เรื่อง: แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC), (วปอ.9036)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง, (วปอ.9036)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC)
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาโครงข่ายการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง
ภายในพื้นที่ศึกษา 2)เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของระบบขนส่งทางรางและขนส่งสาธารณะในพื้นที่ศึกษา
และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในพื้นที่ศึกษา รวบรวมข้อมูลจาก
การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จ านวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
(Context Analysis) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สรุป
ผลการวิจัยได้ ดังนี้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนส าคัญซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องระบบคมนาคม
ขนส่งภายในจังหวัดชลบุรี สรุปเป็นโครงข่ายเสนอแนะการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งภายใน
จังหวัดชลบุรี1) พัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางจากสถานีรถไฟภายในจังหวัดชลบุรี 3 เมืองใหญ่ คือ เมือง
ชลบุรี เมืองศรีราชา และเมืองพัทยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเดินทางในพื้นที่ 2) ศึกษาและก าหนดกรอบ
การให้บริการและเส้นทางรถไฟฟ้าให้เชื่อมโยงการเดินทางภายในจังหวัด และตอบสนองความต้องการ
การเดินทางของประชาชนในพื้นที่ 3) การวางแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชน
(TOD) เพื่อเป็นการส่งเสริมการด าเนินธุรกิจในจังหวัด 4) การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
นั้น ควรมีการจัดรถประจ าทางสาธารณะเชื่อมโยงสถานที่รถไฟ สถานีรถไฟฟ้า เพื่อเข้าไปสู่พื้นที่เมือง
ชลบุรี เมืองศรีราชา และเมืองพัทยา 5) จัดระบบขนส่งสาธารณะในเมือง ให้เกิดการเดินทางที่สะดวก
ปลอดภัย และประหยัด ซึ่งจะท าให้ประชากรในเมืองมีความต้องการที่จะการเดินทางด้วยระบบขนส่ง
สาธารณะมากขึ้น อีกทั้งจะลดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคล ลดการใช้พลังงาน และยังเป็นผลให้สภาพ
อากาศของเมืองดีขึ้นอีกด้วย จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้แนวคิดในการพัฒนาระบบขนส่ง
สาธารณะให้สามารถรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการเดินทางของประชาชน เป็นการเชื่อมโยงการ
เดินทางแบบไร้รอยต่อ ระหว่างระบบคมนาคมขนส่งทางถนน ระบบคมนาคมขนส่งทางราง ระบบ
คมนาคมขนส่งทางน้ า และระบบคมนาคมขนส่งทางอากาศ โดยก าหนดให้โครงข่ายทางรางเป็นแกนการ
เดินทางหลักในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง และโครงข่ายรถไฟชานเมือง แล้วใช้ระบบขนส่ง
สาธารณะรองกระจายการเดินทางระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูงไปสู่พื้นที่เมืองต่างๆ ที่ส าคัญ รวมไปถึง
ระบบคมนาคมขนส่งทางน้ าในเมืองศรีราชา พัทยา และเมืองสัตหีบ ที่รองรับการเชื่อมโยงการเดินทาง
ทางน้ าระหว่างจังหวัดชลบุรีกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และการให้บริการเรือเฟอร์รี่ท่องเที่ยวไปยังเกาะ
ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
ข้อเสนอแนะ 1) แนวคิดในการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภูมิภาค และการเดินทาง
ระหว่างจังหวัด ควรมีโครงการรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train : HST) ที่เชื่อมทั้ง 3 สนามบิน
เป็นแนวแกนเส้นทางหลักในการเดินทางเชื่อมภูมิภาคระหว่างภาคมหานคร (BMR) กับเขตพัฒนาข
พิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อรองรับการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
รวมไปถึงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาให้มีประสิทธิภาพในการเดินทางทางอากาศของ
ประเทศไทยมากขึ้น และให้กลายเป็นเมืองการบิน และมีการพัฒนาท่าเรือในชายฝั่งทะเลของภาค
ตะวันออกให้สามารถรองรับการเดินเรือส าราญขนาดใหญ่และยกระดับให้ประเทศไทยเป็นฮับ
เรือส าราญ (Home Port) และมีการให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมเมือง (Commuter train) ที่มีรูปแบบ
ในการให้บริการเป็นทั้งฟีดเดอร์ของรถไฟความเร็วสูง และรองรับกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้
มีการเพิ่มสัดส่วนรูปแบบการเดินทางในระบบรางมากขึ้น 2) แนวคิดในการเชื่อมโยงภายในจังหวัด
ชลบุรีในการเชื่อมโยงระหว่างอ าเภอต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรีจะใช้โครงข่ายรถไฟฟ้าเชื่อมเมือง
(Commuter Train) เป็นเส้นทางหลัก (Backbone) ในการเดินทางเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ในแนวเหนือ
- ใต้ขนานกับเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 หรือถนนสุขุมวิท มีรูปแบบคมนาคมขนส่งรอง อาทิ
เช่น รถไฟฟ้ารางเบา (TRAM) รถเมล์โดยสาร (EV bus) เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่เมือง
แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่อุตสาหกรรม และสถานีรถไฟให้สามารถเดินทางหากันได้อย่างสะดวก
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Infrastructure Development in the Eastern
Economic Corridor (EEC)
Field Economics
Name Mr.Pongnara Yenying Course NDC Class 62
The study of guidelines for infrastructure development in the Eastern
Economic Corridor (EEC) aimed to 1) study the network of transportation systems
within the study area, 2) analyze problems of rail and public transport in the study
area and 3 ) study guidelines for the development of transport infrastructure in the
study area. Data were collected from in-depth interviews from 12 stakeholders and
analyzed by using content analysis and comparative analysis and synthesize relevant
theoretical information as well. The research results were summarized as follows:
from interviews with management and key stakeholders involved in the
transportation system in Chonburi Province, there was a suggested network for
connecting transportation systems within Chonburi Province including 1) developing a
connection point for traveling from the train station in 3 major cities of Chonburi
Province: Mueang Chonburi, Sriracha and Pattaya which was a travel hub in the area,
2) studying and settingup the service framework and mass rapid transit routes to connect a
travelling within the province and meet the travel needs of people in the area, 3)
development planning of the area around the mass rapid transit station or transit oriented
development (TOD) to promote business operations in the province, 4) connecting the area
by public transportation, there should be a public bus linking the railway station, the mass
rapid transit station to the area of Mueang Chonburi, Sriracha and Pattaya,5) organizing urban
public transport to create a convenient, safe and economical transportation that will drive
the urban population demand to travel by public transport. It will also reduce the number
of personal cars, reduce energy consumption and also improvethe weather condition of the
city. From the above research, the researcher had proposed the idea of developing a public
transport system in order to support the changing of public transportation to a seamless
travel connection between the road transport system, rail transportation system, water
transportation system and air transportation system by assigning the rail network to be the
main travel axis in the future whether it will be a high-speed train and the suburban train
network, then use secondary public transport system to distribute travelling between highspeed train stations to major urban areas, including water transportation systems in Sriracha,
Pattaya and Sattahip that supports water travel links between Chonburi Province and ง
Prachuap Khiri Khan Province and ferry services to various islands in the Chonburi Province
area as well.
The suggestions were as follow; 1 ) concept of inter-regional travel linkage
and travel between provinces, there should be a High-Speed Train (HST) project that
connects all 3 airports as the main route connecting the Bangkok Metropolitan
Region (BMR) with the Eastern Economic Corridor (EEC) to support tourism and the
industry in the future including the development the efficiency of air travel of UTapao International Airport to become an airport city and the development of ports
on the eastern seaboard to be able to support large-scale cruise ships, elevating
Thailand as a cruise hub (Home Port) and there should also be commuter train
service with both a feeder of high-speed trains service and supporting the
government's policy to increase the proportion of rail travel. 2) The concept of
internal linkage in Chonburi Province, in connection with the districts of Chonburi
Province, the commuter train network will be used as the main route (Backbone) to
connect the cities in the north - South line, parallel to the Highway No. 3 or
Sukhumvit Road, connecting travel between urban areas with tourist attraction,
industrial area and train stations to be able to travel to each other easily.