Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ กรณีศึกษา Gen Z, (วปอ.8920)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกีรวุฒิ กิติยาดิศัย, (วปอ.8920)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2562
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ กรณีศึกษา Gen Z ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายกีรวุฒิ กิติยาดิศัย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 62 การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ กรณีศึกษา Gen Z มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ จ าแนกตามปัจจัย ประชากรศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ จึงมีขอบเขตของการวิจัยที่มุ่งเน้น การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพพร้อมทั้งแรงจูงใจที่ส่งผลต่อ การพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของประชากรในกลุ่ม Gen Z เท่านั้น โดยศึกษาแนวคิด/ ทฤษฎีส าหรับการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของประชากรในกลุ่ม Gen Z จะไม่ลงลึกถึง ขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติดังนั้น ขอบเขตประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จึงแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในงานวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มวัยแรกรุ่น อายุระหว่าง 11-14 ปีกลุ่มวัยรุ่นตอนกลางถึง วัยรุ่นตอนปลาย อายุระหว่าง 15-19 ปี กลุ่มวัยเรียนจบหรือวัยเริ่มท างาน อายุระหว่าง 20-24 ปี และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการกีฬา ซึ่งเป็นลักษณะงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีลักษณะการวิจัยเชิงส ารวจเป็นล าดับ (Explanatory Sequential design) โดยเริ่มต้น จากการส ารวจพฤติกรรมจากการเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรม ในการดูแลสุขภาพ และน าผลการศึกษาที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญเป็นขั้นตอนที่สองเพื่อสร้างความเข้าใจผลการวิจัยในขั้นตอนแรก จากผลการศึกษา พบว่า ประชากรในกลุ่ม Gen Z ต้องการมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ มีสติมีปัญญา มีความพร้อมในการท างานและการใช้ชีวิตประจ าวันอย่างสมดุล มีพื้นฐานความคิด ในการดูแลตนเองในสภาวะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งแรงจูงใจที่ส าคัญในการดูแลตนเองคือ ความต้องการในการมีภาพลักษณ์ของตัวเองที่ดูดี (Positive Self Image) โดยได้รับอิทธิพลจาก จากสื่อสังคมออนไลน์และมีเทคโนโลยีเป็นตัวแปรส าคัญที่มีอิทธิพลและส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรม ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพฤติกรรมจึงเน้นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพเชื่อมโยง ข้อมูลพฤติกรรมที่ดีในด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกก าลังกาย การดูแลตนเอง โดยมีรัฐบาลเป็นผู้วางผังเมืองแบบ “Healthy City” ควบคุม ก ากับ และสนับสนุน“Platform” ทางด้านสุขภาพให้ขับเคลื่อนและเชื่อมโยงความต้องการทางด้านอุปสงค์และอุปทานของประชากร โดยใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน ซึ่งต้องมีการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์และจัดสรรงบประมาณโครงการ ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกลไกของระบบนิเวศที่ถูกก าหนดขึ้นจากการวางแผนร่วมกันของหลายภาคส่วน เพื่อการจัดการให้เกิดการพัฒนาและดูแลสุขภาพของทุก Generation อย่างยั่งยืน

abstract:

Abstract Title : Gen Z : Health and Wellness Case Study Field : Social - Psychology Name : Mr.Keeravoot Kitiyadisai Course NDC Class 62 The primary objectives of this study of Gen Z : Health and Wellness are: First, is to study the Gen Z’s behavior upon the demographic criteria. Second, is to study the motivation factors of Gen z towards health and wellness perception. Lastly, is to give the recommendation on how to develop health and wellness direction approaching the Gen Z. Hence, upon this research is essentially to analyze only Gen Z’s behavior and motivation factors for our further development in Health and Wellness plan in the long term goal. Therefore, the research methodology has been carried out into two phase. Phase one is the quantitative method by having 400 samplings target, divided into three groups A). aged 11-14, early adopter B) aged 15-19, middle Gen Z and lastly, C) aged 20-24, young working group. And, phase two having qualitative method from interviewing two keys expertise in the area of Health and Wellness, including sport management. Therefore, this research study methodology is the kind of (Mixed Methods Research) by planning to be Explanatory Sequential design in order to get in depth understanding upon the behavior and motivation from expertise. The result has shown that the Gen Z desire to have a good health with the balancing of stress, mind and conscious in order to be ready to cope with the daily social life in working and education. Gen Z, by average, has well organize in handling and control themselves in various situations. Besides, having own motivation to make them looking good and positive self-image towards the society. Online and social media are the main factors that effects own self behavior. The crucial suggestions to develop a long term plan on health and wellness for Gen z, are finding the opportunity and insight on how to balancing health and wellness. By emphasizing on the eating habits, regularly exercise and self-concerned are fundamental vital of this generation. However, Government could be another essential resources by providing the new innovative Platform that integrated all Gen Z data with all kinds of exercising equipment. This data mining would be very beneficial for further Government planning budget and corrective direction for building stronger good health and wellness for Gen Z in the years to come.