Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 8
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
135
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เปรียบเทียบ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามตัวแปรเพศ ระดับชั้นเรียน คะแนนเฉลี่ยทางการเรียน ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ประสบการณ์ในการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ความสนใจทางการเมืองการปกครองของ ครอบครัว และความรู้ทางการเมืองการปกครองไทย 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การมี ส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษา นักเรียนโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1) เพศ 2) ระดับชั้นเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ 3) แบบสอบถามคะแนนเฉลี่ยทางการ เรียนของนักเรียน ซึ่งเป็นคำถามแบบเลือกตอบ 4) แบบสอบถามฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ของนักเรียน ส่วนที่ 2 แบบสอบถามประสบการณ์ในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของนักเรียน และความสนใจ ทางการเมืองการปกครองของครอบครัวนักเรียน ส่วนที่ 3 แบบวัดความรู้ทาง การเมืองการปกครองไทยของนักเรียน ลักษณะของแบบวัดความรู้เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 4 แบบสอบถามระดับพฤติกรรมการมีการมีส่วนร่วมการเมืองการปกครอง ไทยซึ่งเป็นคำถามแบบเลือกตอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้การทดสอบที (t-test) ส่วนการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง มากกว่า 2 กลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงทำการทดสอบความแตกต่างเป็น รายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ วิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอน ส่วนวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ผู้ศึกษาใช้วิธีการสนทนาแบบกลุ่ม ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดแนวคำถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ที่มีระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทยแตกต่าง กัน จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากคำสัมภาษณ์จาก การสนทนากลุ่มข ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ และเมื่อพิจารณาเป็นรายพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนอยู่ใน ระดับมากและในระดับต่ำพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านสื่อออนไลน์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือการเข้าชื่อเพื่อเรียกร้องประเด็นสาธารณะ การร่วมชุมนุมทางการเมือง การร่วมประชุมหรือทำกิจกรรมของชุมชน การใช้ความรุนแรงทาง การเมือง และการร่วมกิจกรรมขององค์กรทางการเมืองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ตามลำดับ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ตัวแปรเพศ ระดับชั้นเรียน คะแนนเฉลี่ยทางการเรียน ฐานะทาง เศรษฐกิจของครอบครัว ความสนใจทางการเมืองการปกครองของครอบครัว และความรู้ทางการ เมืองการปกครองไทยต่างกัน มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยแตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรประสบการณ์ในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ต่างกัน มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยไม่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูลกับ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทย พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยความสนใจทางการเมืองการปกครองของครอบครัว มีความสัมพันธ์ ในทางบวกและปัจจัยฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวมีความสัมพันธ์ในทางลบ 4) ปัจจัยส่งผลต่อ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 1 ตัวแปร คือความสนใจทางการเมืองการปกครองของครอบครัว โดยตัวแปรความสนใจ ทางการเมืองการปกครองของครอบครัว สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครองไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 34.0 และมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากคำสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม พบว่าในกลุ่มนักเรียนที่มีส่วนร่วมทางการเมืองปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือปัจจัยด้านครอบครัวทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการกล่อมเกลาทางการเมืองของครอบครัว ส่วน พฤติกรรมการ มีส่วนร่วมนั้น การร่วมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์เป็นพฤติกรรม ที่นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุด ในกลุ่มนักเรียนที่ไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองพบว่า ปัจจัยที่ นักเรียนไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นเกิดจากความกังวลที่อาจจะทำให้ตนเองและครอบครัว เกิดความเดือดร้อน คำสำคัญ: พฤติกรรมการมีส่วนร่วม, การเมืองไทยของนักเรียน, ความสนใจการเมือง.

abstract:

The objectives of this research were : 1) To study the level of participation behavior in Thai politics and government of high school students. 2) to compare the political participation behaviors in Thai government of high school students Classified by gender class level GPA, family economic, status Experience in public service activities political, interests, family governance and knowledge of Thai politics and administration. 3) Study factors influencing behavior Political Participation in Thai Government of High School Students : A Case Study of Sakonratchawitthayanukul School Students. The samples in this quantitative study were 324 high school students at Sakonratwittayanukul School. The tool used to collect data was a questionnaire divided into 4 parts as follows: Part 1 Information about respondents 1) Gender 2) Class level 3) A questionnaire on the student's grade point average. which is a multiple choice question 4) The questionnaire on the economic status of the students' families. Part 2 questionnaire on the experience of doing public activities of the students and the political and governance interests of the students' families. Part 3 Political and Government Knowledge Test Form of Students The nature of the knowledge test is a multiple-choice questionnaire with 4 options, 10 items. Part 4 Behavioral questionnaire on participation in Thai politics, which was a multiple choice questionnaire. The statistics used in data analysis were percentage, mean score, standard deviation T-test was used to test the difference in mean scores of samples of two groups, and one-way analysis of variance was used to test the difference in mean scores of samples more than two groups. Way Analysis of Variance) in case there is a statistically significantง difference. Therefore, a pairwise difference test was performed. Scheffe's method was used to analyze the Pearson correlation coefficient. and stepwise multiple regression analysis. As for the qualitative research method The researcher used a group discussion method. to collect information Set open-ended questions The sample group was from students in grade 12 at Sakolratchawitthayanukul School. There were 2 groups of 7 people in each group with different levels of political participation behavior. Data were analyzed by analyzing content from interviews from focus group discussions. The results of the research were as follows: 1) the level of participation behavior in Thai politics and government of high school students at Sakolratchawitthayanukul School; Overall is low. And when considering the items, the students' participation behaviors in Thai government politics were at a high level and at a low level the behavior was the most average. is that the average of political opinions through online media is at a high level Followed by a name for a public issue. political rallies Participating in community meetings or activities political violence and participation in political organization activities were at the low averages, respectively. 2) Comparison of the participation behaviors in Thai politics and government of high school students found that gender variables, class level GPA family economic status political interests, family governance and knowledge of Thai politics and administration are different There are different behaviors in political participation and Thai governance. There was a statistical significance at the 0.05 level. There was no difference in political participation behavior in Thai governance. 3) The relationship between personal factors of high school students at Sakolratchawitthayanukul School and political participation behavior in Thai government. It was found that personal factors of high school students at Sakonratwittayanukul School had a significant correlation at the 0.05 level. have a positive relationship and the economic status of the family were negatively correlated. 4) Factors affecting political participation behaviors in Thai government of high school students had 1 variable, namely family interest in politics and government. By the variables of political interests, family governance. can affect the behavior of participation in Thai politics and government of high school studentsจ 3 4 .0 percent and was statistically significant at the 0 .0 1 level. 5 ) Data analysis results by content analysis From the focus group interview It was found that among students who participated in politics, factors affecting political participation namely the family factor due to the political refinement of the family Behavior participate in it Contributing political opinions through online media was the most engaging behavior among students. Among the students who were not involved in politics, it was found that The factor that the students did not participate in politics was due to concerns that they might cause trouble to themselves and their families. Keywords: participation behavior, students' Thai politics, political interest.