Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อยกระดับการคุ้มครองแรงงานสู่มาตรฐานสากล, (วปอ.9115)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสมพงษ์ คล้อยแคล้ว, (วปอ.9115)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อยกระดับการ คุ้มครองแรงงานสู่มาตรฐานสากล ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายสมพงษ์ คล้อยแคล้ว หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 แนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานแรงงานไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มาตรฐานแรงงานของสถานประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร ให้มีระบบบริหารจัดการได้ตาม มาตรฐานแรงงานไทย และเสนอแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับจาก ผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น อันจะนำไปสู่การยกระดับการคุ้มครองสิทธิแรงงานให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพทั้งจากเอกสาร กระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 4 คน มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาตามแนวคิด ทฤษฎี และหลักการต่าง ๆ ผลการวิจัยนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร (SinsakhonIndustrial Estate) เป็นนิคมอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Cluster มีสถานประกอบกิจการและลูกจ้างในนิคมฯจำนวน 73 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 11,511 คน มีสถานประกอบกิจการที่ได้รับการรับรองมาตรแรงงานไทย จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ระดับพื้นฐาน จำนวน 2 แห่ง และระดับสมบูรณ์ จำนวน 1 แห่ง นอกนั้นยังไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรอง มาตรฐานแรงงานไทยเนื่องจากพบว่า มีปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการพัฒนาและ ขับเคลื่อนมาตรฐานแรงงานไทยเพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิแรงงานสู่มาตรฐานสากล คือ มาตรฐาน แรงงานไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักของสถานประกอบกิจการ บุคลากรของกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานที่มีองค์ความรู้ด้านมาตรฐานแรงงานไทยไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานด้านมาตรฐาน แรงงานไทย ข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทยฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันประกาศใช้มาเป็นเวลานานแล้ว โดยไม่ได้มีการทบทวนปรับปรุงข้อกำหนดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ข้อเสนอแนะควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการมาตรฐาน ทั้งในและต่างประเทศยกร่างกฎหมายมาตรฐานแรงงานไทยเพื่อทำให้มาตรฐานแรงงานไทยเป็นมาตรฐาน เชิงบังคับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล จัดทำร่างมาตรฐานแรงงานอาเซียนที่เหมาะสมกับ บริบทของประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับใช้เป็นแนวปฏิบัติและแนวทางความร่วมมือในการพัฒนา ระบบบริหารจัดการแรงงาน พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อให้บุคลากร ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีความรู้เฉพาะด้านมาตรฐานแรงงานไทย ควรจัดตั้งหน่วยงาน อิสระเพื่อเป็นหน่วยรับรองมาตรฐานแรงงานไทย ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือตาม แนวทางของมาตรฐานสากลและกรมควรมีการพัฒนารูปแบบและวิธีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและการปฏิบัติ การข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้รวดเร็ว ทั่วถึง ชัดเจน และตรงประเด็นอันเป็นการรองรับนโยบาย Thailand 4.0อีกด้วย คำสำคัญ: การพัฒนาและขับเคลื่อนมาตรฐานแรงงานไทย, มาตรฐานสากล

abstract:

Abstract Title: Guideline for Developing and Driving the “Thai Labour Standard”, Toward Rising Labour Protection Level in Compliance with International Standards Field: Strategy Name: Sompong Kloyklaw Course: NDC Class: 62 The objectives of the guideline for developing and driving the “Thai Labour Standard (TLS)” were to study the labour standards of establishments in Sinsakhon Industrial Estate, which was able to implement its management system according to TLS, as well as to present guideline for developing and driving TLS to be more accepted, by establishments. This would lead to raising labour protection level in compliance with international standards. This study was a qualitative research, by collecting and studying related information, as well as in-depth interview of four administrators of the Department of Labour Protection and Welfare (DLPW). Then, we analyzed the information based on various ideas, theories and principles. The study found that SINSAKHON Industrial Estate was a cluster Industrial Estate, with 73 establishments and 11,511 workers. 3 and 1 establishments were TLS certified at basic level and complete level, respectively. The rest had not implemented TLS. Key barriers of developing and driving of TLS included that TLS was not accepted by establishments; some were unfamiliar with TLS; DLPW officers possessed not enough knowledge to perform tasks related TLS promotion; the requirements of current TLS requirements had not been reviewed according to changing situations after using for a while. The recommendations from this study included TLS Networks should be established both domestically and internationally; TLS Law must be drafted so that TLS, which complied with international standard principles, would be required by law; ASEAN labour standard should be developed, relevant to the context of ASEAN Member States (AMS), which could be used as guides to develop labour management system and to corporate among AMS; TLS training courses for DLPW officers should be developed to enhance their knowledge and skills related to TLS specifically; a TLS certified body must be established as an independent entity, because it was more trustworthy under international standard guides; and DLPW should develop processes and methods, concerning communication, public relations, and information operating, by utilizing modern information technology to reach target groups swiftly, thoroughly, clearly and pertinently, supporting Thailand 4.0 policy. Key Words: Developing and driving of Thai Labour Standard, International Standard