Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาเยาวชนในการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่โรงเรียนสว่างแดนดินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 9 กลุ่มที่ 8
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
099
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาเยาวชนในการเป็นพลเมืองที่ดี ของประเทศ ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่โรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเยาวชนในการเป็นพลเมืองที่ดี ของประเทศ ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 637 คน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียน 10 คน และครู 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม และเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์โดยใช้ Pearson Product-moment Correlation และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า ๑. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยเรียงจากปัจจัยที่ส่งผลมาก ที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อน และความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครู ๒. แนวทางการพัฒนาเยาวชนในการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศด้านความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ของนักเรียน มีดังนี้ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้จัดทำหลักสูตรที่เสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี ผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ มีการสร้างสถานการณ์จำลองให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และแก้ปัญหา ให้ครอบคลุมนักเรียนทุกระดับชั้น ครูควรมีความเป็นกัลยาณมิตรให้มาก สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ กระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง มีเหตุ มีผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ควบคู่กับเงื่อนไขความรู้คู่คุณธรรม นักเรียนควร มีความรับผิดชอบต่อตนเอง รับผิดชอบต่อสถานศึกษาและสังคม และผู้ปกครองควรเอาใจใส่ให้ ความสำคัญบุตรหลานทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว เรื่องส่วนตัว เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์และ ความอบอุ่นในครอบครัวมากขึ้น

abstract:

This research studied the guideline for youth development to be a good citizen on duty responsibility of Sawang Daen Din school in the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. This research aims to study parameters affecting the responsibility on a good citizen and to study the guideline for the youth development to be a good citizen on duty responsibility of Sawang Daen Din school students. The research consists of 2 parts which are quantity and quality part. For quantity, 637 senior high school students from grade 10 – 12 of Sawang Daen Din school were a sample group. Whereas quality part, the target group were 10 students, 10 parents and 10 teacher. Questionnaire and interview were tools for this section. Statistic for evaluation data were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson Product-moment Correlation and Multiple Regression analysis. Result show that 1. Three parameters affecting the responsibility on a good citizen of students are the duty responsibility of student, the relationship between student and friend, and the relationship between student and teacher, respectively. 2. The guideline for the youth development to be a good citizen on duty responsibility as follows : Administrator should encourage the preparation of the development of student to be a good citizen curriculum. Which are consist of projects or hand-on activities to practice and solve problems for all grade students. The relationship between student and teacher should be close and friendly. The learning atmosphere should encourage the learners to develop creative thinking skills and discover knowledge by themselves under the Philosophy of Sufficiency Economy.