Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัด สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข : สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, (วปอ.9041)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก, (วปอ.9041)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดส านักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข : สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ทางการเงิน และประเมินการบริหารการเงินของโรงพยาบาล ในสังกัดส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2558 ถึง 2562 2) ศึกษาสาเหตุ ปัจจัยในความส าเร็จและความล้มเหลวของการ บริหารการเงินของโรงพยาบาล และ 3) เสนอแนวทางในการบริหารการเงินส าหรับโรงพยาบาล การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินจากข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลบัญชีโรงพยาบาล ในปีงบประมาณ 2558 ถึง 2562 การศึกษาสาเหตุและปัจจัยในความส าเร็จ/ ความล้มเหลวของการบริหารการเงิน ของโรงพยาบาลโดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารด้านการเงินระดับเขตสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข จ านวน 8 ราย และผู้บริหารด้านการเงินระดับโรงพยาบาล จ านวน 78 ราย การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และเก็บข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้ สถิติเชิงพรรณนาเป็น ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2558 ถึง 2562 สถานการณ์ด้านเงินของ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชน มีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนโรงพยาบาลทั่วไปกลับมีแนวโน้มแย่ลง การบริหารการเงินของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปพบว่าทุนส ารองมีแนวโน้มลดลง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การประเมินการบริหารการเงิน พบว่า แนวโน้มของภาวะ วิกฤติทางการเงินระดับ 7 ลดลงมาโดยตลอด โดยในปีงบประมาณ 2562 มีภาวะวิกฤติทางการเงิน ระดับ 7 ร้อยละ 1.89 ซึ่งผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด สาเหตุและปัจจัยความส าเร็จในการบริหารการเงิน ของโรงพยาบาลจากแบบสอบถามออนไลน์ พบความเห็น 2 อันดับแรกคือ ความถูกต้องและเป็น ปัจจุบันของการลงบัญชี (ร้อยละ 71.79) การบริหารแผนงบประมาณการเงิน มีการวิเคราะห์และ ท าแผนให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และความต้องการด้านสุขภาพ (ร้อยละ 66.67) สาเหตุและ ปัจจัยความล้มเหลวการบริหารการเงินจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ประเด็นหลัก คือการจัดสรร งบประมาณไม่เพียงพอ โดยเฉพาะงบเหมาจ่ายรายหัวของงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขาขึ้น การจัดสรรเงินรายหัวโดยวิธีการรวมค่าแรงของบุคลากรตลอดจนศักยภาพและการขาดภาวะ ผู้น าของผู้บริหารโรงพยาบาล ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางการบริหารการเงิน มีดังนี้ ควรมีการกระจายอ านาจ การบริหารการเงินให้เขตสุขภาพและจังหวัดให้มากขึ้น เปลี่ยนวิธีการจัดสรรเงินโดยการแยก เงินเดือนออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว การส ารองเงินช่วยโรงพยาบาลที่มีปัญหา การเพิ่มงบประมาณข ให้เขตสุขภาพ การส ารองเงินไว้บริหารร่วมโดยใช้บัญชีเสมือน และเพิ่มการบริหารการเงินร่วมกันใน เขตสุขภาพ

abstract:

Abstract Title Trends in financial management of the hospital under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health: Problems and policy recommendations Field Social- psychology Name Mr.Pitakpol Boonyamalik Course NDC Class 62 This study is qualitative research with the objectives of 1) studying the financial situation and assessing the financial management of the hospital under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health in the fiscal year 2015 to 2017, 2) studying the causes and factors of success/failure of hospital financial management, and 3) proposing financial management guidelines for the hospitals. Analyses of financial situations were done using secondary data from hospital accounting in the fiscal year 2015 to 2017. Studying the causes and factors of success/failure of hospital financial management was conducted by collecting data from a sample of 8 financial managers, working at the health region level and ministerial level, and 78 hospital-level financial executives. Qualitative data were collected by in-depth interviews, using structured interview forms and quantitative data were collected using online questionnaires. Data analyses were carried out using content analysis and descriptive statistics as percentages. The study results showed that during the fiscal year 2015 to 2017, the financial situation of the regional hospitals and community hospitals tended to improve, while the trend went worse for general hospitals. Regarding the financial management of hospitals, the reserve fund of regional and general hospitals tended to decrease. As for community hospitals, there was a trend to increase. Financial management assessments demonstrated that the tendency of the financial crisis at level 7 has been decreasing all the time. In the fiscal year 2017, there was a number of hospitals with financial crisis of level 7 of 1.8%, which passed the performance criteria. The reasons and the success factors in hospital financial management fromง online questionnaires were found in the top 2 opinions included the accuracy and current of accounting (71.7 percent) and the management of financial budget plans, having analyzed and made plans regarding the target group and health needs (66.67 percent). Causes and factors of financial management failure through in-depth interviews were identified, including inadequate budget allocation, especially capitation budget for the universal health coverage scheme, including of personnel salary into the capitation, and incapability and lack of leadership of hospital administrators. The policy recommendations for financial management are as follows: financial administration should be more decentralized to health regions and provinces; changing the method of budget allocating by excluding salary from the health capitation; setting a sharing fund to help hospitals with problems; increasing budgets for health regions; joint management using virtual accounts; and increasing joint financial management within health regions.