Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: สื่อและวัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐, (วปอ.9070)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร, (วปอ.9070)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง สื่อและวัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร หลักสูตร วปอ. รุ่น ๖๒ ในยุค ๔.๐ ซึ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารอย่างรวดเร็ว โดยมีการใช้สื่อ สังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงประชาชนทั่วไปซึ่งสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสื่อได้อย่าง ทั่วถึง ดังนั้น การพัฒนาประเทศให้เหมาะสมกับบริบทที่ผันแปรของโลกได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้อง พัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการสื่อในยุค ๔.๐ ให้ส่งเสริมวัฒนธรรม ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษาเกี่ยวกับบริบทของสื่อในยุค ๔.๐ ๒. ศึกษาผลกระทบของสื่อที่มีต่อวัฒนธรรมไทย และ ๓. จัดท าข้อเสนอแนะซึ่งสามารถน าไปสู่ การปฏิบัติในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้ระยะเวลา ๗ เดือน (ม.ค.-ก.ค. ๖๓) โดยมุ่งเน้นศึกษาผลของสื่อในยุค ๔.๐ ที่มีต่อ วัฒนธรรมของไทยเท่านั้น โดยได้การศึกษาปัญหาและความส าคัญของปัญหา การศึกษาเอกสาร/ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง และได้ใช้การสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสื่อและ วัฒนธรรมในสังคมไทย จ านวน ๙ คน จากการวิเคราะห์ผล ผู้วิจัยได้เสนอตัวแบบองค์ประกอบของสื่อ สร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐ ประกอบด้วย ๑. เนื้อหา ได้แก่ เนื้อหาที่สร้างสรรค์วัฒนธรรม ไทยได้อย่างเหมาะสมกับช่วงเวลา ๒. รูปแบบและช่องทางของสื่อ ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์และ อินเทอร์เน็ตในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยของเทคโนโลยีและการแพร่ระบาด ของโควิด-19 ๓. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนทั่วไป และ ๔. เครือข่าย ได้แก่ ความร่วมมือจากทุก ภาคส่วน โดยตัวแบบองค์ประกอบของสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐ ซึ่งผลจาก การวิจัยสรุปได้ว่า สื่อที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐ ส่งผลดีต่อการพัฒนา วัฒนธรรมไทย ส าหรับข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐ ได้แก่ ๑. ควรพัฒนาองค์ประกอบของสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยในยุค ๔.๐ ในทุกด้านอย่างเหมาะสม ๒. ควรมีการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปในการรับและส่งสื่อในยุค ๔.๐ ๓. ควรมีระบบกลไก การเฝ้าระวัง และการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสาร เพื่อให้ได้ข้อมูลและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อน าไป ประเมินปัญหาและปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาวัฒนธรรมไทยโดยใช้สื่อในยุค ๔.๐ ๔. ส่งเสริม จริยธรรมสื่อมวลชน ๕. สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรม ไทยและป้องกันผลกระทบของสื่อที่มีต่อวัฒนธรรมไทย ๖. ควรมีการใช้สื่อในยุค ๔.๐ เพื่อเป็นช่องทาง ในการจ าหน่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ (E-Commerce) ๗) ควรส่งเสริมให้มี E-Library และ Virtual museum อย่างหลากหลาย เพื่อเป็น แหล่งค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ผู้วิจัยได้จัดท าตัวแบบข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัฒนธรรมไทยผ่านสื่อในยุค ๔.๐ ได้แก่ ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนเพื่อน านโยบายไปสู่การปฏิบัติ และ ข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวัง ดังนี้ข ๑. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการก ากับทิศทางและขยายผล ได้แก่ ควรมีหน่วยงาน หรือบอร์ดก าหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และติดตามก ากับดูแล ๒. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนเพื่อน านโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย โดยใช้สื่อ Social Media ควรส่งเสริมการใช้ E-Commerce ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ควรส่งเสริมการสร้าง นวัตกรรมสื่อใหม่ๆ ในการเรียนการสอน การส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ๓. ข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวัง ได้แก่ ควรมีหน่วยงานและระบบกลไกการเฝ้าระวังหรือ ช่องทางในการกลั่นกรอง ติดตาม และการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสาร รวมทั้งควรมีการบังคับใช้ กฎหมายอย่างจริงจัง

abstract:

ABSTRACT Title Media and Thai Culture in 4.0 Era Field Social-Psychology Name นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร Course NDC Class 62 In 4.0 era, modern information and communication technology has been rapidly developed. Social media and internet can easily reach all citizen who can be both media receiver and media sender. In order to sustainably develop country in such rapid global change, not only material but also physiological improvement should be performed. Thai culture which is intangible or physiological root cause of tangible or material improvement should be promoted by suitable media management. The objectives of the research were 1) to investigate the context of media in 4.0 era, 2) to investigate the impact of media on Thai culture in 4.0 era, and 3) to suggest for the improvement of Thai culture through media in 4.0 era. Qualitative research was investigating during January, 2020 – May, 2020. This study focused on the effects of media in 4.0 era on Thai culture. This research explored the problem and the significance of the problem and the literature review. An interview was conducted to collect the data from 9 peoples. The validity of the qualitative data was analyzed by the data triangulation method or the use of multiple sources of data (official documents and related participants) This study contributes to the literature by theoretically developing a conceptual model and then empirically examining the relationship between media and Thai culture in 4.0 era. The creative cultural media model consists of four parts which are 1) content (time-related promoting cultural content) 2) type and channel of media (social media and internet) to promote Thai culture in modern technology era and the Covid-19 outbreak 3) target of media (all Thai citizen) and 4) network (collaborative participation). The suggestions for sustainable growth of Thai culture through media in 4.0 era are 1) using the creative cultural media model as a guideline for improvement 2) knowledge management for Thai citizen to properly use media in 4.0 era and creatively improve Thai culture, 3) management system to communicate, evaluate and manage media in 4.0 era for Thai cultural improvement, 4) promoting media ethics, 5) creating collaboration of all sectors to promote Thai culture through media in 4.0 era, 6) supporting e-Commerce for local Thai culture and 7) creating cultural e-Library and virtual museum for Thai cultural studying.ง The researchers have formulated a model of 3 recommendations for the development of Thai culture through media in Thailand 4.0 era, including the policy recommendations for directing and development, the recommendation for driving the policies into action and the recommendation for surveillance. 1. The policy recommendation for directing and development: there should be agencies or boards to set up policies, strategies, relevant plans and monitor. 2 . The recommendation for driving the policies into action: building up the knowledge and understanding and create the communication to publicize information about Thai culture through social media, promote the use of e-commerce to increase economic value, and promote the creation of new innovative media in teaching and promoting Thai culture. 3. The recommendation for surveillance: there should be surveillance agencies and systems or other channels to analyze, monitor, and set up the interaction or communication as well as serious law enforcement.