เรื่อง: แนวทางการป้องกันและต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบผสม, (วปอ.8971)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. ทรงวิทย์ หนุนภักดี, (วปอ.8971)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการป้องกันและต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบผสม
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลตรี ทรงวิทย์ หนุนภักดี หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
การวิจัยเรื่อง แนวทางการป้องกันและต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบผสม เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อศึกษารูปแบบของภัยคุกคามรูปแบบผสมในบริบทของประเทศไทย ในห้วงเวลา 20 ปี (2542 -
2562) และ 2. เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบผสมในประเทศไทย
ดำเนินการวิจัยโดยการรวบจากเอกสารวิชาการ ด้านยุทธศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภัย
คุกคามรูปแบบผสม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน
ข้าราชการในระดับผู้กำหนดนโยบายและนักการทหารที่มีประสบการณ์เรื่องภัยคุกคามรูปแบบผสม
ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน และนำ
บทสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์จึงทำให้ทราบถึงรูปแบบของภัยคุกคามแบบผสม
ที่หลากหลายในประเทศไทย ซึ่งมีวิวัฒนาการตามเทคโนโลยีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้นทั้งในระบบ
เศรษฐกิจและสังคม สำหรับเป้าหมายที่จะถูกกระทำนั้น สามารถถูกกระทำได้ทุกรูปแบบโดยมีการ
ประสานสอดคล้องของผู้กระทำ ซึ่งต้องการก่อให้เกิดความสับสนและไม่สามารถที่จะตอบโต้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยไม่ใช้กำลังขนาดใหญ่ในการรบปะทะ หากเพียงแต่ใช้เครื่องมือในการคุกคามอย่าง
ประสานสอดคล้อง นำผลการดำเนินการมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการป้องกันและต่อต้าน
ภัยคุกคามรูปแบบผสมนี้ ทำให้ทราบว่าประเทศไทย มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีกระบวนการ
ด้านการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแบบองค์รวม แต่สำหรับภัยคุกคามรูปแบบผสมนี้ ยังไม่มีหน่วยงานใด
ที่เป็นผู้นำในการบูรณาการงานการป้องกันและเฝ้าระวัง ภัยคุกคามรูปแบบผสมนี้อย่างเป็นทางการ
สำหรับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีองค์ความรู้ในการทำความเข้าใจภัยคุกคามรูปแบบ
ผสมนี้อย่างถ่องแท้
จากการวิจัยนี้ ทำให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงแนวทางการป้องกันและต่อต้านภัยคุกคาม
รูปแบบผสม ในเชิงนโยบาย ซึ่งรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับภัยคุกคามรูปแบบผสม และมีองค์กร
รับผิดชอบอย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยคุกคามแบบผสมในรูปแบบ
ต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติเข้ารับการฝึกอบรมให้มีความรู้เฉพาะทางในการ
เตรียมการรับมือภัยคุกคามรูปแบบผสม ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ความร่วมมือข
ระหว่างประเทศในการเฝ้าระวัง และการใช้กฎหมายที่เข้มข้นในขั้นปกติเพื่อป้องกันภัยคุกคามรูปแบบ
ผสมไม่ให้เกิดขึ้นประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
abstract:
Abstract
Title Guidelines for prevention and countering Hybrid Threats
Field Strategy
Name Maj.Gen. Songwit Noonpakdee Course NDC Class 62
The research on guidelines for prevention and countering hybrid threats
have two objectives: First, to study the pattern of hybrid threats under the context of
Thailand in twenty years (1999 – 2019) and Second, to propose the ways to prevent
and counter hybrid threats in Thailand.
This study is a qualitative research which consisting of documentary
research and in-depth interviews which will be conducted by collecting the technical
documents in strategy, theoretical concepts that related to hybrid threats and in-depth
interviews with the key informants such as experts from the private sector, civil servants
in the policy-making level and military specialists with experienced in hybrid threats.
The researcher conducted this research by in-depth interview with seven
experts and analyzed the interviews according to the objectives which allowed us to
understand the pattern of hybrid threats in Thailand that has been evolved along with
technology and was modernized in the economy and society. By targeting towards
vulnerabilities of the opponent, an actor will synchronize multiple instruments of power
simultaneously and intentionally to cause confusion and unable to respond back
effectively under the process to avoid an encounter.
The analysis on the cause of actions to find the way to prevent and
counter the hybrid threats showed that Thailand has the 20-year national strategic
plan which has a holistic security solution process but for this hybrid threats, none of
any organization show an interest to lead in the integration of prevention and
surveillance of the hybrid threats. For the private sector and related agencies, there
is still a minor understanding on the hybrid threats.
This research enlightens the researcher on the way to prevent and counter
hybrid threats in form of policy which the government should set it to the high
priority and have the organization that systematically responsible for the preparation
to respond on hybrid threats in various forms at all times. It requires the officer to be
trained on the knowledge and expertise in preparing to respond with hybrid threats,
promoting the process on public cooperation, raising the awareness for international
cooperation, and strengthening the law to be more effective in preventing hybrid
threats to occur in Thailand.