Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, (วปอ.9090)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายวิโรจน์ จงกลวานิชสกุล, (วปอ.9090)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการเพิ่ มประสิ ทธิภาพระบบการจดทะเบี ยนเครื่องหมายการค้ า เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นาย นายวิโรจน์ จงกลวานิชสุข หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62 ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ นับเป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่ง แตกต่างจากสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ เป็นต้น และอสังหาริมรทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น โดยทรัพย์สินทางปัญญามีหลายประเภท ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบผังภูมิของวงจรรวม ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี่ทางภูมิศาสตร์ ลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง ซึ่งในปัจจุบันนับว่าทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเครื่องมือทางการค้าที่ส าคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ และมีส่วนส าคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต ซึ่งในประเทศที่พัฒนา แล้วได้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) การศึกษาวิจัย เรื่องแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพระบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี เป็นการพัฒนาระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการสร้าง ความสามารถทางการแข่งขัน อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงข้อมูลด้านทรัพย์สิน ทางปัญญาจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) WIPO นอกจากนี้ยังศึกษาจากเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง ยังมีการ สัมภาษณ์เชิงลึกนายทะเบียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ตัวแทน ทนายความ รวมถึง การศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ จากผู้ที่เกี่ยวข้องมาขอรับบริการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว น ามาวิเคราะห์และน าเสนอผลงานวิจัย ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ระบบกฎหมายและโครงสร้างการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการ คล้ายคลึงกัน ส่วนขั้นตอนที่มี ความยุ่งยากใช้เวลา คือ การโต้ตอบทางเอกสารที่ให้เวลาผู้ขอจดทะเบียนนาน และการใช้ดุลยพินิจ ในการพิจารณาสั่งการและตรวจสอบ โดยการใช้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบพิจารณาสั่งการ ต้องใช้เวลายาวนาน ซึ่งผลการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ การปรับปรุงคู่มือที่ใช้การตรวจสอบ สั่งการในขั้นตอนต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามแนวเดียวกัน และมีวิธี ปฏิบัติเดียวกัน รวมถึงการน าเทคโนโลยีมาช่วยในการตรวจสอบสั่งการ เพราะปริมาณค าขอจด ทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพิ่มมากขึ้นทุกปีนอกจากนี้การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อ ต่อการขอจดทะเบียนคุ้มครองเครื่องหมายการค้าให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ในปัจจุบัน เพื่อให้การจดทะเบียนเครื่องหมายการของประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งให้ประเทศ ไทยมีความสามารถในการแข็งขันเพิ่มขึ้น น าไปสู๋ประเทศมั่นคง มั่งคั้ง และยั่นยืน

abstract:

Abstract Title : The Guidelines to Improve Trademark Registration System under 20 - Year National Strategy Field : Economics Name : Mr. Wirote Chongkolwanichsook Course NDC Class 62 Intellectual Property (IP) refers to any original creation of the human intellect. It is a category of the property but it is not chattel that it can move such as a clock, car and it is not real estate that it cannot move such as a land, house, etc. There are many types of IP : patents, trademarks, design of the integrated circuit, trade secrets, geographical indications, copyrights, and related rights. At present, IP as a trade tool is important for country development and more importantly, IP will drive economic growth. What this means is that developed countries bring IP for the development of the creative sector in the economy. This research will study guidelines to enhance efficiently the registration of a trademark under Thailand's 20-Year National Strategy. Moreover, this research intends to improve Thai entrepreneurs’ competitiveness. The research is qualitative research by collecting secondary data about trademark registration in the United States, Japan, and the World Intellectual Property Organization (WIPO). Besides, this research will study IP from various publications and related electronic media and includes in-depth interviews with the registrar and relevant staff, entrepreneurs, representatives, lawyers, as well as data from a satisfaction survey of related persons who apply directly for trademark registration service. It will analyze and present the conclusion of the research. In other words, the conclusion is as follows : In the case of the legal system and trademark registration structure, when compared to the United States and Japan, Thailand has similar rules, procedures, and methods. However, a trademark applicant’s document response and trademark examiners’ discretion for a command are a time-consuming process. Therefore, this research points out that it is important to improve the trademarks manual for the registrar’s command. The reason for this is that the trademark manual should be the same process and most importantly, technology should be used for checking trademark examiners’ command. It is significant to note that the number of applications has increased every year. Furthermore, improving the laws and regulations of a trademark is appropriate for the current situation, it will facilitate increasingly trademark registration and enhance efficiently the registration of trademark in Thailand. Finally, the economy of Thailand has stability, prosperity, and sustainability.