Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยสู่ความยั่งยืน, (วปอ.9054)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์, (วปอ.9054)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยสู่ความยั่งยืน ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสถานการณ์ภาพรวมของอุตสาหกรรมการ เลี้ยงกุ้งของไทย ๒) วิเคราะห์ปัญหาของอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง และอุปสรรคที่ส่งผลต่อ อุตสาหกรรมกุ้งไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน ๓) พร้อมเสนอแนวทางรูปแบบในการจัดการการเลี้ยงกุ้งที่ มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดความยั่งยืน รวมถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือทั้ง ภาครัฐ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และภาคเอกชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระดับปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จำนวน ๑๕ ราย และค้นคว้าจากตำรา เอกสารต่าง ๆ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยได้ดังนี้ กุ้งขาว เป็นสัตว์น้ำที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ ของไทยและมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งยังประสบปัญหาเรื่องโรค ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของไทยในปี ๒๕๖๒ มีผลผลิตกุ้งประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ ตัน ซึ่งใกล้เคียง กับปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคากุ้งในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคากุ้งในประเทศลดลงด้วย ประกอบกับปัญหาเรื่องโรคในบางพื้นที่ ทำให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยงกุ้ง และความต้องการบริโภคกุ้ง ภายในประเทศมีประมาณ ๕๕,๐๐๐ ตัน โดยผลผลิตกุ้งที่ใช้ภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ ๑๗.๒๔ ของผลผลิตกุ้งทั้งหมด สำหรับผลผลิตส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๘๒.๗๖ ใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการส่งออก โดยตลาดส่งออกหลักของไทย คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ส่วนปัญหาที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมกรรม กุ้ง คือ ปัญหาเรื่องพื้นที่การเพาะเลี้ยงกุ้งมีจำกัด ปัญหาเรื่องโรค ปัญหาเรื่องระบบการเลี้ยง ปัญหา เรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และปัญหาเรื่องมาตรการการค้าและตลาด ช่องทางการขาย ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยให้เกิดความยั่งยืน จึงต้อง เริ่มพัฒนารูปแบบการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ การเลี้ยงกุ้งแนวทาง ๓ สะอาด ประกอบด้วย ลูกกุ้งสะอาด พื้นบ่อสะอาด น้ำสะอาด และต้องมีน้ำสะอาดที่เพียงพอตลอด ระยะเวลาการเลี้ยงกุ้ง เพิ่มโอกาสสำเร็จด้วยการอนุบาลลูกกุ้งและเสริมด้วยการเลี้ยงกุ้งระบบน้ำ หมุนเวียน และสิ่งสำคัญคือ การผลิตที่ตระหนักถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทยไปสู่ความยั่งยืน

abstract:

Abstract Title Development Shrimp Farming Industry In Thailand towards Sustainable Field Economics Name Mr. Pairoj Apiruknusit Course NDC Class 62 The purposes of this research were 1) to study the overall situation of shrimp farming in Thailand 2) to analyze the problems of shrimp farming industry and the obstacle affecting to shrimp farming in current situation 3) to purpose shrimp farming management model that sustainable and environmentally friendly including guidelines for building cooperation in stakeholder. The researcher applied the qualitative research method in conducting this research; interview shrimp farmers and collecting the data from documents and textbooks. The research results were as follows: The white shrimp (Litopenaeus vannamei) are most popular an important aquatic animal in Thailand and tend to increase production. But in the shrimp farming industry still has problems with disease, Thai Shrimp production in 2019 around 290,000 Tons. Due to the decrease of shrimp price in the world market, shrimp price in country also decrease and the problem of disease in some area causing farmers to delay shrimp farming. Domestic shrimp consumption is 55,000 tons or 17.24 percent of total production, for the majority of products of 82.76 percent is used as raw materials for export, the main export market are the United States, Japan and China. The problem affecting shrimp industry are the limited area shrimp farming, shrimp disease, farming system, funding and trades barrier. Therefore, to develop shrimp farming industry towards sustainable and environmentally friendly. 3 Clean techniques consist of; clean of post larvae, clean of pond and clean of water, increase the chances of success by nursing shrimp and shrimp culture with recycle system. The main thing is production that recognized environmentally friendly to make the shrimp farming industry in Thailand to be sustainable.