Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ความคุ้มค่าในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ ในยุคสังคมไร้เงินสด, (วปอ.9077)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางวรนุช ภู่อิ่ม, (วปอ.9077)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง ความคุ้มค่าในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ ในยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางวรนุช ภู่อิ่ม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรการหมุนเวียน การใช้ การผลิต พฤติกรรมการใช้เหรียญกษาปณ์ ชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ๒ ชนิดราคาดังกล่าว ให้เกิด ความเหมาะสม คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐ และไม่ส่งผล กระทบต่อประชาชน โดยด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับใช้การวิจัย เชิงพรรณนา (Descriptive Research) ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลที่เป็นเอกสาร อาทิ ต าราทางวิชาการ นโยบายรัฐบาล รายงาน สถิติด้านต่าง ๆ และการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้าย่อยระดับชุมชน ร้านค้าสะดวกซื้อ ประชาชนทั่วไปแต่ละสาขาอาชีพ ผู้มาติดต่อ ขอแลกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ กับกรมธนารักษ์และ ท าการศึกษาในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓ ผลการศึกษา พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ สถิติการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ มีแนวโน้มที่ลดลง และสถิติการรับคืนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้ง ๒ ชนิดราคา มีอัตราที่ เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้ง ๒ ชนิดราคาดังกล่าว ของประชาชนที่ลดน้อยลง อันเนื่องมาจาก ประชาชนบางส่วนได้หันมาใช้บริการช าระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพราะมีความสะดวกรวดเร็ว รู้สึกปลอดภัย ประกอบกับราคาสินค้าและบริการ ในปัจจุบันแทบจะไม่มี จ านวนที่เป็นเศษสตางค์ จึงท าให้คนส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่มีความจ าเป็นต้องใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ทั้ง ๒ ชนิดราคานี้ และหากจ าเป็นต้องซื้อสินค้าที่มีหน่วยเป็นเศษสตางค์ ก็มีทางเลือกอื่นในการช าระ สินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเมื่อสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนกลุ่มต่าง ๆ แล้ว ประมาณร้อยละ ๘๐ เห็นด้วยกับการยกเลิกการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ และคิดว่าไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ หากไม่มีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนทั้ง ๒ ชนิดราคานี้ ในระบบเศรษฐกิจ จึงนับเป็นความส าเร็จขั้นแรกของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เงิน ของประชาชนที่มีต่อการสนองตอบนโยบายรัฐบาลในการลดการใช้เงินสดเพื่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดภาระงบประมาณของภาครัฐ ในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่มีความจ าเป็นน้อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจ และน ามาสู่การ เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา ๒๕ สตางค์ และ ๕๐ สตางค์ จากการผลิตเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เป็นการผลิตเพื่อใช้ในระบบบัญชีและใช้เพื่อส่งเสริม การสะสม โดยจัดท าเป็นแผงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนประจ าปี เช่นเดียวกับเหรียญกษาปณ์ หมุนเวียนชนิดราคา ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๑ สตางค์

abstract:

Abstract Title Worthiness of minting the 25 and 50 satang circulating coin in the cashless society. Field Economics Name Mrs. Woranuch Phu-im Course NDC Class 62 The objectives of this study was to learn about the cycle, usability, coinage and the behavior of consumer spending on 25 and 50 satang coins in the current economic climate to propose the solutions of problems of these two circulating coins minting that would be appropriate, worthwhile and useful as well as it’s doesn’t impact the government expenses and people’s lifestyle. The Qualitative Research and Descriptive Research operated by studying the paper documents such as academic textbooks, government policies, reports, statistics and target group interviews; community retail shop operators, convenience stores, people and the Treasury Department’s clients or partners, studying during November 2019 - May 2020 and the results showed that the statistics of exchanging the 25 and 50 satang circulating coins are decreased in the fiscal year 2017 and the statistics of returning are increased compared to the fiscal year 2018 which reflects the behavior of people who use both kinds of circulating coins are decreasing. It's a result of an electronic payment that people feel more conveniently and safety. Along with the price of goods and services is almost no small change amount, so they think it is not necessary to use these two kinds of circulating coins at present and if necessary, there are other options for electronic payment. After asking people’s opinion, 80% of them agree with the cancellation of producing 25 and 50 Satang circulating coins. They think they do not get any impacts in their daily life. Their attitude and behavior changes are the first process for the gradual transformation from the policy of using less money to the cashless society which will save the national budget for minting these two kinds of circulating coins, the least valuable coins circulated in the economy system. Additionally, 25 and 50 Satang coins will be cancelled in daily life but used in the accounting system instead. However, they are produced for collecting in the form of the presentation pack which 10, 5, and 1 Satang coins were also included.