เรื่อง: บทบาทกองทัพเรือด้านความมั่นคงทางทะเลในประชาคมอาเซียน, (วปอ.8963)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ร.ต.ดนัย สุวรรณหงษ์, (วปอ.8963)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง บทบาทกองทัพเรือด้านความมั่นคงทางทะเลในประชาคมอาเซียน
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พลเรือตรีดนัย สุวรรณหงษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๒
ประชาคมอาเซียนนั้นเกิดขึ้นจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ที่ตกลงกันว่าจะสร้างความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและมั่นคง เป็นประชาคมที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคาม
ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยความร่วมมือ ๓ เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคง
อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งกองทัพเรือในฐานะ
หน่วยงานหลักด้านความมั่นคงทางทะเล จ าเป็นต้องก าหนดบทบาทน าอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้สนองตอบ
ต่อวิสัยทัศน์ ที่ว่า “เป็นหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล ที่มีบทบาทน าในภูมิภาค และเป็นเลิศ
ในการบริหารจัดการ” และสอดคล้องกับการเป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักด้านประชาคมความมั่นคง
อาเซียน โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทางทะเลของประชาคม
อาเซียนในอนาคต และเสนอแนวทางการก าหนดบทบาทของกองทัพเรือด้านความมั่นคงทางทะเลใน
ประชาคมอาเซียนได้อย่างเป็นรูปธรรม ด าเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลทุติยภูมิ
จากแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยตลอดจนเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเล
ในประชาคมอาเซียน และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในบริบทของความมั่นคงทางทะเล หลังจากนั้นจึงท าการวิเคราะห์
เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ร่วมกันเพื่อน าไปสู่ผลการวิจัยและข้อยุติ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันความมั่นคงร่วมกันของประเทศอาเซียนประสบผลส าเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรมและประสิทธิภาพสูงสุดในหลายเรื่อง สอดรับกับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ซึ่งความส าเร็จด้านความมั่นคงร่วมดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของชาติสมาชิก
ทั้งนี้ ปัจจัยเรื่องของความแตกต่างทางการเมือง ภาษา และวัฒนธรรมของชาติสมาชิกมิได้เป็น
อุปสรรคของความส าเร็จ จึงสอดคล้องกับแนวคิดของนักวิชาการแนวสัจนิยมใหม่ อย่าง ศาสตราจารย์
ราฟ เอมเมอร์ส และ มุมมองเสรีนิยมใหม่ อย่าง ศาสตราจารย์ ดอน เอ็มเมอร์สัน ที่มองว่า อาเซียน
เป็น “ระบอบความมั่นคง” แล้ว ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาด้านความมั่นคงทางทะเลร่วมกันของ
ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน พบว่าปัญหาต่าง ๆ ที่ทุกชาติต้องเผชิญร่วมกัน ได้แก่ ภัยคุกคามตามแบบ
หรือภัยคุกคามแบบดั้งเดิม คือ ปัญหาความขัดแย้งการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะและเขตแดน
ทางทะเลที่ยังตกลงไม่ได้และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ได้แก่ ปัญหาการก่อการร้ายทางทะเล ปัญหาโจร
สลัดและการปล้นทางทะเล ปัญหาการกระท าผิดกฎหมายทางทะเล และปัญหาภัยธรรมชาติและ
อุบัติภัยทางทะเล ดังนั้น กองทัพเรือจึงควรก าหนดบทบาทน าต่อปัญหาภัยคุกคามต่าง ๆ ข้างต้น ดังนี้
ปัญหาความขัดแย้งในหมู่เกาะสแปรตลี่ย์และปัญหาการก่อการร้ายทางทะเล ทั้งสองปัญหานี้เป็น
เรื่องละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับประเทศมหาอ านาจและการเมือง กองทัพเรือจึงควรริเริ่มบทบาท
ด้วยการเปิดประเด็นทางวิชาการในลักษณะของการก าหนดหัวข้อประชุม/สัมมนา/หารือ เกี่ยวกับ
เรื่องดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้กองทัพเรือประเทศต่าง ๆ ได้แสดงท่าที ความคิดเห็น และจุดยืนข
ของตนเอง ส่วนปัญหาความปลอดภัยในช่องแคบมะละกา ในปัจจุบันกองทัพเรือเป็นหนึ่งใน ๔ ชาติ
สมาชิกได้มีการจัดให้มีการร่วมลาดตระเวนทางทะเลภายในช่องแคบมะละกาอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม
กองทัพเรือยังมีโอกาสที่จะริเริ่มบทบาทในประเด็นอื่น ๆ ได้อีก เช่น จัดการฝึกผสมและการฝึกร่วม/
ผสมทางทะเล เพื่อแก้ไขเหตุการณ์กรณีโจรสลัดและการปล้นเรือ อุบัติภัยและอุบัติเหตุทางทะเล
รวมทั้งอันตรายจากการรั่วไหลของคราบน้ ามันที่จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
และระบบนิเวศน์ทางทะเลและชายฝั่งภายในช่องแคบมะละกาด้วยการจัดการฝึกและจัดตั้งศูนย์ฝึก
ขจัดคราบน้ ามันขึ้นที่กองทัพเรือ หรือศูนย์กู้ซ่อมเรือจมทะเล ส่วนปัญหาการกระท าผิดกฎหมาย
ทางทะเลนั้น กองทัพเรือควรแสดงบทบาทด้วยการเน้นย้ าให้กองทัพเรืออาเซียนได้ตระหนักถึง
ความส าคัญของปัญหาเหล่านี้ พร้อมทั้งสนับสนุนให้แก้ปัญหาด้วยการท าข้อตกลงแบบทวิภาคี
ส่วนบทบาทกองทัพเรือในปัญหาภัยธรรมชาตินั้นถือว่าเป็นบทบาทหลักที่กองทัพเรือควรแสวงบทบาท
น าด้วยการจัดตั้งศูนย์ฝึกการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติและการจัดตั้งกองเรือ
เฉพาะกิจช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยอาเซียน ซึ่งจะท าให้กองทัพเรือของอาเซียนได้ตระหนัก
ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับอันเป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนอาเซียนโดยตรง อย่างไรก็ตาม
มีข้อเสนอแนะ คือ กองทัพเรือจะต้องริเริ่มและช่วงชิงโอกาสดังกล่าวก่อนกองทัพเรือประเทศอื่น ๆ
ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม รวมทั้งต้องศึกษารายละเอียดเชิงลึก (ระดับยุทธวิธี)
ถึงรูปแบบโครงสร้างและการจัดก าลังกองเรือเฉพาะกิจช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยอาเซียน
ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
abstract:
Abstract
Title The roles of the Royal Thai Navy to maritime security in Southeast Asia
Field Military
Name Rear Admiral Danai Suwannahong Course NDC Class 62
The ASEAN Community is established from the cooperation of the
member states in Southeast Asia that agreed to establish strong and stable
cooperation. To become a community that can deal effectively with threats.
Consisting of 3 pillars is the ASEAN Political and Security Community (APSC), ASEAN
Economic Community (AEC), and ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC). Royal Thai
Navy (RTN) as the main unit of maritime security is necessary to define a concrete
leadership role in response to the vision that "As maritime security leading role in the
region and excellence in management" and consistent with being part of the pillar of
the ASEAN Political and Security Community (APSC). The research objectives to study
the maritime security environment of the ASEAN Community in the future and
propose concrete guidelines on defining the role of RTN on maritime security in the
ASEAN Community. Conducting qualitative research by collecting secondary
information from concepts theories, research works, and documents related to
maritime security in the ASEAN community and primary information from in-depth
interviews who are involved in the responsibility of international relations in the
context of maritime security. After that, a comparative analysis was performed and
synthesize together to lead the research findings and conclusions
The research results show that at present, the mutual security of ASEAN
countries has achieved concrete results and the highest efficiency in many things.
Correspond to both present and future threats. The achievements in joint security
are based on the common interests of member states. The factors of political,
language, and cultural differences of member nations are not an obstacle to their
success. Therefore, it complies with the concept of the new realism like Professor
Ralph Ammer and the new liberalism viewpoint of Professor Don Emmerson, who
sees ASEAN as a "security regime". However, when analyzing the common maritime
security problems of the ASEAN countries. It was found that the problems that all
nations face together are typical threats or traditional threats. It is a dispute, claiming
ownership over islands and unacceptable maritime boundaries. And new threats
Including of the problem of maritime terrorism, the problem of pirate and robbery at
sea, the problem of maritime offense, and the problems of natural disasters and ง
accidents at sea. Therefore, RTN should determine a leading role in all of the threats
as follows: The conflict in the Spratly Islands and the problem of maritime terrorism.
Both of these issues are sensitive and relevant to the great powerful countries and
politics. RTN should initiate this role by opening academic issues in the form of
meeting/seminar/discussion topics. About the matter to provide opportunities for the
navies to express their attitude, opinion, and standpoint. Most of the safety issues in
the Malacca Strait. Currently, RTN is one of the four-member states and has already
organized a joint patrol on the sea within the Straits of Malacca. However, RTN still
has the opportunity to initiate roles in other points. Such as organizing joint military
exercises and combined / joint maritime exercises to resolve the incidents of a
pirate, robbery, and accidents at sea. Including the dangers of an oil spill that will
affect the natural resources, environment, and marine / coastal ecosystems within
the Malacca Strait by organizing training and setting up an oil removal training center
at RTN or a sunken ship repair center. As for the problem of illegal fishing, RTN
should perform this role by emphasizing the importance of the ASEAN navies on
these issues and encouraged to resolve the problem through bilateral agreements.
The role of the Navy in the problem of natural disasters is considered to be a key
role that RTN should perform a leading role by establishing a training center for
Humanitarian Assistance / Disaster Relief (HA/DR) and the establishment of an ASEAN
Humanitarian Assistance / Disaster Relief Task Force. This will make the ASEAN navies
realize the benefits that will be benefited directly to the people of ASEAN. However,
it is suggested that RTN must take the initiative and seize the opportunity before any
other navies. It is supported by the government and the Ministry of Defense.
Including having to study in-depth details (Tactical level) about the model, structure,
and organization for further effectiveness of an ASEAN Humanitarian Assistance /
Disaster Relief Task Force.