เรื่อง: การสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเสริมสร้างวินัยการออมกรณีศึกษา : โรงเรียนวัดเจริญธรรม “เผอิญศรีภูธรอุปถัมภ์”สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 4
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2566
|
จำนวนหน้า:
|
113
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน
ของทุกคน ทุกวัย และทุกสถานการณ์ ส่งผลให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตมีมูลค่าสูงขึ้น การเตรียมความพร้อม
ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการรับมือกับค่าใช่จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นได้นั้น การปลูกฝังเรื่องการออมให้เป็น
วิถีชีวิตของเยาวชน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากมีรูปแบบการมีส่วนร่วมของเยาวชนใน
การเสริมสร้างวินัยการออมที่เป็นแนวทางให้เยาวชนได้นำไปปฏิบัติจะสามารถเสริมสร้างวินัยใน
การออมของเยาวชนได้เป็นอย่างดี
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน เกี่ยวกับการออมของนักเรียน
โรงเรียน วัดเจริญธรรม “เผอิญศรีภูธรอุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึก ษา
พระนครศรีอยุธยาเขต ๑ ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเสริมสร้างวินัย
การออม ของนักเรียนโรงเรียนวัดเจริญธรรม “เผอิญศรีภูธรอุปถัมภ์” ๓) เพื่อประเมินความเหมาะสม
และความเป็นไปได้ของ รูปแบบการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเสริมสร้างวินัยการออม ของนักเรียน
โรงเรียนวัดเจริญธรรม “เผอิญศรีภูธรอุปถัมภ์”
กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูล เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ของโรงเรียนวัด
เจริญธรรม “เผอิญศรีภูธรอุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๑
จำนวน ๑๓๒ คน
เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย จำนวน ๓ ฉบับ ประกอบไปด้วย ๑) แบบสอบถาม เกี่ยวกับ
ระดับพฤติกรรมการออมของนักเรียน ๒) แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับระดับพฤติกรรมการออมของ
นักเรียน ใน ๓ ขั้นตอน คือ การวางแผนการออมเงินของนักเรียน วิธีการออมเงินของนักเรียน และ
คุณค่าและประโยชน์ของของออมเงิน ๓) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ รูปแบบ
การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเสริมสร้างวินัยการออม
ผลการวิจัยปรากฏว่า ๑) พฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ด้านการวางแผนการออม
เงินของนักเรียน ด้านการวางแผนการออมเงิน อยู่ในระดับมาก ด้านวิธีการออมเงินของนักเรียน อยู่ข
ในระดับมาก ด้านคุณค่าและประโยชน์ของของออมเงิน อยู่ในระดับมากที่สุด ๒) พฤติกรรมของ
นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จากประเด็นข้อคำถามจากการสัมภาษณ์ พบว่าด้าน การตอบคำถามจากการ
สัมภาษณ์ สอดคล้องกับการตอบคำถามจาก แบบสอบถาม ๓) จากการวิเคราะห์พฤติกรรมการออม
ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คณะผู้วิจัยนำมาสร้างรูปแบบการมี
ส่วนร่วมของเยาวชนในการเสริมสร้างวินัยการออม ของนักเรียนโรงเรียนวัดเจริญธรรม “เผอิญศรีภูธร
อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๑ คือ รูปแบบ G-PSI
Model และ ๔) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการมีส่วนร่วมของ
เยาวชนในการเสริมสร้างวินัยการออม ของนักเรียนโรงเรียนวัดเจริญธรรม “เผอิญศรีภูธรอุปถัมภ์”
ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
abstract:
The changing of economics, society and technology play a role in daily life
of people, all ages and situations. As a result, the cost of living has a higher value.
Also, preparing for new generation of youth always being ready to cope with rising
expenses. The cultivation in saving becomes their way of life, which is very important.
If there is a youth participation model for discipline enhancement of saving, it is a
way that youth can apply and enhance their saving discipline well.
The purposes of this research were 1) to study the current state about
saving of Watcharoentham Pa-ernsriputhon Upatham School students under Phra
Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1, 2) to create a youth
participation model for discipline enhancement of Watcharoentham Pa-ernsriputhon
Upatham School students’ saving and 3) to evaluate the propriety and possibility of a
youth participation model for discipline enhancement of Watcharoentham Paernsriputhon Upatham School students’ saving.
The target group were 132 grade 4-6 students of Watcharoentham Paernsriputhon Upatham School under Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational
Service Area Office 1. The research instruments consisted of 1) questionnaires about
students’ saving behavior level, 2) interview form about students’ saving behavior
level include three steps; planning, how to saving and valued saving and 3) proper
and possible evaluation form of a youth participation model for discipline
enhancement of saving.
The research results were found that: 1) The behavior of target group
students in the planned saving were at a high level, and the valued and
advantageous saving were at a high level, 2) The behavior of target group studentsง
from the issued questions interview found that the answers of the interview were
consistent with answers of questionnaire, 3) According to the behavior of target group
students’ analysis through using the questionnaire and interview forms, the
researchers applied to create a youth participation model for discipline enhancement
of Watcharoentham Pa-ernsriputhon Upatham School students’ saving under Phra
Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1, which is G-PSI Model
and 4) According to the proper and possible evaluation of a youth participation
model for discipline enhancement of Watcharoentham Pa-ernsriputhon Upatham
School students’ saving, it was found that the propriety was very high level, and the
possibility was very high level.