เรื่อง: แนวทางการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน, (วปอ.9104)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ, (วปอ.9104)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
ปัจจัยส าคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนก็คือการพัฒนา
เชิงพื้นที่ ที่สามารถท าได้โดยการพัฒนาหรือส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้ง
สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก รัฐบาลไทยได้น าเสนอแนวความคิด
ที่สนับสนุนนโยบาย Thailand 4.0 รูปแบบใหม่เรียกว่า BCG ซึ่งเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการขับเคลื่อนการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเป็นการรวมตัวของเศรษฐศาสตร์ชีวภาพ เศรษฐกิจ
หมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เป็นที่เชื่อกันว่าแนวคิด BCG จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืน (SCGs) โดยผ่านการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน พลังงานสะอาด และการใช้ความหลากหลาย
ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ในปัจจุบันนี้สมุนไพรมีการใช้
มากขึ้นเพื่อสุขภาพของประชาชน รวมทั้งใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ การพัฒนาสมุนไพรเพื่อ
เศรษฐกิจของประเทศจึงมีความจ าเป็นเพื่อให้บรรลุผลภายใต้กรอบการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีและแผนสมุนไพรแห่งชาติการน าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและความสามารถในการแข่งขันตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ทั้งต้นทาง กลางทางและปลายทาง พร้อมทั้งการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิด BCG ในการศึกษานี้
ได้พิจารณาปัจจัยส าคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพื้นที่อย่างยั่งยืน ได้แก่การส่งเสริมแนว
ปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการจัดหาวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพและการใช้วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรรวมทั้งการสร้างกลไกการท างานร่วมกันของภาครัฐ
สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาคเอกชน การน าพืชอัตลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่นมาพัฒนา
เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เชื่อมโยงกับองค์ความรู้เดิมของชุมชน เรื่องราว ประวัติศาสตร์ สร้างเนื้อหาการ
ท่องเที่ยว รวมถึงการน า เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยให้มีความทันสมัย ท าให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ
แหล่งใหม่ ดึงดูดนักท่องเที่ยว เกิดการพัฒนาทั้งด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการท่องเที่ยวจะส่งผล
ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปพร้อมกันแนวคิดนี้จะเป็นการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนโดย
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและลดความเหลื่อมได้
abstract:
Abstract
Title Guidelines on sustainable development for innovation of local
health-oriented herbal products
Field Science and technology
Name Mrs. Sirinan Thubthimthed Course NDC Class 62
One of the essential factors of driving sustainable development is an
area-based development which can be done by developing and promoting
communities to be strong and self-reliant as well as being able to adapt to the rapid
changes. A new model called BCG has been conceptualized to underpin Thailand 4.0
policy as a strategy to drive the economic and social development. BCG is an integration
of bio-economy, circular economy and green economy. It is believed that BCG model will
enable Sustainable Development Goals (SCGs) through the promotion of sustainable
agriculture, clean energy, sustainable utilization of biodiversity and protecting environment
and ecosystem. Nowadays, herbs are increasingly needed in terms of health
consumption for the people, including raw materials used in many industries. The
development of herbs for the national economy is imperative to achieve results
within the framework of the development of science and technology and the
National Herbal Master Plan. Science, technology and innovation will be employed
to enhance the capacity and competitiveness of players in the value chain which
covers origin, mid-way, destination and drives under the concept of BCG. In this
study, the important factors of the sustainable area-based development of herbal
products were considered. The promotion of the good agriculture practice for
providing quality herbal raw materials and using science and technology for value
added herb products are the main factors for development as well as creating
collaborative mechanisms and setting guidelines or needs of the area by area as
a conceptual unit combined with government assistance, research institutes,
universities and private sector agencies. Promoting Thai herbal products to the public
is another factor in the development for creating awareness and knowledge of
properties and effectiveness of various types of Thai herbs. Bringing local unique
plants which have previous knowledge, stories and history for creating high value
added herbal products including the use of digital technology result in new quality
tourist attractions. The development of both herbal products and tourism will result
in the development of the economy at the same time. This concept will make
sustainable country development without leaving anyone behind and reducing
inequality.