Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: รูปแบบการพัฒนาบริหารจัดการคลินิกหมอครอบครัว เพื่อความมั่นคงด้านระบบบริการสุขภาพ, (วปอ.8979)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายธงชัย กีรติหัตถยากร, (วปอ.8979)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง รูปแบบการพัฒนาบริหารจัดการคลินิกหมอครอบครัว เพื่อความมั่นคง ด้านระบบบริการสุขภาพ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายธงชัย กีรติหัตถยากร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาบริหารจัดการคลินิกหมอครอบครัว เพื่อความมั่นคง ด้านระบบบริการสุขภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี รูปแบบการบริหาร ผลการ ด าเนินงาน ปัญหา เพื่อก าหนดรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการคลินิกหมอครอบครัว เพื่อความ มั่นคงด้านระบบบริการสุขภาพ มีการด าเนินการวิจัยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ, การสังเกต, การสนทนากลุ่ม จากทั้งกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคลินิกหมอครอบครัว ผู้ให้บริการ ทุกระดับ ผู้บริหารระดับอ าเภอ ระดับจังหวัด, การสัมภาษณ์เชิงลึกได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหลายจังหวัด (โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ เทศบาลเมืองวารินช าราบ) และกลุ่มองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานจริง โดยพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ อ าเภอวารินช าราบ จังหวัดอุบลราชธานีการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้แนวคิด 7S Model ของแมคเคนซี่ ผลการวิจัยพบว่า ทีมหมอครอบครัวยังขาดความรู้และทักษะในการบริหาร ขาดการมีส่วนร่วม ขาดการบูรณาการท างานกับหน่วยงานอื่น ขาดการคืนข้อมูลสู่ชุมชน ขาดการ ประสานงานที่ดี และงบประมาณไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วย บริการ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพในการบริการปฐมภูมิที่ไม่เพียงพอ ทีมสหวิชาชีพ ในระบบบริการปฐมภูมิในปัจจุบัน ขาดสมรรถนะในการดูแลสุขภาพประชาชนแบบองค์รวม รวมถึง การท างานในระดับครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นภารกิจส าคัญของคลินิกหมอครอบครัว กลไกสร้าง แรงจูงใจให้กับทีมสหวิชาชีพในระบบบริการปฐมภูมิภาครัฐในการท างานเชิงรุก ด้านเทคโนโลยี ทางการแพทย์ ได้แก่ มีการจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ภายใต้กรอบบัญชียาของโรงพยาบาลแม่ข่าย (ลักษณะยา ขนาด รูปแบบ จากบริษัทยาเดียวกัน) เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและไม่เกิดความรู้สึก แตกต่าง การบริการยังไม่สามารถท า Lab X-ray ได้ขาดการมีส่วนร่วมของการบริหารจัดการคลินิก หมอครอบครัวที่ประกอบด้วยทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อน ขาดกลไกลสร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ และประชาชนในการด าเนินงาน งบประมาณไม่สนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นให้มีการส่งเสริม ป้องกันโรค และมีข้อเสนอแนะ เช่น ควรมีส่วนร่วมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ใช่เฉพาะกระทรวง สาธารณสุข สนับสนุนทรัพยากร ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรงบประมาณ ทรัพยากรอุปกรณ์ เช่น การตรวจ Lab การ X-ray เป็นต้น ให้มากขึ้น ให้มีการลงทะเบียนครอบครัว น าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เน้นการเยี่ยมบ้าน และการส่งเสริม ป้องกันโรค

abstract:

Abstract Title : The development model of primary care cluster management for health security system Field : Social - Psychology Name : Mr. Thongchai Kiratihuttayakorn Course NDC Class 62 The development model of primary care cluster management for health security system was studied. The objectives of research were to study the thinking process, theory, system, the operating results problem and desired characteristics of primary care cluster management to effectly comply with the Ministry of Health’s policy, under the context of the nation’s 20 years strategy. This study was conducted in Warinchumrap district, Ubonratchathani province. The participants were family physician, health care providers, and district and province administrator. The in-depth interview was applied for all participants. The data were analyzed follow by the Seven Elements of the McKinsey 7-S Framework. The results found that cause of problem and the development as follow vary of health service department, lack of the data link, inadequate of family physicians and health care providers, inadequate of present core competency of holistic health care in family care team, and working in family and community degree which the main important mission of primary care cluster. Motivation building for proactive behavior in family care team should conduct. For the medical technology, the medicine and medical supply management from the hospital hub was applied. Laboratory and X-ray cannot test at primary care cluster. The lack of participate and management of network partners. The lack of motivation building in staff and people for implementation. The adequate of budget for health promotion and disease prevention. The suggestion as follow the participation from all network, human resource, budget and material such as lab testing and X-ray test. The family registered should implement. The information technology should apply. Home visit, health promotion and disease prevention should concentrate.