เรื่อง: แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกโฉนดที่ดินของรัฐโดยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑), (วปอ.9029)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวปาณี นาคะนาท, (วปอ.9029)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกโฉนดที่ดินของรัฐโดยใช้แบบแจ้งการ
ครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑)
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นางสาวปาณี นาคะนาท หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒
งานวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการ
ครอบครองที่ดินโดยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับ
การครอบครองที่ดิน มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการด าเนินคดีบุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ และ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ การพิสูจน์ความชอบด้วยกฎหมาย การด าเนินการบังคับคดีและ
การกระท าทางปกครอง และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดิน โดยการศึกษา
จากหนังสือ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ วิจัย รายงานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และจากผลการศึกษา พบว่า ปัญหาการครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบเกิดจากความเจริญทาง
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความเจริญทางวัตถุที่ประชาชนต้องการที่ดินเพื่ออยู่อาศัยในชุมชน
เมืองขยายไปสู่ชนบทและน าไปสู่การบุกรุกที่ดินด้วยการเข้าแผ้วถาง ก่นสร้าง พื้นที่ป่า เพื่อครอบครอง
ท าประโยชน์ และน าไปสู่การขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินด้วยการน าแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน
(ส.ค.๑) มาเป็นพยานหลักฐานไม่ว่าจะโดยการน าแบบการแจ้งการครอบครองจากที่หนึ่งมาสวมทับอีก
ที่หนึ่ง (ส.ค.๑ บิน) การสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จโดยการปลอม ส.ค.๑ หรือใช้เทคนิคในการแจ้ง
การท าประโยชน์ในแปลง ส.ค.๑ มาขอออกโฉนด หรือหนังสือรับรองการท าประโยชน์หลายครั้ง ทั้งนี้
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยการน า ส.ค.๑ ในรูปแบบต่างๆ มาเป็น
พยานหลักฐาน ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการครอบครองท าประโยชน์ในที่ดิน
ไม่ว่าจะเป็นทางอาญา หรือ ปกครอง เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว
จากปัญหาดังกล่าวจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินของรัฐโดยมิ
ชอบด้วยการแก้ไขกฎหมายที่ซับซ้อนกันให้เหลือเพียงฉบับเดียว เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความ
ชัดเจนในการบังคับใช้ ไม่เกิดปัญหาการซับซ้อนในการบังคับใช้ และรัฐควรบัญญัติบทก าหนดโทษ
ส าหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ละเลยในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ หรือทุจริต
ต่อหน้าที่ให้มีโทษที่หนักขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางอาญา ทางแพ่ง และทางปกครอง ในขณะเดียวกันรัฐควร
เร่งรัดให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกท าลายอย่างจริงจัง
เพื่ อเป็นก ารป ลูกจิตส านึกให้ป ระช าชน รักสิ่งแวดล้อม รักถิ่น ฐานที่อยู่อาศัย ไม่ท าล าย
ทรัพยากรธรรมชาติ และปลูกฝังให้ประชาชนรู้ถึงโทษของการท าลายทรัพยากรธรรมชาติ
abstract:
Abstract
Tiltle Problems-solving on state land invasion by applying the Claim Certificate
(S.K. 1) in order to issue land title deed.
Field Political Science
Name Miss Panee Nakanart Course NDC Class 62
This research is a qualitative research by studying deeply from text books,
academic journals, dissertations and reports on environment and natural resources.
Its objectives were to study: (1) Land tenure effected by the Claim Certificate (S.K. 1)
(2) Laws, concepts and theories relating to land possessory right. (3) Law
enforcement relating to state land invasion. (4) Legal problems relating to document
of title. (5) Proof of legitimacy (6) Execution (7) Administrative act (8) Remedies and
suggestions for land possessory right.
Findings of this research were that state land invasion was driven by the
growth of economically and social factors. The invasion exercise by community urban
to rural in order to take advantages. For that reason, they applied the Claim
Certificate evidence to issue land title deed illegally by various methods. For
example, as a result of legal gap, the applicant for a certificate of title is not entitled
to do so, but such people either applied the Claim Certificate to be an evidence in
order to issue land title deed on the other land or reused the Claim Certificate for
several times.
To find the right solution, clearly enforce the law, it needs to revise
duplicate land laws and gathering them being only one. The government should
regulate severe punishment provisions of law for government officials whose duty
due to natural resources that offence against the law or corrupt. In addition, the
government should intensify to educate the people considering the impact of natural
resources destruction.