เรื่อง: การพัฒนารูปแบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของเยาวชนกรณีศึกษาชุมชนมั่นคง 133
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว. รุ่นที่ 121 กลุ่มที่ 2
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
121
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรม
เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของเยาวชน กรณีศึกษาชุมชนมั่นคง 133” ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดย
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์บริบทชุมชนและคุณลักษณะของเยาวชนในชุมชนมั่นคง 133
2) เพื่อพัฒนารูปแบบเครดิตทางสังคมและพื้นที่เชิงนวัตกรรมที่เหมาะสมกับเยาวชนในชุมชนมั่นคง
133 การดำเนินการวิจัย ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการพัฒนารูปแบบเครดิตทาง
สังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของเยาวชน กรณีศึกษาชุมชนมั่นคง
133 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 91 คน แบ่งเป็น เยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 15-21
ปี จำนวน 43 คน ผู้ปกครอง จำนวน 37 คน และผู้นำชุมชนหรือกรรมการชุมชน จำนวน 11 คน
ผลการศึกษารูปแบบ/ลักษณะการแสดงออกบนพื้นที่เชิงนวัตกรรมและการตอบแทน
ความดี ตามระบบเครดิตทางสังคม พบว่าส่วนใหญ่เสนอให้แสดงออกในพื้นที่ของลานกิจกรรมชุมชน
(ร้อยละ 80.22) รองลงมา คือ เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) วารสารของชุมชน เว็บไซต์ของชุมชน
และผลการศึกษาลำดับของผลตอบแทนแก่เยาวชนควรได้รับการยอมรับ ยกย่องชมเชย เชิดชูความดี
เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและความน่าเชื่อถือทางสังคม ตลอดจนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมเมื่อเยาวชนใน
ชุมชนกระทำความดีหรือคุณลักษณะ 5 ด้าน พบว่า ส่วนใหญ่เสนอการดูงานกิจกรรม To be
Number one ของชุมชนอื่นที่ได้รับรางวัล เป็นลำดับแรก ลำดับที่ 2 เสนอกิจกรรมการให้ชุมชนอื่น
มาดูงานกิจกรรม To be Number one ของชุมชนมั่นคง 133 และลำดับที่ 3 เสนอกิจกรรมการได้รับ
ทุนการศึกษาจากสถาบัน/บริษัทเอกชนต่าง ๆ
ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบเครดิตทางสังคมบนฐานพื้นที่เชิง
นวัตกรรมในชุมชนมั่นคง 133 ดังนี้ 1) การสนับสนุนและผลักดันให้ระบบเครดิตทางสังคมเกิดเป็น
รูปธรรมชัดเจน อีกทั้งมีการบูรณาการความร่วมมือกับโครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนให้เยาวชนมีพื้นที่
หรือช่องทางในการแสดงออกที่ได้รับการยอมรับจากสังคม เช่น โครงการ To Be Number One
2) การส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากร เปิดโอกาสให้เยาวชนมีการรวมกลุ่มเพื่อคิดริเริ่ม ลงมือปฏิบัติ
พร้อมทั้งประเมินผลโครงการกิจกรรมใหม่ ๆ (Start up) เพื่อพัฒนาพื้นที่สังคมออนไลน์ ให้เป็นเวทีข
เชิงนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับการแสดงออกของเยาวชน นอกจากนั้นยังได้ข้อเสนอแนะเพื่อการ
วิจัยครั้งต่อไป 1) การขยายพื้นที่ศึกษาไปยังพื้นที่ที่มีบริบททางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน 2)
การต่อยอดการวิจัย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญและผู้มี
ประสบการณ์ เพื่อให้ได้แนวคิดการพัฒนารูปแบบเครดิตทางสังคมบนฐานพื้นที่เชิงนวัตกรรม สามารถ
นำมาปรับใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ
คำสำคัญ : คุณลักษณะของเยาวชน เครดิตทางสังคม พื้นที่เชิงนวัตกรรม
abstract:
Research Subject “The Development of social credit system based upon
an innovative space to enhance the characteristics of youth : Case Study of Community
Security 133”, which is a quantitative research. The objectives were 1) To study the
situation, the context that the community belongs, and the characteristics of youth in
Community Security 133 2) To develop social credit system in the innovative space
which is suitable for youth in Community Security 133. The conduct of this research
uses the collection of data through questionnaire that focus on the development of
social credit system based on innovative spaces in order to enhance the characteristics
of youth for the Case Study of Community Security 133. The sample group size was
specifically selected in the total of 91 persons, divided into 43 youths aged 15-21 years,
37 parents, and 11 community leaders or community committees.
Based on the results of a study of patterns/characters of expression on
the innovative space according to the social credit system, it was found that most of
the selected sample group would like to express themselves in the activity public area
(80.22 percent), followed by Facebook, Line, community journals and websites. The
youths shall be rewarded, honored and recognized in order to create motivation and
social credibility, as well as being a good example for society. When doing good deeds
that belong to the 5 attributes, it was decided that seeing best practices of “To be
Number One” activity of other communities was ranked at number 1. Second was to
have other communities come and see “To be Number One” event of Communityง
Security 133. Third is to offer activities for scholarships from various private
institutions/companies.
Our recommendations for the development of social credit system based
on innovative space within the Secure Community 133 are as follows: 1) To support
and enrich for a concrete social credit system and to integrate for cooperation with
projects/activities that encourage youth to have spaces or channels of expression that
are accepted by society, such as the To Be Number One project. 2) To provide
resources in order to open up opportunities for youth to form groups for initiatives,
take action, as well as evaluate new projects (Start-Ups) to develop online social
spaces as innovative platform suitable for youth expressions. In addition, more
recommendations are added in future research for 1) Expansion of study areas with
different social and environmental contexts. 2) To compliment and build on current
study by coordinating with research agencies and experts to get the idea of
development of social credit system based on innovative spaces to be able to use in
practice with quality and acceptance.
Keywords : characteristics of youth social credit system innovative space