เรื่อง: แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพของไทยสู่อุตสาหกรรม ๔.๐, (วปอ.9092)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ, (วปอ.9092)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพของไทยสู่อุตสาหกรรม
4.0
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
ปัจจุบันผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะความตื่นรู้และ
พร้อมที่จะเลือกสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพส่งผลให้มูลค่าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของไทยเติบโต
อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยส่งเสริมที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารที่
หลากหลาย มีวัตถุดิบในการผลิตอาหารทีมีราคาไม่แพง คนไทยมีความชำนาญในการผลิตอาหารที่ทั่ว
โลกให้การยอมรับนับเป็นโอกาสที่สำคัญที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องให้ความสนใจ และให้ความสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่ผู้คนเริ่มหันมาบริโภคอะไรที่เป็นประโยชน์และดีต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น
มากกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังมองหาช่องทางการทำธุรกิจใน
อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพก็จะสามารถขยายตลาดไปสู่ลูกค้าที่กว้างขึ้นนับเป็นการพัฒนา
อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพของไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคต
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและศักยภาพของ
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพของไทย ศึกษาถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารเพื่อ
สุขภาพของไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ
ของไทย และสรุปเป็นแนวทางต้นแบบสำหรับการปฏิวัติพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0
ด้วยการดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูลการจัดระเบียบ
ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการศึกษาจากข้อมูลที่มีมาประมวลผล ทำการสังเคราะห์
และหาข้อสรุป
จากการศึกษาข้อมูลรอบด้านพบว่า รูปแบบและศักยภาพของผู้ประกอบการใน
อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพของไทยในปัจจุบันควรจะเน้นไปที่อาหารที่มีคุณสมบัติพิเศษที่
มากกว่าแค่การให้สารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายทั่วๆ ไปแต่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายบางอย่างในด้าน
ของสุขภาพจะเป็นอาหารที่อยู่ในรูปแบบใดก็ได้เพียงแค่มีประโยชน์เฉพาะด้านต่อร่างกายมากกว่าทำ
ให้ผู้บริโภคอิ่มเพียงอย่างเดียวแต่อุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพจะเป็นในเรื่องของ
ข้อมูลรายชื่อของสารที่สามารถใช้ได้ทำให้ไม่สะดวก และต้องใช้เวลามากขึ้นเพื่อที่จะทำการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ให้เสร็จสมบูรณ์แนวทางการพัฒนาควรเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่า และผลิตภาพการผลิต
ให้กับสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพโดยใช้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการออกแบบ นอกจากนี้ควรมีการบูร
ณาการการทำงานร่วมกันในการบริหารจัดการวัตถุดิบต้นน้ำเพื่อการยกระดับส่งผลให้การแปรรูป
อาหารมีความแน่นอนในด้านปริมาณ และคุณภาพ พร้อมทั้งแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการ
พัฒนา การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อัตรา
กำลังคน และระบบการบริหารจัดรองรับกลไกทางการตลาดของอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพหลัง
สถานการณ์โควิด-19 ต่อไป
abstract:
Abstract
Title Guidelines for the development of Thai healthy food industry
towards Industry 4.0
Field Economics
Name Wiwat Hemmondharop Course NDC Class 62
Nowadays, consumers are increasingly paying attention to health care, especially
being aware and ready to choose products that are beneficial to health, resulting in the
continued growth of the Thai healthy food market.From the supporting factors that Thailand is a
country rich in various crops there are raw materials for producing food that are inexpensive.
Thais have expertise in food production that is recognized around the world, this is an important
opportunity for Thai entrepreneurs to pay attention. And focus onespecially in 2020, more and
more people are starting to consume more healthy and healthy things. It can be said that it is an
opportunity for new entrepreneurs who are looking for business channels in the health food
industry, they will be able to expand the market to wider customers, this is the development of
the Thai health food industry to Industry 4.0. In the future.
This research is a qualitative research. The objective is to study the pattern and
potential of entrepreneurs in the Thai health food industry. Study the trends of Thailand's health
food industry towards Industry 4.0 to propose guidelines for the development of the Thai health
food industry. And summarize as a model guideline for the industrial revolution of Thailand to
industry 4.0 By conducting research according to the qualitative research methodology. Since
collecting information and organizing information data analysis and using the study results from
the available data to process make a synthesis and draw conclusions.
From the study of all-round information, it was found that the current pattern and
potential of entrepreneurs in the Thai healthy food industry should focus on foods that have
special properties that are more than just providing adequate nutrition to the general body but
with certain health benefits in terms ofhealth can be food in any form, it just has more specific
health benefits than just makes the consumer feel full. But the obstacle for the health food
industry is the inconvenience of the list of available substances. And it takes more time to
complete product development. The development approach should focus on adding value.
And productivity to healthy food products by using technology, innovation and design in
addition, the upstream raw material management should be integrated to improve the level,
resulting in food processing with certainty in quantity and quality. As well as revise regulations
that hinder development prepare to support the digital economy by developing infrastructure, ง
manpower and management systems to support the marketing mechanism of the health food
industry after the COVID-19 situation.