Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การหลีกเลี่ยงไวรัสโคโรน่าหลังเปิดเมือง, (วปอ.9139)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสุเทพ เพชรมาก, (วปอ.9139)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวง สาธารณสุข ลักษณะวิชาสังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายสุเทพ เพชรมาก หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคการใช้กัญชา ทางการแพทย์ 2. ศึกษารูปแบบ (Model) การให้บริการคลินิกกัญชาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวง สาธารณสุข และ 3. พัฒนารูปแบบ (Model) การให้บริการคลินิกกัญชาในโรงพยาบาลสังกัด กระทรวงสาธารณสุขโดยขอบเขตของการวิจัยเน้นศึกษาการให้บริการคลินิกกัญชาในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งได้ด าเนินการในโรงพยาบาลประจ าจังหวัด 8แห่ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยศึกษารวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลปฐมภูมิจาก การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจ านวน 56 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงพยาบาล 8 คน ผู้ปฏิบัติงาน คลินิกกัญชา 24 คน และผู้ป่วยที่ใช้บริการคลินิกกัญชา 24 คน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทาง การแพทย์และทีมมีความมุ่งมั่นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์ ของประชาชน ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรม จ านวน 842 คน ในภาพรวมของเขต มีการให้บริการคลินิกกัญชาในโรงพยาบาลประจ าจังหวัดคิดเป็นร้อยละ 100 แต่ในความครอบคลุม ในการเข้าถึงบริการทั้งเขตสุขภาพ ยังมีข้อจ ากัดมีข้อมูลหน่วยบริการคลินิกกัญชาฯ ทั้งหมดในเขต สุขภาพที่ 6 เพียงร้อยละ 27.39 มีผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการ 1,121 ราย ในอนาคตผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึง ยากัญชาได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีโรงพยาบาลอีก 53 แห่งก าลังเตรียมเปิดด าเนินการ ผู้ป่วยที่มารับ บริการที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์มีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 95.80 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.884 ส าหรับรูปแบบการให้บริการ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่พบในเขตสุขภาพที่ 6 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้รูปแบบการแพทย์ ผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย ซึ่งในระยะต่อไปอาจพัฒนา ในลักษณะ One Stop Service ในการให้บริการ ทั้งนี้จากการศึกษาเห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสม ประกอบด้วย 1. สถานพยาบาลและบุคลากรได้รับอนุญาตถูกต้อง โรงพยาบาลได้รับอนุญาตจ าหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ทีมสหวิชาชีพผ่านการอบรมหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยบริการมีบุคลากรและอุปกรณ์เพียงพอ มีสิ่งแวดล้อมที่มีความปลอดภัย 2. กระบวนการ ให้บริการมุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้บริการมีระบบคัดกรองผู้ป่วยมีการประเมินความปลอดภัย และประสิทธิผลการรักษา 3. ยาที่น ามาจ่ายให้ผู้ป่วยมีการผลิตที่มีคุณภาพ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การขับเคลื่อนนโยบายคลินิกกัญชาทางการแพทย์ควรบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งการให้บริการและการผลิตยา 2. ควรศึกษาวิจัยเชิงลึกการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อสร้าง ความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 3. ควรเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนถึง การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา

abstract:

Abstract Title : The Developmentof Medical Cannabis Clinics in Hospitals under Ministry of Public Health Field : Social – Psychology Name : Mr. Sutep Petchmark Course NDC Class 62 The Objectives of This Research are 1. To Explore The Situation, Problems and Obstacles in The Use of Medical Cannabis, 2. To Study Medical Cannabis Clinics (MCC) in Hospitals Under Ministry of Public Health (MOPH) and 3. To Suggest the Appropriate Model of MCC under MOPH. The Scope of this Research was Focused in MCC in 8 Provincial Hospitals Under Regional Health Office 6. A Mixed-Model Methods (Combination of Qualitative and Quantitative Approach) was Conducted. Secondary Documents Related to Medical Cannabis Services and Interview of 56 People Consisting of 8 Representatives of Executive Board in Each Hospital, 24 Health Providers and 24 Patients from Medical Cannabis Clinics were Performed. It was Found that Health Professionals had High Attempt to Provide Services in Order to Improve Accessibility of Service Users. In The Health Region, Eight Hundreds and Forty-Two Health Professionals were Trained in Cannabis Courses. Though, all Eight Provincial Hospitals were Provided Services But Coverage of Services was Still Limited as Only 27.39% of All Health Settings in The Region Provided Medical Cannabis and Number of Service Users Were Only 1,121. However, There Would be More Patients Accessing to The Services Because There are More 53 Hospitals Preparing to Open The Clinics. In Patient Side, Approximately 95.80% of Them Rated Themselves Satisfied to Strongly Satisfied with Average Score of 4.54 and Standard Deviation of 0.884 The Pattern of Services in All Hospitals was The Integration of Western and Thai Traditional Medicine. One Stop Service will be Developed in The Future. In Conclusion, The Appropriate Model Should Be Consisted of 3 Components 1. Health Setting and Professionals are Well Trained and Authorized to Provide Services 2. Safety is The First Priority in Provision of Services by Establishment of Monitoring Protocol to Ensure Safety and Efficacy of Medical Preparations 3. Qualified Medical Products are prescribed in The Clinics. Policy Recommendation 1. Cooperation Between Government and Private Sectors Throughout Value Chain of The Products Should be done in Order to Drive This Policy Forward 2. Comprehensive Research Should be Conducted to Improve Trust of Both Service Providers and Users 3. Health Literacy on Medical Cannabis Should be Developed Urgently.