Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรอบรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ“เรารักษ์โลก ลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน” สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดกำแพงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 10 กลุ่มที่ 2
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
099
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ “เรารักษ์โลก ลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน” สำหรับนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดกำแพง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ ๒) เพื่อประเมินหลักสูตรอบรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เรารักษ์โลก ลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน” สำหรับนักเรียนโรงเรียน ชุมชนวัดกำแพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒ วิธีการวิจัย มี ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ การพัฒนาหลักสูตร ศึกษาความต้องการ จำเป็นในการฝึกอบรม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำร่างหลักสูตร วิเคราะห์ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๓ คน ปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ ๒ การนำหลักสูตรไปใช้ (๑) กลุ่มเป้าหมายในการใช้หลักสูตร นักเรียนระดับชั้น ป๔-ป๖ จำนวน ๔๖ คน ครู จำนวน ๒ คน ผู้ปกครองจำนวน ๒ คน (๒) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการใน หลักสูตร ทดสอบความรู้ก่อนเรียนความรู้หลังเรียน นำเสนอผลโครงงาน ประเมินผลความพึงพอใจต่อ หลักสูตร (๓) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ประเมินระดับความพึงพอใจ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นตอนที่ ๓ การประเมินหลักสูตรการอบรม แบบสอบถามความคิดเห็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า ผลการวิจัย ๑. ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔-๖ (ก่อน- หลังการอบรม) พบว่า ผลการทดสอบวัดระดับความรู้ความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เพิ่มขึ้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เพิ่มขึ้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เพิ่มขึ้น และภาพรวม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ เพิ่มขึ้น แสดงว่า กระบวนการสร้างการรับรู้ตามหลักสูตรการอบรม ทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้มากขึ้น ๒. ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อหลักสูตรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔- ๖ โรงเรียนชุมชนวัดกำแพงต่อหลักสูตรการอบรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า นักเรียนข ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการอบรมในระดับมาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ ๕ มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการอบรมในระดับมาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีความพึง พอใจต่อหลักสูตรการอบรมในระดับมาก และภาพรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ มีความ พึงพอใจต่อหลักสูตรการอบรมในระดับมาก แสดงว่า หลักสูตรการอบรมมีความสอดคล้องเหมาะสม กับการเรียนรู้ของนักเรียน ๓. ผลการประเมินหลักสูตรการอบรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “เรารักษ์ โลก ลดขยะ ลดภาวะโลกร้อน” โลกร้อน พบว่า ผลการประเมิน ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และด้านความคุ้มค่า อยู่ใน ระดับมาก ตามลำดับ โดยภาพรวมของผลการประเมินหลักสูตรทั้ง ๔ ด้าน อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ :การพัฒนาหลักสูตรอบรม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ,นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัด กำแพง

abstract:

This research has the following objectives: 1) To develop a climate change training curriculum “We save the World, Reduce waste, Reduce global warming” for students of Chomchon Wat Kamphaeng Community School under the Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 2 2) To assess the climate change training curriculum “We save the World, Reduce waste, Reduce global warming” for students at Chomchon Wat Kamphaeng Community School under the Office of Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Education Service Area 2 The research method consists of 3 steps. Step 1 : Curriculum Development Study the training needs data collection by interview analyze data Drafting a curriculum Analyze content fidelity by 3 experts, revised according to the opinions of experts. Step 2 : Implementation of the curriculum (1) Target groups for using the curriculum 46 students in grades 4-6, 2 teachers, 2 parents (2) Conduct training according to the curriculum plan Pre-test Post-test, Project presentation Evaluate the training satisfaction (3) The tools used to study the knowledge and comprehension test assess the level of satisfaction in-depth interview. Step3 : Assessment of training courses rating scale opinion questionnaire Research results 1. The results of the cognitive test of grade 4-6 students found that the results of the cognitive test of grade 4 students increased of grade 5 students increased, of grade 6 students increased and students of grades 4-6 increased, indicating that the process of creating awareness according to the developed curriculum made students learn more. 2. The results of the satisfaction assessment of grades 4-6 students of Chomchon Wat Kamphaeng Community School on the climate change trainingง curriculum revealed that of grades 4 students were satisfied with the training curriculum at a high level, of grades 5 students were satisfied with the training curriculum at a high level of grades 6 students were satisfied with the training curriculum at a high level and the overall picture of grade 4-6 students were satisfied with the training curriculum at a high level indicating that the training curriculum was consistent with student learning. 3. Evaluation results of climate change training courses It was found that the assessment results of climate change training courses that had the highest average of assessment results were accuracy. was at a high level, followed by suitability at a high-level possibility at a high level and value at a high level, respectively. The overall results of the curriculum assessment in all 4 areas were at a high level. Keywords: Training Course Development Climate Change, Wat Kamphaeng Community School students