เรื่อง: เรื่อง การพัฒนาแนวทางการใช้ระบบเครดติทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรม ในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, สจว.สพฐ. รุ่นที่ 8 กลุ่มที่ 7
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
129
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐาน
ของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต และ ๒) เพื่อ
สร้างแนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะ
ของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณผสมผสานกับข้อมูลเชิงคุณภาพ
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้
โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) และความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (Inter rater reliability) ด้วยค่าสถิติ Intra Class
Correlation (ICC)
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการ
เสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ 1) พฤติกรรมทางสังคม 2) เวลา โอกาส และช่องทางการแสดงพฤติกรรมทาง
สังคม 3) เกณฑ์การวัดพฤติกรรมทางสังคม 4) ผลตอบแทนการแสดงพฤติกรรมทางสังคม 5) ผู้รับรอง
การแสดงพฤติกรรมทางสังคม และ 6) การประเมินผลการแสดงพฤติกรรมทางสังคม ผลการประเมิน
ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของลักษณะของระบบเครดิต
ทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียน
สุจริต: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (ICC) ของความเหมาะสม ความเป็น
ประโยชน์ ความเป็นไปได้และความสอดคล้องอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน
แนวทางการใช้ระบบเครดิตทางสังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้าง
คุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร คือ
กิจกรรมสุภาพบุรุษวัดเบญฯ “รุ่นพี่เกรียงไกร รุ่นน้องช่วยรักษา” ประกอบด้วย ๕ ส่วน คือ 1) ขอบเขต
ของกิจกรรม แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก และกิจกรรมสร้างสรรค์ ๒) เป้าหมายการจัดกิจกรรม ๓) หลักการ
จัดกิจกรรม 4) แนวการจัดกิจกรรม และ 5) บทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผลการประเมินความ
เหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของแนวทางการใช้ระบบเครดิตทาง
สังคมบนฐานของพื้นที่เชิงนวัตกรรมในการเสริมสร้างคุณลักษณะของนักเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต:
กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก และค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (ICC) ของความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความ
เป็นไปได้และความสอดคล้องอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน
abstract:
This research aimed to 1) investigate the characteristic of the social credit system
based on innovative areas to enhance student characteristics in Upright School Project
and 2) shape the guidelines for applying the social credit system based on innovative
areas to enhance student characteristics in Upright School Project. Quantitative data and
qualitative data were collected by questionnaires. Content Analysis was applied for
qualitative data and descriptive statistics were applied for quantitative data. In addition,
inter rater reliability was tested by Intra Class Correlation (ICC). The result indicated that;
The characteristic of the social credit system based on innovative areas to
enhance student characteristics in Upright School Project consisted of 6 parts as 1) social
behavior 2 ) time, opportunity and channel of social behavior 3 ) social behavior
measurement criteria 4) social behavioral reward 5) social behavior certifier and 6)
performance evaluation of social behavior. The stakeholders and experts’ evaluation of
propriety, utility, feasibility, and congruence revealed that the characteristic of the social
credit system based on innovative areas to enhance student characteristics in Upright
School Project were at a high level with very good ICC.
The guidelines for applying the social credit system based on innovative areas to
enhance student characteristics in Upright School Project was the “Gentlemen Activity:
Senior Prosper, Junior Preserve”. This comprised of 1) Scope of activity divided into main
activities and creative activities 2) purposes of organizing activities 3) principles of
activities 4) guidelines for organizing activities and 5) roles of relevant personnel. The
stakeholders and experts’ evaluation of propriety, utility, feasibility, and congruence
revealed that the guidelines for applying the social credit system based on innovative
areas to enhance student characteristics in Upright School Project were at a high level
with very good ICC.