Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การสร้างภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหารกองทัพบกเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว, (วปอ.8931)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พล.ต. โกศล ชูใจ, (วปอ.8931)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหารกองทัพบกเพื่อ เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลตรี โกศล ชูใจ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างภาพลักษณ์ของแหล่ง ท่องเที่ยวทหาร ศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพบริการของประชาชนผู้เข้าไปท่องเที่ยว ภายในค่ายทหาร และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บริการในการท่องเที่ยว ในค่ายทหาร ในการน าไปพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการดีที่เพื่อสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ดี ใช้วิธีการวิจัยเชิงส ารวจจากแบบสอบถามประชาชนที่มาท่องเที่ยว จ านวน 400 ชุด เพื่อท าการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานความแตกต่าง ระหว่างคาดหวังและการรับรู้ของประชาชน โดยใช้สถิติวิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการทดสอบ ตัวแปร 2กลุ่ม (Paired T-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (Analysis of Variance: ANOVA) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ณ ระดับนัยส าคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าประชาชนที่มาท่องเที่ยวในค่ายทหารมีความคาดหวังในระดับสูงมาก ในทุกมิติของคุณภาพบริการ และมีการรับรู้คุณภาพบริการในระดับสูงมากในด้านความเป็นรูปธรรม ของบริการ และด้านการให้ความมั่นใจ นอกจากนั้นในด้านความเชื่อถือ ด้านการตอบสนอง ความต้องการอย่างรวดเร็ว และด้านการเข้าใจความต้องการของประชาชนที่มาท่องเที่ยวในค่ายทหาร มีการรับรู้คุณภาพบริการอยู่ในระดับสูง และเมื่อทดสอบสมมติฐานความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพ บริการของประชาชนที่มาท่องเที่ยวในค่ายทหาร พบว่าประชาชนที่มาท่องเที่ยวในค่ายทหารมี ความคาดหวังมากกว่าการรับรู้ในทุกด้านของคุณภาพบริการ เนื่องจากประชาชนที่มาท่องเที่ยวในค่าย ทหารมีความคาดหวังก่อนการมาใช้บริการในระดับสูงมาก และเมื่อมาใช้บริการมีการรับรู้ในระดับที่สูง แต่น้อยกว่าความคาดหวังที่มี ท าให้เกิดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ ดังนั้นควรให้ ความส าคัญในการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว และด้านการ เข้าใจความต้องการของประชาชนที่มาท่องเที่ยวในค่ายทหารเพราะเป็นมิติที่มีความแตกต่าง ระหว่างความคาดหวังและการรับรู้มากที่สุด

abstract:

Abstract Title Creating The Image of Tourist attractions in the Army area to increase tourism potential Field military Name Major General Goson Chujai Course NDC Class 62 The Objectives of this study were 1.to study the guildline of building image of tourism in military base. 2.to study the expectation and service quality of tourism in military base from the regular customer 3.to compare the satisfaction of using the services in military base to develop and improve the quality of services in order to create an image of tourism in military base. The study was based on four hundred questionnaire samples collected from Military Base. The data were analyzed using descriptive statistics which included mean, percentage, and standard deviation. Hypotheses tests were Paired T-Test, Analysis of variance: ANOVA and Factor Analysis at statistical significance level of 0.05 The results from the study indicated that the Tourist in Military Bases had higher expectations in all aspects of service quality while occasionally possessing great perceptions higher in Tangible and Assurance while as Tourist in Military Base’s Perceived service quality high in Reliability Responsiveness and Empathy. During a process of validating a hypothesis involving with the expectations and perceptions of all dimensions of service quality from military bases, it was found that the Tourist in Military Bases had higher expectations than perceptions in all dimensions of service quality. This was due to the fact that the Tourist in Military Bases had already had high expectations prior to receiving the services. Even though the perceptions were reasonably high, they were less than the expectations. As a result, there were gaps between the expectations and perceptions in all of the considered service quality dimensions in aspect Responsiveness and Empathy.