เรื่อง: การปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระรานทางไซเบอร์
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 122 กลุ่มที่ 4
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
124
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เด็กและเยาวชนไทยเผชิญภัยคุกคาม ล่อลวง และถูกกลั่นแกล้งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับ
ต้น ๆ ของเอเชีย ขณะที่เด็กและเยาวชนบางส่วนมองว่าการระรานทางไซเบอร์ หรือ Cyber Bullying เป็น
เรื่องปกติ และสร้างความสนุก บางส่วนเคยเป็นผู้กระท าหรือถูกกระท าจากการระรานทางไซเบอร์ ด้วยความ
ตระหนักถึงภัยคุกคามดังกล่าว กลุ่มผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขโดยเล็งเห็นว่า การมุ่งเน้น
พัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่
ดีจากงานวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหาร กองบัญชาการกองทัพไทย รุ่นที่ ๑๓,
(๒๕๖๔) น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการระรานทางไซเบอร์ของเด็กและเยาวชนไทย จึงได้จัดท า
งานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น โดยน าการรณรงค์ทางปฏิบัติการจิตวิทยาที่ได้รับการศึกษาจากสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
สถาบันวิชาป้องกันประเทศ มาเป็นแนวทางเพื่อสร้างเครื่องมือและกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ความคิดและพฤติกรรมของเด็กหรือเยาวชนให้มีคุณลักษณะตามที่งานวิจัยชิ้นนี้ก าหนด
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับ
การระรานทางไซเบอร์ของเด็กและเยาวชน ๒. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเด็กและเยาวชน
และ ๓. เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างชาญฉลาด
เคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่กระท าผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระรานทางไซเบอร์ ส าหรับการเลือกกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้วิจัยเลือกเยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๓-๑๘ ปี ในเขตพื้นที่ชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร จ านวน ๔๑ คน
โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วจึงลงพื้นที่เพื่อส ารวจและเก็บข้อมูลของเยาวชน
กลุ่มเป้าหมาย (Pre-test) โดยใช้แบบสอบถามเพื่อส ารวจการรับรู้และความเข้าใจของเยาวชนไทยต่อกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying) ผ่านช่องทางออนไลน์ในรูปแบบ Google Form ด้วย
Application LINE โดยน ามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติตามขั้นตอน ทั้งวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของข้อมูล
ในประเด็นการรับรู้ และความเข้าใจของเยาวชนไทยต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระรานทางไซเบอร์ แล้วจึง
เริ่มการรณรงค์ทางปฏิบัติการจิตวิทยาด้วยเครื่องมือและกิจกรรมที่สร้างขึ้นผ่าน Application LINE และการ
จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้พบปะเห็นหน้ากัน จากนั้นจึงเก็บข้อมูลของเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย (Post-test)
โดยใช้แบบสอบถามเพื่อส ารวจการรับรู้และความเข้าใจของเยาวชนไทยต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระราน
ทางไซเบอร์ (Cyber Bullying) อีกครั้งผ่านช่องทางเดิม
ผลสรุปการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า การรณรงค์ทางปฏิบัติการจิตวิทยาด้วยเครื่องมือและกิจกรรมที่
ก าหนดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีนัยส าคัญ โดยเยาวชน
กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจเกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น และจะไม่กระท าการใดที่เป็นการระราน
ทางไซเบอร์ พร้อมทั้งจะน าข้อมูลที่ได้รับด้านการระรานทางไซเบอร์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปแบ่งปันเพื่อน
และคนในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า การก าหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีช่วงอายุ
ไม่แตกต่างกันมากและการลงพื้นที่พบกับผู้น าชุมชนมีความส าคัญต่อการรณรงค์เพราะท าให้เข้าใจบริบท
ของชุมชน จนก าหนดผู้เชื่อมต่อได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในการท ากิจกรรม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการก าหนดรูปแบบเพื่อให้การรณรงค์ทางปฏิบัติการจิตวิทยามีประสิทธิภาพสูงสุด
abstract:
There are 3 objectives of this research to achieve which are : 1. To study the basic
knowledge and understanding of the laws related to cyber-bullying of children and youth
2. To study the behavior of children and youth using social media 3. To enhance the
characteristics which are desirable for children and youth to sensibly share information
and make connections on social media, respect the rights of others, and not commit any
illegal acts related to cyber-bullying. The questionnaire was used to survey the perception
and understanding of youths on the laws related to cyber-bullying. The target group in
this research was 41 youths, aged between 13-18 years old, in the Khlong Toei community
area in Bangkok. The researchers adopted a purposive sampling method during the field
visit to survey and collect data in the Khlong Toei community area and analyzed the data
using a statistical method regarding the relevance of the data on the issue of perception
and understanding of youths on the laws related to cyber-bullying. In addition, the
researchers formulated a psychological operations campaign for the target group and
collected data on youths before (Pre-test) and after the campaign (Post-test). The
questionnaire on the perceptions of youths on cyber-bullying-related laws was used as a
survey tool collected through online channels in the Google Form using the LINE application.
Based on the findings, the appropriate psychological operations campaign which
consist of constructed tools, has enhanced the understanding, and cultivate youths’ traits
against cyber-bullying, significantly. The treated youth have an increased understanding of
cyber-bullying and will not take any action that is considered cyber harassment. Moreover,
the treated youth are more than ready to share verified information received on cyberbullying and related laws with friends and family. However, it also suggests that the
campaign should define the target group with the same age range to formulate an
appropriate psychological operations campaign. This is mainly because it helps to
understand the community's context as well as the appropriate connectors to be selected
and assigned such as community leaders and influencers to treat the youth. Consequently,
this results to a more supportive from the community which have a direct effect on the
design efficiency of the psychological operations campaign to achieve the expected
outcomes.