Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ของประเทศไทย, (วปอ.9091)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายวิลาศ เฉลยสัตย์, (วปอ.9091)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ลักษณะวิชายุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานและกระทรวงมหาดไทย กับนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าที่ส าคัญ ของประเทศ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และช่องว่างของนโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เชื่อมโยง และสอดรับกัน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญในภาคพลังงาน และเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับหลักการ แนวคิด และแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและการบริหารราชการ แบบบูรณาการ จากนั้นเป็นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อสรุปและเสนอแนวคิดในการเสริมสร้าง ความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า จากการศึกษาพบว่า แผนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ แผนพัฒนาก าลังผลิต ไฟฟ้าของประเทศ (PDP2018) แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP2015) แผน อนุรักษ์พลังงาน (EEP2015) มีการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 และ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตและใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาและอุปสรรคในการปฎิบัติงาน ส่งผลกระทบต่อ ความต่อเนื่องในการด าเนินนโยบายและความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า ปัญหาหลักคือ ความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า การจัดหา ก าลังผลิตไฟฟ้าส ารองที่ไม่เป็นไปตามแผน การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกและ การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป ส่งผลให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของการด าเนิน นโยบายด้านพลังงานไฟฟ้า และกระทบต่อมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในที่สุด ข้อเสนอแนะคือการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อสร้างการ ยอมรับของประชาชนต่อการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ตามแผน PDP2018 และการแก้ไขปัญหา ระยะยาวโดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้ไฟฟ้าผ่านมาตรการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Respond)

abstract:

Abstract Title Guideline for Strategic Integration of Electrical Power to Enhance Energy Security in Thailand Field Strategy Name Mr. Wilas Chaloeysat Course NDC Class 62 The objectives of this research is to study the linkage of the 20-year National Strategy, the strategy of the Ministry of Energy and the Ministry of Interior with the important electrical power policies of the country. It aims to analyze the problems, barriers and gaps due to unrelated and inconsistent electrical power policy leading to suggestions for enhancing energy security in Thailand. This is a qualitative research by collecting primary data from in-depth interviews with experts in the energy sector. In addition, secondary data is collected from literature studies on principles, concepts, and practices in enhancing energy security and integrated public administration. After that, the qualitative content analysis is conducted to summarize and propose ideas for enhancing energy security inThailand. This study found that the plans relating to electrical power are the Power Development Plan (PDP2018), the Alternative Energy Development Plan (AEDP2015) and the Energy Efficiency Plan (EEP2015). All plans are linked to the 20-year National Strategy on Strategy 2 and Strategy 5 that focus on the infrastructure development, generation and use of electricity from renewable energy, and energy conservation. However, in practice there are still problems and barriers in operations that affect the continuation of the policy and security of electrical energy. The main problems are the discrepancy of demand forecasting, the unplanned power supply capacity procurement, the over promotion of electricity generation from alternative energy, and the excessive dependence on natural gas for electricity generation resulting in discontinuity in the implementation of electrical energy policies and eventually affecting the electrical energy security. The recommendations include enhancing people’s knowledge and understanding of issues in order to build the public acceptance of large power plant construction according to the PDP2018 plan. For long-term problem solving, the focus should be on the attempts to bring changes to consumer behavior using demand response measures.