เรื่อง: การปลูกจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามกฎหมาย
ในสังคมไซเบอร์ กรณีศึกษาการรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ของ
โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
กรุงเทพมหานคร เขต 1
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 9 กลุ่มที่ 4
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
123
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันสังคมไซเบอร์มีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชน
และนักเรียน ซึ่งการใช้สังคมไซเบอร์ในการสื่อสาร รวมถึงการรังแกผู้อื่นโดยไม่ได้ตระหนัก
ถึงการมีความรับผิดชอบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในสังคมไซเบอร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑) ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามกฎหมายในสังคมไซเบอร์ของ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ๒) พัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาการรังแกทางไซเบอร์
ผ่านสื่อออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ คือ
๑) ระยะเตรียมการ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพื้นฐานปัญหาการรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์
ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียนโรงเรียนศิลาจารพิพัฒน์ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑ และ ๒) ระยะดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
เพื่อส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในเรื่องการมีความรับผิดชอบและการปฏิบัติตามกฎหมายในสังคมไซเบอร์
เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการปัญหาการรังแกทางไซเบอร์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคณะครู
และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนศิลาจารพิพัฒน์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ จำนวน ๓๙ คน ผ่าน “การอบรม และกิจกรรมสร้างแกนนำ
เยาวชนไทยใช้ไซเบอร์อย่างสร้างสรรค์” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๑) แบบสอบถามกับกลุ่ม
ตัวอย่างก่อน-หลังการอบรมและกิจกรรมในประเด็นความรับผิดชอบและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับ
การรังแกทางไซเบอร์ ๒) แบบสังเกตพฤติกรรมมีการอบรมและกิจกรรมในประเด็นด้านความรู้และ
การถ่ายทอดของวิทยากร การเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และ ๓) แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างภายหลัง
การอมรมและกิจกรรมในประเด็นความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรมและกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจิตสำนึกและตระหนักในเรื่องการมีความรับผิดชอบและ
ปฏิบัติตามกฎหมายในสังคมไซเบอร์หลังการเข้าร่วมกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๑ และ ๔.๕๖ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม ส่วนแนวทาง
การจัดการปัญหาการรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ โรงเรียนควรจัด “การอบรมและกิจกรรม
สร้างแกนนำเยาวชนไทยใช้ไซเบอร์อย่างสร้างสรรค์” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์
อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงผลกระทบ และโทษต่าง ๆ ที่ได้รับจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์
ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ควรการปลูกจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบ และปฏิบัติตามกฎหมาย
ในสังคมไซเบอร์ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่ประสบปัญหาการรังแก
ทางไซเบอร์ เพื่อเป็นการเสริมสร้างการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
abstract:
Nowadays, cyber society has a big influence on most people in
society,especially, youths and students who communicate through cyber including the
acts of cyberbullying without realizing that such acts are both irresponsible and
against the law.
This research were aimed to enhance the students’ conscience aboutabout
the problems, motivation, and effect of the online bullying among high school
students and to develop the solutions to deal with the issues of online cyber bullying.
This procedure research divides it into two steps: 1) the preparation period which is
used to study and collect basic information about online cyber bullying in school that
has an effect on education and daily life of the students of Silacharnpipat School, The
Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1, and 2) the period of conducting
action research whose goal is to encourage and develop conscience in responsibility
and abiding by the cyber law regarding the problems, cause and effect of online cyber
bullying. The research process involved putting a group of 39 teachers and students
through training and the activity called “ Creating Thai youth leaders using innovative
cyber activity.” Three methods were used to evaluate the results: 1) survey
questionnaire with the samples before and after training and the activity on the issues
of the responsibility and the abiding by the cyberbullying law, 2) an observation during
the training and activity period where the observers can observe both the trainer’s
knowledge and delivery style and the students’ responses, and 3) an interview with a
group of students on their experiences toward training and the activity. usData
analyses include frequency, means, percentages, and standard deviation.
The research found that after taking part of training and the activity, the
samples had good conscience in the responsibility and the abiding by the cyber
lawscale.. The score of the activity was significantly higher than before. The mean
scores were 4. 61 and 4. 56, respectively. Regarding the guidelines for cyberbulling
management, the school should organize training and the activity offered in the
research to train Thai youth leaders the problems, motivation, impact, and
consequences of cyber bulling, especially schools that are facing the issues
of cyber bulling.