Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการวิเคราะห์ความคุ้มค่ายุทโธปกรณ์ทางทหารของกระทรวงกลาโหม, (วปอ.9157)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ท. อดินันท์ ไชยฤกษ์, (วปอ.9157)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการวิเคราะห์ความคุ้มค่ายุทโธปกรณ์ทางทหารของกระทรวงกลาโหม ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลโท อดินันท์ ไชยฤกษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์ทางทหารไว้ใช้ในราชการ ของกระทรวงกลาโหมทั้งชนิดที่สามารถนำไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนได้โดยตรง และชนิดที่ใช้ใน ภารกิจการรบ เพื่อศึกษาวิธีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของยุทโธปกรณ์ทางทหารที่มีมาตรฐาน และเพื่อหา แนวทางการใช้งานยุทโธปกรณ์ทางทหารที่กระทรวงกลาโหมได้จัดหาไว้และนำไปใช้ในการช่วยเหลือ ประชาชนให้มีความคุ้มค่า ขอบเขตของการวิจัยด้านเนื้อหา การวิจัยนี้จะศึกษาการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ยุทโธปกรณ์ทางทหารของกระทรวงกลาโหม ขอบเขตของการวิจัยด้านระยะเวลา ทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลทั้ง ปฐมภูมิ และทุติยภูมิในห้วงเวลาตั้งแต่ ต.ค.62 - พ.ค.63 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับใช้ การวิจัยเชิงพรรณนา โดยทำการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ และปฏิบัติงานในการจัดหา การใช้ยุทโธปกรณ์ทางทหาร จำนวน 33 ท่าน และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ โดยการศึกษาจากตำรา แนวคิด ทฤษฎี เอกสารต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่ายุทโธปกรณ์ทางทหารของกระทรวงกลาโหม โดยวิธีการหามูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ, วิธีการหาอัตราผลตอบแทนภายใน และวิธีการหา ระยะเวลาคืนทุนแสดงให้เห็นว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน ผลลัพธ์จากแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 33 ท่าน มีความคิดเห็นว่า เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหลักเกณฑ์ และวิธีการวิเคราะห์ความคุ้มค่ายุทโธปกรณ์ทางทหารของกระทรวงกลาโหมที่มีมาตรฐานได้ จากผลการวิจัยดังกล่าวมีข้อเสนอแนะดังนี้ เชิงปฏิบัติการ กองทัพควรพิจารณาสร้าง ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการนำยุทโธปกรณ์ทางทหารไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีเหตุการณ์สาธารณภัย เกิดขึ้นและกองทัพได้รับคำสั่งให้ออกไปช่วยเหลือประชาชน เชิงนโยบาย กองทัพควรพิจารณานำเครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์มาเป็นส่วนประกอบหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพเพื่อให้ สามารถตอบคำถามด้านความคุ้มค่าของการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ที่ถูกสังคมและฝ่ายการเมืองตั้งคำถาม ได้อย่างมีหลักการ มีความเป็นสากล และประชาชนเข้าใจได้ง่าย สำหรับข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย ในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาโปรแกรมจำลองสถานการณ์รบขึ้นใช้เองเพื่อเป็นการพึ่งพาตนเอง จึงควรศึกษาแนวทางและวิธีการที่ใช้ในการสร้างโปรแกรมจำลองสถานการณ์รบของหลาย ๆ ประเทศ เพื่อนำมาศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบและเลือกระบบที่เหมาะสมกับยุทโธปกรณ์ที่กองทัพ มีใช้งาน รวมถึงความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศของประเทศไทย เพื่อพัฒนาโปรแกรมจำลอง สถานการณ์รบที่มีความเหมาะสมสำหรับกองทัพไทยโดยเฉพาะ

abstract:

Abstract Topic Guidelines for cost-effectiveness analysis of military equipment of the Ministry of Defense Field Military Researcher Lt Gen. Adinan Chaiyarerk Course NDC Class 62 The objective of this research is to study the effective approaches to procurement of military equipment for the Ministry of Defense, which can be directly used to serve the general public as well as deployment in combat missions. The scope of this research will be to study methods for cost-effectiveness analysis of appropriate military equipment procurement. The duration of this research to collect both primary and secondary data is between October 2019 - May 2020. This research utilize qualitative research in conjunction with descriptive research by collecting primary data that includes interviews with 33 qualified persons. The research also collects secondary information by studying conceptual textbooks, theories, various documents and related research. The research applies appropriate capital budgeting techniques, the net present value (NPV), the internal rate of return (IRR) and the discounted payback period to evaluate the military equipment procurement. Results indicate that the investment made by the Ministry of Defense is worthwhile. Moreover, results from the questionnaire by 33 persons reinforced that Economic tools can be used to develop a standardized criteria and methods for cost-effectiveness analysis of military equipment for the Ministry of Defense. Recommendation from the implication of this research can be made as follows; Operation-based, the military should consider building a database on the use of military equipment used to help people when disaster strikes. Policy-based, the military should consider incorporating economic tools into the military's criteria for considering equipment purchases so that it can use globally accepted principles and standards to clearly answer questions about the cost-effectiveness of equipment procurement. Suggestions for future research include developing a self-reliant combat simulation program. Therefore, it is important to study the guidelines and methods used to create a combat simulation program by many countries in order to study the advantages and disadvantages of each system and select the one that is most suitable for the military equipment used by the military. Hence, special consideration should include the terrain of Thailand when developing a combat simulation program that is tailor for the Thai military.