เรื่อง: การบูรณาการขีดความสามารถทางไซเบอร์กับปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทวีความได้เปรียบ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กองทัพอากาศ, (วปอ.9152)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, น.อ. เสกสัณน์ ไชยมาตย์, (วปอ.9152)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การบูรณาการขีดความสามารถทางไซเบอร์กับปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อทวีความได้เปรียบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กองทัพอากาศ
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก เสกสัณน์ ไชยมาตย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขีดความสามารถของมิติไซเบอร์และสงคราม
อิเล็กทรอนิกส์ และน าเสนอแนวทางการเชื่อมโยงขีดความสามารถทางไซเบอร์กับสงคราม
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อทวีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของกองทัพอากาศ โดยศึกษาเนื้อหา วิเคราะห์
ความสอดคล้องวิธีการและกระบวนการในการปฏิบัติภารกิจด้านไซเบอร์ของกองทัพอากาศ
ศึกษาหลักการหรือแนวคิดที่เป็นไปได้จริงในระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์ในเชิงเปรียบเทียบ
ขีดความสามารถ ประเด็นที่สอดคล้องและเกื้อกูลกันในการปฏิบัติจริง ในขอบเขตประชากร
ที่เป็นก าลังพลและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านไซเบอร์และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของกองทัพอากาศ
ด าเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัย
เชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากต าราและเอกสาร
และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบ และผู้ปฏิบัติงาน
ที่มีความเชี่ยวชาญในกองทัพอากาศ น าข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) วิเคราะห์
เปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูลแล้วน าเสนอข้อมูลผลลัพธ์ที่เป็นแนวคิดใหม่จากการวิจัย ผลการวิจัย
พบว่า ในขีดความสามารถการปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สามารถสนับสนุนขีดความสามารถ
ทางไซเบอร์ได้ ทั้งในปฏิบัติการไซเบอร์เชิงป้องกัน ปฏิบัติการเชิงป้องปราม และปฏิบัติการสนับสนุน
ซึ่งจะเป็นการทวีความได้เปรียบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กองทัพอากาศให้มีประสิทธิภาพ
สูงขึ้นได้ จากข้อสรุปดังกล่าวนี้ นับเป็นข้อยืนยันในหลักการการเชื่อมโยงขีดความสามารถ
การปฏิบัติการที่เกื้อกูลกันเข้าด้วยกัน เพื่อการสนับสนุนหรือขยายขีดความสามารถในปฏิบัติการ
ทางทหารด้านอื่น ๆ ให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น มีข้อเสนอแนะ ดังนี้1) ข้อเสนอแนะระดับยุทธศาสตร์
2) ข้อเสนอแนะระดับยุทธวิธี และ 3) ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ ส าหรับข้อเสนอแนะ
ในการท าวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ การศึกษา วิเคราะห์เชิงลึก ด้านความพร้อมและการเตรียมทรัพยากร
ทุกประเภทของกองทัพอากาศที่จ าเป็นในการสนับสนุนด้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทวีความ
ได้เปรียบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ศึกษา วิเคราะห์เชิงลึก การปฏิบัติการสงคราม
อิเล็กทรอนิกส์ ในแต่ละด้านเพื่อสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ตลอดจนวิเคราะห์ข้อ
ได้เปรียบ และข้อด้อยที่อาจพบได้จากการปฏิบัติการ และ ศึกษา โครงการน าร่องการปฏิบัติการ
สงครามอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
abstract:
Abstract
Title The Integrating Cyber Capabilities with Electronic Warfare Operations
for Increasing the Advantage in the RTAF’s Cyber Security
Field Military
Name Group Captain Seksun Chaiyamart Course NDC Class 62
This Objectve of research are study the capabilities of the Cyber Domain
with the Electronic Warfare to increase the Air Force's Cyber Security capabilities.
By studying the content, analyzing the consistency in the process of the Air Force's
Cyber Operation. To study possible concepts at the level of tactical, operational,
and strategies, in comparison the capability issues that are consistent
and complementary in practice, in the population boundary of the RTAF and the Air
Force's Cyber and Electronic Warfare Operator. Conduct Qualitative Research
with Descriptive Research, by collecting the secondary data from textbooks
and documents, and the primary data from in-depth interviews with the responsible
supervisors and operators in the RTAF, then doing the Content Analysis, comparative
analysis, data synthesis, and presenting new conceptual results this research. This
research results indicate that the capacity to conduct EW able to provide support
the Cyber capabilities in the preventive Cyber Operations, Cyber Proactive Practices
and Cyber Support Operations. Which will increase the advantage of the RTAF’s
Cyber security to be more efficient and expand the capability of the operations to be
more effective. Suggestions are as follows. 1. Strategic Recommendations 2. Tactical
Recommendations and 3. Operational Recommendations. Suggestions for further
research are In-depth analysis study to evaluate readiness of RTAF in all resource
preparing need to support EW due to provide support the Cyber capabilities in the
preventive Cyber Operations. In-depth analysis study all type of EW operation to find
strengths and weaknesses. Pilot study project about how electronic warfare
operations to support cyber security.