Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาแนวทางการนำทฤษฎีแก้มลิงไปใช้ ในการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง, (วปอ.9060)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ, (วปอ.9060)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาแนวทางการนำทฤษฎีแก้มลิงไปใช้ในการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ แนวคิดเกี่ยวกับ “แก้มลิง” ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งสะท้อนพระราชจริยวัตรในความ ช่างสังเกต พัฒนาเป็นระบบการบริหารจัดการน้ำท่วมโดยการชักน้ำให้รวมกันในพื้นที่กักเก็บน้ำ ที่สร้างขึ้น แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง เป็นแนวคิดที่มีผลประจักษ์ชัดใน การแก้ไขปัญหาอุทกภัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล และ เป็นต้นแบบในการบริการจัดการน้ำอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมตามแผนและนโยบายของราชการ แต่ปัจจุบันยังคงมีหลายพื้นที่ประสบกับปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งในพื้นที่เดียวกันก่อให้เกิด ผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การวิจัยนี้เป็นการนำแนวคิดปรัชญาพระราชดำริเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องแก้มลิงมาเป็น แนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำ และศึกษาว่าบทบาทของแก้มลิงเพื่อแก้ปัญหา และจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการใช้ทฤษฎีแก้มลิงเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้อย่างไร ซึ่งพบปัญหาหลักด้านปัจจัยของสภาพพื้นที่ ปัญหาด้านความเป็นเอกภาพในการจัดทำแก้มลิง ปัญหา ด้านทัศนคติและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และปัญหาด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแก้ไข ปัญหา นำมาซึ่งแนวคิดสำคัญสามประการในการพัฒนาแนวทางการนำทฤษฎีแก้มลิงไปใช้ใน การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ได้แก่การเพิ่มแก้มลิงในพื้นที่ที่เหมาะสมบนพื้นฐานของข้อมูล สนับสนุนที่เพียงพอ การพัฒนาและเสริมบทบาทแก้มลิงให้มีศักยภาพรอบด้านยิ่งขึ้น และ ให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้แก้มลิงที่สร้างขึ้นนั้นมีบทบาทในการ แก้ไขปัญหาในระยะยาว และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและการจัดการ ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแก้มลิงขึ้น และเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ อย่างบูรณาการ ร่วมกันต่อไป

abstract:

Abstract Title Developmental Approaches to resolve flood and drought problems with ‘Monkey cheek project’ Field Strategy Name Mr. Phumintra Plungsombut Course NDC Class 62 Kaem Ling ('monkey cheeks project') is a flood control measure based on the vision of King Bhumibol Adulyadej of Thailand. The idea stems from his observation that monkeys store bananas in their cheeks, conserving them to eat later. He applied this concept to the problem of flooding in Bangkok. Storing excess water in north Thailand would slow its progress towards Bangkok and allow it to be used when rainfall slackened. This project is a role model for water resources management which concrete by the government’s plan and policies. But nowadays, there are several areas that still occur flood and drought problems. That’s a huge impact on economic and environmental security. Therefore it’s necessary to create efficiency water resources management. This research is the application of the royal philosophy on the concept of monkey cheeks project to solve water management problems And studied how the project cansolve that problem and how will it lead to the development of approaches to using the project to tackle flood and drought problems. Which found the main problem; area conditions problem, unity issues in the preparation of monkey cheeks Problems, people’s attitudes, co-operations and participation, And legal issues to solving problems. This will bring about three important concepts in the development of approaches to applying the Monkey Cheek Project in solving flood and drought problems. This was to add the monkey cheeks to the appropriate area based on adequate supporting data. Developing and enhancing the role of the Monkey Cheek to have more all-round potential and focus on making contributions for sustainability So that the created monkey cheeks play a long-term problem-solving role. And allow people to participate in planning and management. And connect various information further integrally.