เรื่อง: การใช้เงินกู้ต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตามยุทธศาสตร์ชาติ, (วปอ.8943)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล, (วปอ.8943)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2562
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้เงินกู้ต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตามยุทธศาสตร์ชาติ
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่62
การวิจัยเรื่องการใช้เงินกู้ต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตาม
ยุทธศาสตร์ชาติ มีวัตถุประสงค์ขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางและกลยุทธ์การจัดหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
ต้นทุนและเงื่อนไขการกู้เงิน และขั้นตอนการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ
ประเทศ และเพื่อศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาเศรษฐกิจและความต้องการใช้เงินกู้เพื่อสนับสนุนการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยการขอใช้เงินกู้ต่างประเทศจากแหล่งเงินกู้ทางการ อีกทั้งเพื่อ
เสนอแนะนโยบายและแนวทางการกู้เงินต่างประเทศ รวมถึงการบริหารหนี้สาธารณะและจัดการ
ความเสี่ยงจากแหล่งเงินกู้ทางการภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากทฤษฎีและข้อมูลทุติยภูมิ โดย
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ
จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีปัญหาความต้องการแหล่งเงินลงทุนในการใช้เงินกู้เพื่อ
สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจอันเกิดจากข้อจ ากัดด้านงบประมาณ โดยโครงการที่เหมาะสมกับการก่อ
หนี้ต่างประเทศควรเป็นโครงการที่มีลักษณะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมสูง ซึ่งแนวทางการ
จัดหาแหล่งเงินกู้นั้น จะพิจารณาถึงความเหมาะสม ต้นทุน และเงื่อนไขการผ่อนปรนจากแหล่งเงินกู้
ทางการ อีกทั้งต้องมีการจัดการความเสี่ยงของการกู้เงินทั้งในและต่างประเทศ ทั้งด้านการคลัง ความ
เสี่ยงทางการเงิน และประเมินผลกระทบภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ต่อต้นทุน โดยใช้วิธีการปิดความ
เสี่ยงด้วยการท าธุรกรรมแปลงหนี้จากสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท หรือการใช้วิธีการกู้
เงินใหม่เพื่อช าระหนี้เงินกู้เดิม
จากผลการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ประการแรก ควรพิจารณาลดขั้นตอนที่
ซ้ าซ้อนและใช้ระยะเวลาให้น้อยลงในกระบวนการกู้เงินต่างประเทศ ประการต่อมาควรพิจารณาเลือก
เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงหนี้ต่างประเทศให้เหมาะสม ควรพิจารณาแหล่งเงินกู้
ต่างประเทศที่เป็นแหล่งเงินกู้ทางการ และพิจารณาแหล่งเงินกู้ที่ให้เงื่อนไขการกู้เงินที่ดีต้นทุนที่
เหมาะสม อายุเงินกู้ที่ยาว และระยะเวลาปลอดหนี้ รวมถึงพิจารณาผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในแง่เชิง
เศรษฐศาสตร์นอกจากนี้แล้ว การกู้เงินต่างประเทศจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับแหล่งเงินกู้ทางการและรัฐบาล
ต่างประเทศไปพร้อมกัน
abstract:
Abstract
Title The Use of Foreign Loans to Support Economic and Social Development According
to the National Strategy
Field Economics
Name Mrs. Jindarat Viriyataveekul Course NDC Class 62
The objectives of this research were : 1) To study guidelines and strategies for
providing foreign currency sources of borrowing , costs of borrowing, terms and
conditions of concessional loan and borrowing process to support investment in nation
infrastructure project. 2) To study and analyze economic problems and demand for
external loan to support economic and social development byexternal borrowing from
official development sources. 3) In additions, to recommend policies and guidelines for
foreign currency borrowings as well as public debt management and risk management
from official development sources at reasonable costs and is in line with current financial
circumstances. This research is a qualitative research. The methodology includes both
primary and secondary data collection and analyzed by statistical programs.
The research results found that Thailand has problems on the need for
investment capital which results from the budget limitation to support economic and
social development for infrastructure projects. The projects that are suitable for
incurring foreign debt should have high economic and social returns. The approach to
financing the borrowing need should be preliminary based on loan lending sources at
reasonable cost terms and conditions. Risk management to mitigate foreign country
exposure under Medium-Term Debt Management Strategy (MTDS) has been
implementing such as cross currency swap to hedge the uncertainty from foreign
exchange rate risk exposure.
The research gives three recommendations. Firstly, the external borrowing
procedure should be shortened in order to facilitate the project policy. Secondly,
currency risk management tool should be considered appropriately. Thirdly, mutual
benefit and sustainable cooperation between lending sources and government should be
considered.