เรื่อง: การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 กรณีศึกษา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, (วปอ.8970)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ, (วปอ.8970)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 กรณีศึกษา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62
ปัญหาคุณภาพอากาศเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของ
เขตเมือง การเร่งสร้างปริมาณการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและการ
บริการ รวมถึงการบริโภคที่ส่วนใหญ่ยังไม่ค านึงถึงมลพิษที่จะส่งผลกระทบต่อส่วนรวมเท่าที่ควร โดย
ฝุ่นละอองเป็นมลพิษทางอากาศที่ส าคัญของประเทศที่ต้องเร่งรัดแก้ไขปัญหา เนื่องจากส่งผลกระทบ
ต่อหลายพื้นที่ อาทิ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล ก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชน และ
มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นปัญหาส าคัญไปยังจังหวัดข้างเคียงในภูมิภาคอีกด้วย โดยแหล่งก าเนิด
ฝุ่นละอองที่ส าคัญ ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การจราจรขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และหมอกควันข้ามแดน
การศึกษาครั้งนี้ ได้ด าเนินการวิเคราะห์ปัจจัยความส าเร็จ และปัญหาอุปสรรคในการ
ด าเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการด าเนินงานตามแผนปฏิบัติ
การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” โดยมุ่งหวังให้ได้ข้อเสนอแนะ
มาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในทุกมิติ
ข้อเสนอมาตรการรับมือกรณีวิกฤติฝุ่นละอองที่ได้จากการศึกษา อาทิ การใช้มาตรการ
จูงใจให้หน่วยงานต่าง ๆ ด าเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหา
มลพิษด้านฝุ่นละออง” ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในอ านาจอย่างเข้มงวด การสร้างการ
รับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นช่วงที่ไม่มีวิกฤติฝุ่นละอองแล้ว
การจัดตั้งทีมประชาสัมพันธ์ร่วมที่มาจากหน่วยงานต่าง ๆ และโฆษกเหตุการณ์ การสนับสนุนการใช้
ระบบขนส่งสาธารณะ/รถยนต์ไฟฟ้า หรือทางเลือกอื่นที่ไม่ก่อมลพิษ การบูรณาการรายงานข้อมูลที่
ถูกต้องและเป็นเอกภาพ การลดหย่อนภาษีหน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ รวมทั้งอุปกรณ์ทาง
การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงข้อเสนอด้านโครงสร้างและ
กฎหมายรับมือกรณีวิกฤติฝุ่นละออง เพื่อยกระดับการบัญชาการสั่งการในภาวะวิกฤติฝุ่นละออง โดย
การใช้กฎหมายที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การด าเนินงานแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพ และ
สามารถลดและบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนได้
abstract:
Abstract
Title Mitigation Measures for PM2.5 in Bangkok Metropolitan
Field Science Technology Energy and Environment
Name Mr. Thalearngsak Petchsuwan Course NDC Class 62
Air pollution, as a result of the economic development, urban expansion,
mass productions of manufacturing and service sectors, and the low awareness on
environmentally friendly consumption, becomes one of environmental problems in
Thailand. Particulate matter is a major air pollution that urgently needs to be solved.
It affects many parts of Thailand including the Northern, Central and Northeastern
Region as well as Bangkok metropolitan area. The major sources of particulate matter
are open burning, transportation, industrial sector, and transboundary haze pollution.
Its impact is not only on the environment, economy, and public health of Thailand,
but also tends to become a serious issue in ASEAN Region as it can move across
border and being known as transboundary haze pollution.
The keys of success and failure as well as relevant measures and policies
was analysed in this study. In particular, the implementation of the Action Plan for
driving National Agenda on Mitigation of Particulate Matter was focused to develop
measures for improving efficiency of particulate matter mitigation in all of its
dimensions.
The suggested measures to mitigate the PM2.5 crisis in Bangkok
Metropolitan from the study consist of the incentives for agencies to implement the
Action Plan for driving National Agenda on Mitigation of Particulate Matter and the
strong enforcement of law and regulation. Beside this, raising awareness and giving
knowledge to people before and during the crisis period, establishing a public
relations team from various departments, appointing a spokesperson, supporting the
use of public transport/ electric vehicles or environmentally friendly products and,
applying tax mechanisms for air pollution prevention equipments such as masks, air
purifiers and medical devices are also the key suggestion. In addition, to effectively
deal with the haze crisis, the information should be reliable and unity, and
appropriated laws and regulation should be applied.