Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศ ด้านการส่งกำลังบำรุงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการใช้กำลังทางอากาศ ของกองทัพอากาศให้รองรับการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ AI, (วปอ.9088)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.อ.ต. วิทยา ถาน้อย, (วปอ.9088)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสารสนเทศด้านการส่งกำลังบำรุง เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการใช้กำลังทางอากาศของกองทัพอากาศให้ รองรับการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์AIและรองรับยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย พลอากาศตรี วิทยา ถาน้อย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบ สารสนเทศด้านการส่งกำลังบำรุงของกองทัพอากาศและหาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ สารสนเทศด้านการส่งกำลังบำรุงเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการใช้กำลังทางอากาศให้รองรับการ พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI และรองรับยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี กองทัพอากาศ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้ เพื่อทราบถึงกระบวนการทำงานสารสนเทศที่สำคัญของ ระบบสารสนเทศด้านการส่งกำลังบำรุงของกองทัพอากาศ และได้แนวทางการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและสารสนเทศด้านการส่งกำลังบำรุงมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจการใช้กำลังทาง อากาศของกองทัพอากาศ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์๒๐ ปีกองทัพอากาศ การพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ เหมาะสำหรับการตัดสินใจและตอบสนองผู้บริหารได้ทันทีทำให้สามารถสนับสนุนการตัดสินใจตาม ยุทธศาสตร์ ๒๐ ปี ของกองทัพอากาศด้านการพัฒนาสู่กองทัพอากาศดิจิตอล (Digital Air Force) เป็น การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการปฏิบัติภารกิจในทุกด้านของกองทัพอากาศเป็นไปอย่างรวดเร็ว เหมาะสม ทันตามความต้องการในทุกสถานการณ์ ด้านการพัฒนากองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็น ศูนย์กลาง (Network Centric Air Force) เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง สามารถเข้าถึงสารสนเทศสำหรับการบริหารและวางแผนได้ อย่างรวดเร็ว ด้านการขับเคลื่อนกองทัพอากาศไปสู่ กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค (One of the Best Air Forces in ASEAN) โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิตอลในการ ปฏิบัติการรบและที่ไม่ใช่การรบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการปฏิบัติการในมิติทางอากาศ (Air Domain) กองทัพอากาศตระหนักถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในมิติอื่น ๆ ได้แก่ มิติไซเบอร์ (Cyber Domain) และมิติอวกาศ (Space Domain) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้อง พัฒนาขีดความสามารถในมิติดังกล่าวเพิ่มเติมโดยยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในมิติไซเบอร์ (Cyber Domain) ในปีพ.ศ.๒๕๗๑ – ๒๕๗๕ ริเริ่มการนำ AI มาใช้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนไปสู่ประเทศไทย ๔.๐ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่าง เป็นรูปธรรมโดยเพิ่มขีดความสามารถให้สูงและทันสมัย (Smart and High Performance Government)คือต้องทำงานอย่างที่มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า มีการสร้างนวัตกรรมหรือมีความคิด ริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้เพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย

abstract:

Abstract Title Guidelines for the use of information and information technology in the field of logistics to support the Air Force's decision to use air force to support the development of AI technology and support the 20-year strategy. Field Science and technology Name Air Vice Marshal Vithaya Thanoi Course NDC Class 62 The purpose of this research paper is to study information technology and logistics information systems of the Air Force and to find out how to use information technology and information in the field of logistics to support decision￾making on the use of air force to support it. Developing AI technology and supporting the 20-year strategy of the Air Force Benefits received from this research To understand the critical information work process of the Air Force Transportation Information System. And the use of information technology and logistics information to be used to support air force decision-making on the use of air force. To support the 20-year strategy of the Air Force The System Development Life Cycle (SDLC) to provide the information suitable for decision-making and immediate response to management, enabling the decision-making of the Air Force's 20-year strategy for Digital Air Force development. ) It is the development of digital technology for the mission in all areas of the Air Force to be fast, suitable, and meet the needs of every situation. Development of the Network Centric Air Force is a development that focuses on the development of network-centric operations. Able to quickly access information for administration and planning In driving the Air Force to A leading air force in the region (One of the Best Air Forces in ASEAN) by applying information and digital technology in combat and non-combat operations. Effectively In addition to operating in the Air Domain, the Air Force recognizes a rapidly growing number of new threats in other dimensions, including the Cyber Domain and Space Domain. Developing capacity in this dimension further by the 20-year Air Force Strategy (2018 - 2017) has set a guideline for capacity development in the Cyber Domain, including initiatives and laying the important foundation for development Space Domain capability to support operations in the air domain and prepare to defend against threats in this dimension both today and in the future. Cyber Domain Development Direction In the year 1968 - 2014, initiated the adoption of AI, leading to the transformation to Thailand 4.0 driven by concrete innovation by increasing the capacity to be tall and modern (Smart and High Performance Government), namely Must work as a preconfigured There is innovation or initiative and application of knowledge to respond to modern changes.