Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างการจัดของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) ,เพื่อรองรับภารกิจด้านสงครามไซเบอร์,Improving the structure of the Air Force Operations Center (temporary) to support the cyber warfare

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. เอกสมภพ คุปตะวาณิช
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างการจัดของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) รองรับภารกิจด้านสงครามไซเบอร์ โดย : นาวาอากาศเอก เอกสมภพ คุปตะวาณิช สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (บรรพต สังข์มาลา) กรกฎาคม ๒๕๖๒ จากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) เป็นโครงสร้าง การจัดประเภทใช้กำลัง เป็นศูนย์ปฏิบัติการระบบบัญชาการและควบคุมของกองทัพอากาศ มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน สั่งการ และควบคุมการใช้กำลังกองทัพอากาศและปฏิบัติภารกิจ เร่งด่วน มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) ซึ่งใน ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาอย่าง รวดเร็ว รวมทั้งการเกิดขึ้นของภัยคุกคามในมิติไซเบอร์ทั้งในรูปแบบการจารกรรมข้อมูล และการโจมตี เพื่อทำลายล้าง ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายในวงกว้าง รวมทั้งนโยบาย กองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพไทย และกระทรวงกลาโหม ด้านสงครามไซเบอร์มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันดังที่กล่าวมา ดังนั้นกองทัพอากาศต้องทบทวนและปรับปรุง โครงสร้างการจัดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) เพื่อรองรับภารกิจด้านสงครามไซเบอร์ ให้เหมาะสม สอดคล้องและทันสมัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างการจัดของ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) รองรับภารกิจด้านสงครามไซเบอร์ให้มีความพร้อมในการ ปฏิบัติการทางทหารอย่างมีประสิทธิภาพ มีขอบเขตการวิจัยภายใต้กรอบภารกิจที่กองทัพอากาศกำหนด โดยจะไม่ศึกษาถึงอัตรากำลังพลของหน่วยเนื่องจากมีระยะเวลาจำกัด การดำเนินการวิจัยจะศึกษา แนวความคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์การ หลักการจัดหน่วยทางทหาร คู่มือการจัด ส่วนราชการกองทัพอากาศ นโยบายจากหน่วยเหนือ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างการจัดของหน่วยที่ มีลักษณะใกล้เคียง และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับข้อมูลของหน่วย สรุปผลที่ได้จากการวิจัยพบว่าโครงสร้างการจัดของ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องตามแนวความคิดการจัดองค์การสมัยใหม่ รวมทั้งหลักการจัดหน่วยทางทหาร อยู่เดิมแล้ว แต่เห็นสมควรปรับปรุงโครงสร้างการจัด โดยเพิ่มเติมหน่วยงานรองรับภารกิจด้านสงคราม ไซเบอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในการใช้กำลังด้านสงครามไซเบอร์ ในปัจจุบัน และแนวความคิดการปฏิบัติการในมิติไซเบอร์ของกองทัพอากาศ (Concept of Cyberspace Operations) โดยจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการไซเบอร์ เป็นหน่วยขึ้นตรง ศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) มีหน้าที่ วางแผน อำนวยการ ประสานงาน สั่งการ และควบคุมการ ปฏิบัติการด้านไซเบอร์ในความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามนโยบายและคำสั่งของผู้บัญชาการศูนย์ ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (เพื่อพลาง) โดยมีหน่วยขึ้นตรง จำนวน ๓ หน่วย ได้แก่ ส่วนปฏิบัติการไซเบอร์, ส่วนรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และชุดปฏิบัติการไซเบอร์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการใช้กำลัง ของกองทัพอากาศด้านสงครามไซเบอร์ ทั้งนี้การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างการจัดจะต้องดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและ หลักเกณฑ์ของกระทรวงกลาโหม รวมทั้งแนวทางตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ

abstract:

ABSTRACT Title : Improving the structure of the Air Force Operations Center (temporary) to support the cyber warfare By : Group Captain Aeksomphop Kuptawanich Major Field : Military Research Advisor : Colonel (Banpot sangmala) July 2019 In the current environment the Air Force Operations Center (temporary) is a force structure and the RTAF’s command and control center and responsible for planning, coordinating, directing and controlling the use of RTAF’s force. The Air Force commander in chief is the Air Force Operations Center’s commander. Information and communication technologies, networks and the Internet are rapidly evolving, including the emergence of cyber threats, both in the form of information espionage and attack to destroy. They have a wide range of effects and damage. And Royal Thai Air Force and the Ministry of Defense’s policy about the cyber war has changed to suit the current environment. So the Air Force must review and improve its structure to suit cyber-warfare in appropriate consistent and modern ways. This research aims to get a guideline to improve the structure of the operation center to support the cyber warfare mission to be more effective in military operations. The scope of this research is under the mission of the Royal Thai Air Force. It will not study the unit's human power because it has limited time. The research will study the theory of organizational structure, principles of military units, manual of Air Force’s Policy from above unit, related laws, environmental analysis, the structure of the similar unit, the related research and documents and analyze and compare with the data of the unit. This research found that the structure of the Operation Center are mostly consistent with modern organizational concepts, including the principles of organizing military units. But it should improve the structure of the additional cyber-warfare to increase the capacity and be in line with today's cyber-warfare environment and the concept of cyberspace operations by enhance the new organizational structure. Include similar workloads in the areas of existing cyberwarfare operations to create a unified chain of command and process in a single unit to achieve the purpose of power using. The implementation of the restructuring will be carried out under the Ministry of Defense’s policy framework and guidelines including the guidelines and policies of RTAF.