Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน, (วปอ.9107)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายศิโรตม์ ดวงรัตน์, (วปอ.9107)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศ ยานในประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการบริหารและจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน และแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน ผู้วิจัยได้ ก าหนดขอบเขตการศึกษาวิจัยเฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ เนื้อหาจากการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึก ควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลจากต ารา เอกสาร แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัย พบว่า โครงสร้างการจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน ประกอบด้วย ๑) คณะกรรมการจัดสรรเวลาท าหน้าที่ก าหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การจัดสรรเวลา การบิน ๒) การด าเนินงานหรือการอ านวยความสะดวกในการจัดเวลาการบินและการประสานงาน จัดสรรเวลาการบิน ๓) พารามิเตอร์ส าหรับใช้ในการจัดสรรเวลาการบิน และ ๔) การลงโทษ ส่วน ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารและจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน ได้แก่ ปัญหาสายการบิน ไม่ท าการบินตามตารางการบินที่ได้รับการจัดสรร ความต้องการในการใช้บริการท่าอากาศยานของสาย การบินในช่วงเวลาเดียวกันมีเป็นจ านวนมาก โครงสร้างพื้นฐานของท่าอากาศยานมีไม่เพียงพอกับ ปริมาณความต้องการการขนส่งทางอากาศ ขาดการส่งเสริมให้มีการกระจายความต้องการด้านการบิน ออกไปยังภูมิภาคต่างๆ และการบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษที่มีความเหมาะสม แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและจัดสรรเวลาเที่ยวบินของท่าอากาศยาน ประกอบด้วย ๑) การจัดสรรเวลาจ าเป็นจะต้องด าเนินการด้วยความโปร่งใสบนพื้นฐานของทรัพยากร ที่มีของสนามบิน โดยปราศจากการแทรกแซงและควรพิจารณาถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยเป็นส าคัญ ๒) การให้ความส าคัญกับการควบคุมติดตาม การใช้เวลา และประเภทของอากาศยานของสายการบิน ให้ตรงตามที่ได้รับอนุญาตและตามเวลาที่ได้รับการจัดสรรอย่างเคร่งครัด ควบคู่กับการมีบทลงโทษที่ เหมาะสมและเพียงพอเพื่อให้สายการบินปฏิบัติตาม และควบคุมสายการบินให้ท าการบินตรงตามเวลา ที่จัดสรร ไม่ยื่นขอการจัดสรรเกินความจ าเป็น ๓) การให้ความส าคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถด้าน การขนส่งทางอากาศด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานพาณิชย์ในภูมิภาคของประเทศ เช่น ท่าอากาศยาน อุดรธานีท่าอากาศยานกระบี่ เป็นต้น ๔) การให้ความส าคัญกับการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน การรองรับการให้บริการท่าอากาศยานโดยการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและการปรับปรุง สาธารณูปโภค และ ๕) การให้ความส าคัญกับการวิเคราะห์ความต้องการและขีดความสามารถในการ รองรับเที่ยวบินและผู้โดยสารของท่าอากาศยาน ผ่านการจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้ด าเนินการ และให้มีการจัดท าแบบจ าลองเสมือนจริง เพื่อให้ได้ข้อมูล ปริมาณรองรับการใช้งานที่ถูกต้อง และ ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงมากที่สุด

abstract:

Abstract Title Guidelines for improving management efficiency and flight time allocation of airports Field Economy Name Mr.Sirote Duangratana Course NDC Class 62 This research aims to study the structure of flight time allocation of airports in Thailand Analyze problems and obstacles in the management and allocation of flight times of the airport. And guidelines for optimizing the management and allocation of flight times of airport. The researcher determined the scope of the study, only Suvarnabhumi Airport using qualitative research. By analyzing content from spatial data collection In-depth interviews Along with studying information from textbooks, documents, concepts and theories associated. The results of the research found that the airport's flight time allocation structure consists of: 1) The Time Allocation Committee is responsible for setting up policies and criteria for allocation of flight times. 2) Operations or facilitation of flight scheduling and coordination of flight time allocation 3) parameters for allocation of flight time and 4) Punishment. Problems and obstacles in the management and allocation of flight times of airports, such as problems of airlines failing to fly according to the allocated flight schedule. The demand for the airline's airport services during the same period was high. The airport's infrastructure is insufficient to meet the demand for air transport. Lack of promotion for the distribution of aviation needs to different regions. Law enforcement and the penalties that are appropriate. Guidelines for optimizing the management and allocation of flight times of The airport consists of: 1) Allocating time with transparency Without interference and safety factors should be considered. 2) Strictly focus on controlling the use of allocated time along with having appropriate penalties. 3) Increasing air transportation capability through the development of regional airports of the country such as Udonthani International Airport or Krabi International Airport, etc. 4) Increasing capacity to support airport services by expanding physical infrastructure and improving utilities. and 5) Analysis of airport needs and capacity Through hiring of specialized experts as an operator And to make a virtual model To get information.