่ยวชาญสาขาใหม่ เช่น ด้าน
เทคโนโลยีข้อมูล และสารสนเทศ ด้านจีโนมิกส์ ด้านปัญญาประดิษฐ์ ด้านหุ่นยนต์ ด้านแพทย์ทางไกล
หรือโทรเวช และด้านเทคโนโลยีอวัยวะเทียม และการเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า
จำนวนแพทย์ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีมากกว่าปัจจุบัน แต่ปัญหาการกระจายทางภูมิศาสตร์ ข
โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทขาดแคลน หรือแม้กระทั่งในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ บางพื้นที่ประชาชนก็ยัง
เข้าถึงบริการทาการแพทย์ที่มีคุณภาพโดยแพทย์อย่างไม่เท่เทียมกันต้องเร่งแก้ไข เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี
และคุ้มครองความเจ็บป่วยให้กับทุกคนโดยเท่าเทียมกัน
ข้อเสนอแนะ ควรตั้งคณะทำงานวางแผนแก้ไขการกระจายการให้บริการสาธารณสุขด้วย
เทคโนโลยี และกลไกต่าง ๆ เพิ่มจากการกระจายกำลังคนให้เกิดความยั่งยืน เพราะการเคลื่อนไหว
ของคนในทิศทางต่าง ๆ นั้นจะเป็นไปตามวัยและครอบครัวไม่สามารถควบคุมได้โดยง่าย จึงควรใช้การ
แก้ปัญหาด้วยระบบและเทคโนโลยีเช่นในต่างประเทศ ร่วมกับการรับบุคลากรที่อยู่ในกลุ่มป้าหมายใน
พื้นที่ในโครงการพิเศษที่ออกแบบเฉพาะเพื่อความยั่งยืน พร้อมทั้งรัฐสนับสนุนการผลิตแพทย์เวช
ศาสตร์ครอบครัวร่วมกับการให้สิทธิหน้าที่และผลตอบแทนให้เหมาะสมเพื่อให้มีผู้สนใจเข้าสู่ระบบ
มากขึ้นโดยต้องคัดคุณสมบัติของคนที่จะเข้ามารับผิดชอบประชากรและเฉพาะและมีผลตอบแทนไม่
ต่างจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น พร้อมทิศทางการเติบโตในสายงานต่อไป
abstract:
Abstract
Title Research on: Thai Medical Manpower Management in the Future.
Field Social - Psychology
Name AVM. Ittaporn Kanacharoen Course NDC Class 62
The objective of this research is to analyze the problems and obstacles
on the medical workforce in Thailand and to suggest guidelines on the development
of the role of medical manpower of both public and private sectors on the change
of various factors.
This research is a qualitative research. The results of the research revealed
that the demand for the increase in number of medical profession under health
system conditions is still exist and the behavior of using the health services of Thai
people has not changed. The main changing factors are the increasing population
and the age structure of the population of the country only. Clinical doctors and
doctors in health services throughout the country over the next 10 years should be
increased more than 43,000 (WHO ratio of doctors to population is 1:1500) including
6,500 (1:10000) family doctors to meet the Primary care cluster (PCC) policy. The
increased number of general practitioners and family doctors by that time should be
3 8 ,2 3 6 -- 46,946, which make the ratio at 1:1241-1763 population. Assuming that
there is no change in the medical capacity in the next 10 years, Thailand will have
75,000 doctors divided into 45,000 specialists and 30,000 general practitioners and
family doctors. When compare to the demand for doctors in the next 10 years and
the current number of doctors in Thailand shows that the number is under than the
demand at 13,000. Since the current production rate of family doctors is 1 8 0
graduates a year, totaling only 2,700 (not counting the approve card group, that has
not been well trained) which is still lower than the target of 3,800. The up to date
total number of registered doctors is approximately 100,000 but, actually, in service
age only about 75,000. In addition, there are in-service retirees who can still take
care of patients, counting at least 10,000 in various institutions. The production of
doctors scheme should be adjusted according to the current situation changes that is ง
the reduction of number of pediatric doctors as the number of children is decreasing
but in contrary the number of elderly is increasing, making higher requirement of
elderly care doctors especially for long term cares as well as new areas of expertise
such as information technology, genomics, artificial intelligence, robotics, telemedicine,
prosthetic technology, and organ transplantation. Even though the number of doctors
in the next ten years will be greater than today, the geographic distribution problem,
especially in rural areas or even in some areas of Bangkok, people are still struggled
for the access to quality medical services by doctors. Therefore, the system must be
modified to provide good health and equal protection against illness.
Suggestion : Thailand should set up a working group and plan the
distribution of health services through mobilization of modern technologies and
mechanisms over manpower for sustainability because human utilization in different
directions are affected by and based on age and family which cannot be easily
controlled. We should use the similar system and technology solutions as foreign
countries together with recruiting local personnel in special projects designed for
sustainability and the government should support the production of family doctors.
We should provide appropriate rights, duties, and compensation to attract more
people to the health workforce system. We have to select qualified people who will
be responsible for the health cares of the population and who will be paid the same
as other medical professionals according to the direction of growth of the country in
the future and beyond.