Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรป ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี, (วปอ.9102)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายศศืวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์, (วปอ.9102)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการด าเนินความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรปที่สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายศศิวัฒน์ ว่องสินสวัสดิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับ ใช้การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพัฒนาการของ ความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรป และแนวโน้มในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสและความ ท้าทายในการด าเนินความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป และน ามาก าหนดแนวความคิดและจัดท า ข้อเสนอแนะแนวทางการด าเนินความสัมพันธ์อย่างรอบด้านและมีการด าเนินการอย่างบูรณาการ ในอนาคตในทางที่ตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในยุคหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจะเน้นการศึกษาวิเคราะห์การด าเนิน ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหภาพยุโรปอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และประชาชนต่อประชาชน ได้แก่ 1. การหารือในระดับสูงระหว่างไทยและสหภาพยุโรป และ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-สหภาพยุโรป 2. การมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การเข้าร่วมการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (Thai – EU FTA) 3. การสร้าง มาตรฐานต่าง ๆ ที่ส าคัญ 4. การมีบทบาทของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting -ASEM) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การด าเนินความสัมพันธ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมีความสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทด้านการ ต่างประเทศระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 แผนยุทธศาสตร์ภูมิภาคยุโรป 2561 - 2565 และ แผนระดับภูมิภาคยุโรป (Regional Mission Statement) ในด้านการสร้างความมั่นคงในทุกระดับ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน การมีความมั่งคั่ง ยั่งยืน มีมาตรฐานสากล และการพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพคน โดยไทยสามารถดึงจุดเด่นที่เป็นหุ้นส่วนที่ส าคัญและน่าเชื่อถือของ สหภาพยุโรปในการพัฒนามาตรฐานและการสร้างความมั่นคงมนุษย์ (Human Security) การเป็น ฐานการผลิตและส่งออกและสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) การส่งเสริมธุรกิจ ด้านสุขภาพและสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข (Health Security) อย่างสมดุล และมีความยั่งยืน

abstract:

Abstract Title Guidelines for Thai-EU Relations in accordance with Thailand’s 20-Year National Strategies Field Politics Name Mr. Sasiwat Wongsinsawat Course NDC Class 62 This qualitative research aims to evaluate the state of the Thai-European Union relationship as well as identify prospects for future cooperation. With a better understanding on existing opportunities and challenges, analysts and policy makers are better equipped to formulate policy recommendations that are inclusive and in-line with national strategies of Thailand, especially in the post-COVID19 era. The analysis will cover an evaluation of Thai-EU relations in areas of politics, economy, culture and people to people contacts, which includes 1. High-level meetings between officials of both sides and the Senior Official’s Meeting, 2. Economic cooperation and Thai-EU Free Trade Agreement negotiations, 3. Standard settings, and 4. Thailand’s proactive role in organizing international seminars under the Asia-Europe Meeting -ASEM framework. The research shows that the abovementioned activities have been implemented in accordance with the Royal Thai Government’s 20-year national strategies (2018-2037) as well as the Foreign Policy Master Plan (2018-2037), Europe’s Strategies (2018-2022) and Europe’s Regional Mission Statement of the Ministry of Foreign Affairs, which seek to promote security at all levels, competitiveness, prosperity and sustainability, strengthen human capital as well as enhance Thailand’s development to be in-line with international standards. Despite the post-COVID19 challenges, Thailand is set to harness its strengths in being an important and reliable partner of the EU by pursuing sustainability in all dimensions. Thailand could collaborate with the EU in (1) promoting human security and adhering to international standards (2) ensuring food security by strengthening Thailand’s food industries and improving food safety standard and (3) advancing health security through the promotion of Thailand’s medical and health related industries.