Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในห้วงปี พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๗, (วปอ.9053)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. ไพรุจน์ คำชุม, (วปอ.9053)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ในห้วงปี พ.ศ. 2563 – 2567 ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลตรี ไพรุจน์ คำชุม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 เอกสารวิจัยเรื่องนี้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษา ปัจจัยหรือกลไกในการขับเคลื่อนงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ (2) เพื่อเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักรให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ขอบเขตของการวิจัย ตั้งแต่ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ (28 กุมภาพันธ์ 2551) จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งศึกษาถึงแนวทางหรือวิธีการ (How to) ในการขับเคลื่อนงาน ในห้วง 5 ปี คือ พ.ศ. 2563 – 2567 เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคง ตลอดจนงานนโยบายของรัฐบาล ตามที่ได้รับมอบหมาย ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับการวิจัย เชิงพรรณนา (Descriptive Research) ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานของ กอ.รมน. มี 9 ปัจจัย คือ 1. คน/กำลังพล/บุคลากร 2. ยุทธศาสตร์ กอ.รมน . 3. การบูรณาการความร่วมมืออย่าง มีประสิทธิภาพระหว่าง กอ.รมน. กับ ส่วนราชการอื่น 4. การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติงานได้อย่างสูงสุด 5.การได้รับการจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรที่เพียงพอจาก รัฐบาล 6. การมีแผนแม่บท/แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการกำลังพลของ กอ.รมน. 7. ค่านิยมองค์กร กอ.รมน. 8. การพัฒนาองค์กรไปสู่ 3 เป้าหมาย คือ (1) องค์กรแห่งการบริหาร จัดการเชิงยุทธศาสตร์ (2) องค์กรแห่งมืออาชีพในการบริหารจัดการความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ (3) องค์กรแห่งการบูรณาการทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน 9. การทำงานให้ได้รับการเชื่อมั่น และศรัทธาจากประชาชน สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนงานของ กอ.รมน. ในห้วงปี 2563 - 2567 แบ่งเป็น 2 ห้วง คือ ห้วงเวลาแรก ปี พ.ศ. 2563 - 2565 (3 ปี) เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายตามห้วง เวลาของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงที่กำหนดให้ พ.ศ. 2561-2565 “ปรับสภาพแวดล้อมพร้อม แก้ไขปัญหา” โดยแนวทางการขับเคลื่อนงานในห้วงระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) เป็น “พัฒนา ปัจจัย แก้ไขปัญหา บูรณาการขับเคลื่อนงาน” กล่าวคือ พัฒนาปัจจัย คือ การพัฒนาเสริมสร้าง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการขับเคลื่อนงาน 9 ปัจจัยดังกล่าว แก้ไขปัญหาคือ แก้ไขเรื่องที่เป็นปัญหา/ อุปสรรค บูรณาการขับเคลื่อนงานคือขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติการในส่วนที่รับผิดชอบรองรับข ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และขับเคลื่อนงานตามนโยบาลที่รัฐบาลมอบหมาย ห้วงเวลาที่สอง ปี พ.ศ. 2566 - 2567 (2 ปี) อยู่ในห้วงที่สองของเป้าหมายตามห้วงเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคงที่กำหนดให้ พ.ศ. 2566 - 2570 “ปัญหาเก่าหมดไปปัญหาใหม่ไม่เกิด” โดยแนวทาง การขับเคลื่อนงาน ในห้วงระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2566 - 2567) เป็น “ประเมินผลงาน ปรับปรุงแก้ไข บูรณาการขับเคลื่อนงาน”กล่าวคือ ประเมินผลงานคือการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ในห้วงปี พ.ศ. 2563 - 2565 ว่าเป็นอย่างไร ปรับปรุงแก้ไขคือ ปรับปรุงจากผลการประเมิน บูรณาการ ขับเคลื่อนงาน คือ การขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติการในส่วนที่รับผิดชอบรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านความมั่นคงและนโยบายของรัฐบาลในห้วงระยะเวลาโดยสอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายเรื่องการบริหารจัดการข้าราชการที่มาปฏิบัติราชการใน กอ.รมน. ต้องทำให้เป็นระบบที่ดี อย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของ กอ.รมน. ในที่สุด

abstract:

Abstract Title The way to propel the Internal Security Operations Command (ISOC)’s mission in 2020 - 2024 Field Strategy Name Maj.Gen. Pairut Kamchoom Course NDC Class 62 This research has 2 objectives : 1. to study what factors or mechanisms propelling ISOC’s mission are, 2. to propose the efficient and concrete way propelling ISOC’s mission. Scope of Research : since the Law of Maintaining Internal Security has been effected (28 Feb. 2008) up until now, focusing the way or how to propel the mission for 5 years period (2020-2024) supporting the national Security Strategy (NSS) and government’s mission. Methodology of Research : Qualitative Research and Descriptive Research. Result of Research : 9 factors of success to propel ISOC’s mission are 1. human 2. ISOC’s strategy 3.effective integration of ISOC and other government’s agency. 4. ultimate using of Information technology. 5. sufficient allocation of budget and resources. 6 having master plan/action plan for ISOC’s personnel management. 7. ISOC’s popularity 8. developing to 3 goal (1) organization of strategy management (2 ) organization of specialist for internal security management. (3 ) organization of integration for government sector private sector and people sector 9. people’s confidence and faith for ISOC’s performance. The way to propel ISOC’s mission in 2020-2024 are separated into 2 section : first section 2020-2022 (3 years) and second section 2023-2024 (2 years). First section 2020-2022 (3 years) to support the National Security Strategy (NSS) (2018-2022) “adapt environment , ready to solve problem”, so ISOC is “develop factors, solve problem, integrate and propel mission”. That is to say develop factors : develop and reinforce 9 factors of success mentioned above, solve problem : solve problem obstructing mission, integrate and propel mission : integrate and propel mission according to the national Security Strategy (NSS) and ง government’s mission. Second section 2023-2024 (2 years) to support the national Security Strategy (NSS) “old problem is ended, no new problem”, so ISOC is “evaluate task , rectify , integrate and propel mission”. That is to say evaluate task : evaluate how well of task done in 2020-2022, rectify : rectify from evaluation, integrate and propel mission : integrate and propel mission according to the national Security Strategy (NSS) and government’s mission. In conclusion, there is suggestion for ISOC’s personnel management. It should be systematic and continuous performing so it will reinforce the efficiency of performance for ISOC in the end.