Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกาจัดศัตรูพืชและการดูแลสุขภาพของเกษตรกรในภาคกลาง, (วปอ.9142)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาง สุภา ณ ระนอง, (วปอ.9142)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืช และการดูแลสุขภาพของเกษตรกรในภาคกลาง ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางสุภา ณ ระนอง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การศึกษาเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันก าจัด ศัตรูพืชและการดูแลสุขภาพของเกษตรกรในภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชและการดูแลสุขภาพของเกษตรกรในภาคกลาง 2) ศึกษา ปัญหาในการใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในภาคกลาง 3) เสนอแนวทางการ เสริมสร้างความตระหนักรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชและการดูแลสุขภาพของเกษตรกรใน ภาคกลาง รวบรวมข้อมูลจาก การสัมภาษณ์เชิงลึก เกษตรกร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประกอบการใน ภาคกลาง จ านวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Context Analysis) และการ วิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชของประเทศไทย ปัจจุบัน เกษตรกรยังนิยมใช้สารเคมีป้องกันก าจัดศัตรูพืชเป็นจ านวนมาก และด าเนินการก าจัดวัชพืช บางครั้งไม่มีการค านึงถึงสุขภาพโดยเฉพาะผู้รับจ้างในการฉีดพ่นสารเคมีก าจัดวัชพืช ส าหรับปัญหาที่ ค้นพบ มีดังนี้1) ปัญหาการเลือกซื้อสารเคมีก าจัดศัตรูพืช 2) ปัญหาเกี่ยวกับชนิดและประเภทของ สารเคมีก าจัดศัตรูพืช 3) ปัญหาเกี่ยวกับปริมาณในการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช 4) ความถี่บ่อยในการ ซื้อสารเคมีก าจัดศัตรูพืช 5) ปัญหาการปฏิบัติตัวก่อนการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 6) ปัญหาการปฏิบัติตัวขณะใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 7) ปัญหาการปฏิบัติตัวหลังการใช้ สารเคมีก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 8) ปัญหาการเก็บรักษาสารเคมีก าจัดศัตรูพืช 9) ปัญหาการ ท าลายภาชนะบรรจุสารเคมีก าจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 10) ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ 11) ปัญหาด้านข้อมูลข่าวสาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์12) ปัญหาด้านการตัดสินใจ 13) ปัญหาด้าน การปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช 14) ปัญหาด้านพฤติกรรมการฉีดพ่นสารเคมี และ 15) ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช ส่วนแนวทางในการด าเนินงานสร้างเสริม พฤติกรรมการใช้ การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชในภาคเกษตรกรรม และพัฒนา งานด้านอาชีวอนามัยในภาคเกษตรกรรม ดังนี้ 1) การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย จากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช 2) การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องของเกษตรกรซึ่งจะใช้ การปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ 3) การให้ความรู้ที่ถูกต้อง 4) การเสริมสร้างด้าน การดูแลสุขภาพโดยการสร้างเครือข่ายสุขภาพ 5) ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของเกษตรกรในชุมชน 6) การมีส่วนร่วมของชุมชนและความตระหนักต่อบทบาทการป้องกันอันตรายและการใช้สารก าจัด ศัตรูพืช 7) การบริการเชิงรุกของหน่วยบริการสาธารณสุข และโรงพยาบาล และ 8) ความพร้อมของ ภาคีเครือข่าย ข ข้อเสนอแนะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงสาธารณสุข โดยเกษตรอ าเภอ และสาธารณสุขอ าเภอ ควรมีการประสานความร่วมมือและผสมผสานวิธีการปฏิบัติในการส่งเสริม สนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการใช้และการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช นอกจาก ตัวเกษตรกรแล้ว ควรค านึงถึงบุคคลในครอบครัวของเกษตรกร และผู้แทนจ าหน่าย ผู้ขายสารเคมี ก าจัดศัตรูพืชในการให้ความรู้ด้วย

abstract:

Abstract Title Guidelines for Raising Awareness of Pesticides Usage and the Health Care of Farmers in Central Region Field Social–Psychology Name Mrs.Supa Na Ranong Couse NDC Class 62 The study of guidelines for raising awareness of pesticides usage and the health care of farmers in central region aimed to 1) study the current conditions regarding the use of pesticides and the health care of farmers in central region, 2) study the problems of pesticides using of farmers in central region and 3) propose guidelines for raising awareness of pesticides usage and the health care of farmers in central region. Researcher had collected information from In-depth interviews with 20 farmers, stakeholders and operators in the central region then analyzed by using context analysis and comparative analysis including synthesized relevant theoretical information. The research findings could be summarized as follows; The results showed that the current situation of pesticides usage in Thailand, farmers still used a lot of pesticides, sometimes without health concern in weeding operations, especially the contractor for spraying pesticides. The research had found problems as follow; 1) pesticides purchasing problem, 2) problems with the types and categoriesof pesticides, 3) problems with the amount of pesticide usage, 4) frequency of purchasing pesticides, 5) problems in practice before using pesticides of farmers, 6) problems in practice while using pesticides of farmers, 7) problems in practice after using pesticides of farmers,8) pesticide storage problems,9) problems with pesticides containers destroyingof farmers,10) knowledge and understanding problems, 11) informationand public relations problems,12) decision-making problems,13) problems related to the practice of pesticides usage,14) problems in chemical spraying behavior, and 15) health impact problems from the use of pesticides. As for the guidelines for the promotion of using behavior, prevention of dangers from the use of pesticides in agriculture and developed occupational health in the agricultural sector were as follows: 1 ) correct practices regarding prevention of danger from pesticide use, 2 ) correct health care of farmers regarding to the implementation of the 10 national health principles, 3 ) providing correct knowledge, 4 ) promoting health care by creating a health network,5) promoting self-development of farmers in the community,6) community participation and awareness of the role of hazard prevention and pesticide use, 7) proactive services of public health serviceunits and hospitals, and 8) readiness of network partners.ง About suggestionfor the Ministry of Agriculture and Cooperatives and the Ministry of Public Health, there should be coordination and integration of practices in promoting knowledge about the use and prevention of pesticide hazards between District Agricultural Extension Officers and District Public Health Officers. Aside from the farmers, there should also consider to educate the family members of the farmers, pesticides distributors and vendor.