เรื่อง: แนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน, (วปอ.9016)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์, (วปอ.9016)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
การศึกษาเรื่อง แนวทางพัฒนาการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนมี
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนในปัจจุบัน
2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนทั้งเชิงรุก
และเชิงรับ และ 3) ก าหนดแนวทางการเข้าถึงบริการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน โดยรวบรวม
ข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจาก
ประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์
ผู้บริหารสถานประกอบการ ผู้บริหารสถานพยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รวมจ านวน 20 คน
และผู้ประกันตน จ านวน 500 คน และใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mix method) เชิงคุณภาพเป็นหลัก และ
น าข้อมูลเชิงปริมาณมาสนับสนุนในประเด็นที่ส าคัญเพิ่มเติม สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน
ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 9,886,968คน โดยเป็นผู้ใช้บริการในกรณีเจ็บป่วย 7,952,131 คน
รองลงมาคือ กรณีสงเคราะห์บุตร จ านวน 1,364,110 คน กรณีชราภาพ (บ านาญ) จ านวน 256,214คน
กรณีว่างงาน 170,144 คน กรณีชราภาพ (บ าเหน็จ) จ านวน 68,283 คน กรณีคลอดบุตร จ านวน
67,870 คน กรณีตาย จ านวน 7,709 คน และกรณีทุพพลภาพ จ านวน 507 คน ในปี 2563 มีสถาน
ประกอบการรวมทั้งสิ้น 486,829 แห่ง และมีจ านวนสถานพยาบาลโครงการประกันสังคมเป็น
สถานพยาบาลหลัก 242 แห่ง และสถานพยาบาลเครือข่าย 2,210 แห่ง ส าหรับปัญหาและอุปสรรคใน
การพัฒนาการเข้าถึงบริการการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนทั้งเชิงรุกและเชิงรับได้แก่ 1) ปัญหาการ
ใช้สิทธิรับบริการทางการแพทย์ 2) ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และ 3) ปัญหามาตรฐาน
การให้บริการทางการแพทย์ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถก าหนดแนวทางการพัฒนาการเข้าถึง
บริการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตน โดยใช้หลัก “ปรับ 2 เพิ่ม 2 พัฒนา 1” ดังนี้1) ปรับปรุงกฎหมาย
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) ปรับปรุงมาตรฐานของสถานพยาบาล/โรงพยาบาล 3) เพิ่มประสิทธิภาพการ
ให้บริการของส านักงานประกันสังคม 4) เพิ่มการประชาสัมพันธ์และ 5) พัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการ
ผู้ประกันตน
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ควรปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น การก าหนด
อัตราการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ การขยายสิทธิประโยชน์ในกฎหมายประกันสังคม การ
รักษาพยาบาลให้ครอบคลุมไปถึงครอบครัวของผู้ประกันตน เป็นต้น
abstract:
Abstract
Title Development Guidelines on Access to Health Care Services of
Insured Person
Field Social Psychology
Name Mr.Boonsong Thapchaiyuth Couse NDC Class 62
The study of development guidelines on access to health care services of
insured person aimed to 1) study current situation of health care services access of
the insured person, 2 ) study the problems and obstacles in the development of
health care services access of insured person both proactively and defensively, and
3) determine the guidelines for access to health care services of insured person by
collecting secondary data from research, academic documents and related literature
including documents from the code of law and articles of relevant experts as well as
primary data from interviews with a total of 20 establishment executives, health care
provider administrators and relevant officers and 500 insured persons. This research
used a qualitative mix method mainly and bringing quantitative data to support more
important issues. The results of the study were as follows:
The results showed that the current situation of access to health care services
of insured persons, there were a total of 9,886,968 users, of which 7,952,131 were the
service users in case of sickness, followed by 1,364,110 in case of child allowance, 256,214
in case of old age (pension), 170,144 in case of unemployed, and 68,283 in case of old age
(gratuity), 6 7,8 7 0 in case of maternity, 7,7 0 9 in case of death and 5 0 7 persons with
disabilities. In the year 2020, there were a total of 486,829 establishments with 242 main
contractors as social security hospitals and 2 ,2 1 0 subcontractors. For problems and
obstacles in development guidelines on access to health care services of insured
person, both proactively and defensively, including 1) problems of exercising rights to
receive medical services, 2) problems of accessing medical services, and 3) problems of
standardized medical services. The results of this research could define guidelines for
developing access to health check-up services for insured persons by using the
principles of “Adjust 2, Add 2, Develop 1” as follows: 1) improve the law and related
regulations, 2) improve the standard of hospitals, 3) increase the efficiency of services
of the Social Security Office, 4) increase public relations activities and 5) develop
personnel for insured person services.
Suggestions based on research findings, there should improve the law and
relevant regulations such as the determination of the lack of income compensation rate
and the extension of benefits for the medical treatment coverage to the family of the
insured person in the Social Security Law, etc.