เรื่อง: เยาวชนไทยกับการเป็นพลเมืองที่ดี
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, พสบ.บก.ทท. รุ่นที่ 13
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
112
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เอกสารวิชาการ เรื่อง เยาวชนไทยกับการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาทำ
ความเข้าใจมุมมองความคิดของเยาวชนไทยที่มีต่อการเป็นพลเมืองที่ดี (๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลสนับสนุน
หรือขัดขวางเยาวชนไทยในการเป็นพลเมืองที่ดี และ (๓) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเยาวชนไทยให้มี
จิตสำนึกและวางตนเป็นพลเมืองที่ดี โดยการศึกษาใช้เครื่องมือดังนี้ (๑) แบบสอบถามกลุ่มเยาวชน ซึ่งได้
แบบสอบถามกลับมาและมีความครบถ้วน ๑๒๐ ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ปกครอง ซึ่งได้แบบสอบถามกลับมาและมี
ความครบถ้วน ๑๒๑ ตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการประมวลผลข้อมูล และ (๒) การสัมภาษณ์เชิงลึก
ผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยาวชน รวม ๒๐ หน่วยงาน รวมทั้งมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
กับแนวคิดของการเป็นพลเมืองที่ดี และแนวทางการพัฒนาการศึกษาของไทยและต่างประเทศ โดยผลการศึกษา
ที่สำคัญ พบว่า ในมุมมองของเยาวชนและผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นว่า เยาวชนไทยในปัจจุบัน
“เป็นพลเมืองที่ดี” และ “เป็นทั้งพลเมืองที่ดีและไม่ดี” โดยเหตุผล ๔ อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เยาวชนไทย
ในปัจจุบันเป็น “พลเมืองที่ดี” ได้แก่ เยาวชนทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เยาวชนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
เยาวชนเคารพกฎหมาย และ เยาวชนมีความคิดเป็นของตนเอง ขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและ
การแสดงออกของเยาวชนในการเป็นพลเมืองดีมากที่สุด ๔ อันดับแรก ได้แก่ คนในครอบครัว ครู/อาจารย์
เพื่อนที่รู้จักกัน และสื่อโซเชียล ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลดังกล่าวมีผลต่อความคิดและพฤติกรรม
ของเยาวชนในลักษณะของแบบอย่างพฤติกรรม การส่งผ่านและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การกระตุ้นให้เยาวชนต้องการ
ได้รับการยอมรับจากสังคม ดังนั้น ในการพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นพลเมืองที่ดี จำเป็นที่จะต้องมีการกล่อมเกลา
เยาวชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา และชุมชนเพื่อให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีและตระหนักรู้ถึง
บทบาทของตนในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยาวชนต้องให้
ความสำคัญกับการเข้าถึงวิธีคิดของเยาวชน ผ่านการใช้สื่อออนไลน์และสื่อโซเชียล ซึ่งเป็นช่องทางที่เยาวชนใช้ใน
การค้นหาข่าวสารข้อมูลมากที่สุด โดยสอดแทรกแนวคิดการเป็นพลเมืองที่ดีในหลักสูตรและกิจกรรมเชิงปฏิบัติ
เพื่อพัฒนาเยาวชนไทยให้เกิดการซึมซับทัศนคติของการเป็นพลเมืองที่ดีอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และสื่อมวลชนจะต้องร่วมมือกันในการเสริมสร้างเยาวชนให้เติบโต
เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศต่อไป
abstract:
This academic paper presents the study on Thai youths and good citizenship. This
study aims to (๑) understand the attitudes or viewpoints of young people towards good citizenship
(๒) study influential factors promoting or impeding Thai youths to behave good citizenship and
(๓) propose recommendations or guidelines for developing Thai youths’ consciousness or
behaviours towards good citizenship. Two tools were applied for collecting data of this study, i.e.
questionnaires of two sampling groups, involving youths and parents, and interviews of ๒๐
executives of agencies related to education and youth development. There were totally ๒๔๑
returned and completed questionnaires, including ๑๒๐ of youths and ๑๒๑ of parents. SPSS
programme was used for data processing in order to get the result of the questionnaires. In
addition, the review of literatures related to the concept of good citizenship and the approach for
education development in Thailand and other countries was conducted. The result of the study
reveals that in the view of the majority of youths, in general Thai youths are “good citizen” and
some are “both good and not good citizen”. Four main reasons supporting this view include the
followings: (๑) youths act for public benefits, (๒) youths are responsible for their duty, (๓) youths
are law-abiding, and (๔) youths dare to express their own ideas. Regarding the influential factors
affecting Thai youths’ behaviours towards good citizenship, most of the respondents address four
major influential factors, including family members, teachers, friends, and social media. These four
factors can impact on thoughts and behaviours of youths through an imitation, an information
transfer, and a stimulation of social acceptance. To develop good citizenship attitudes and
behaviours among Thai youths, hence, an instillation from family continuing to education agencies
and community is necessary. This will construct good attitude and awareness of Thai youths in
participating in the country’s development. At the same time, youth development related
agencies must place importance on accessing to youths’ ways of thinking through utilizing online
and social media, which youths use as a key channel for searching information. In so doing, it is
required to develop the curriculum and activities that naturally cultivate a notion and practices
of good citizenship to Thai youths. This action needs a collective effort among government
agencies, private sector and mass media in developing Thai youths to grow up and become good
citizen of the country.