Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการใช้ประโยชน์สนามบินอู่ตะเภาทางทหารร่วมกับการใช้งานเชิงพาณิชย์,Guidelines For U-Tapao Joint Use Military/Civilian Airport

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. อคเรศ ยิ้มมาก ร.น.
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการใช้ประโยชน์สนามบินอู่ตะเภาทางทหารร่วมกับการใช้งานในเชิง พาณิชย์ โดย : นาวาเอก อคเรศ ยิ้มมาก สาขาวิชา : ความมั่นคงแห่งชาติ อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก ( ทักษิณ สิริสิงห ) กรกฎาคม ๒๕๖๒ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินพาณิชย์นานาชาติระดับสากล แห่งที่ ๓ กำเนิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับด้านการคมนาคมขนส่งทาง อากาศของประเทศ ขับเคลื่อนโดยใช้แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่กำหนดให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมการบินในอนาคต ส่งเสริมการ ลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลยีสะอาด ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับการต่อยอดไปสู่การสร้างเทคโนโลยีแห่งอนาคตของประเทศ เพื่อ เป้าหมายให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางในปัจจุบันเป็นประเทศรายได้สูง ด้วยเหตุที่สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินที่กองทัพเรือได้รับมอบจากรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ เพื่อใช้ใน ภารกิจด้านความมั่นคงเป็นหลัก เมื่อมีการปรับมาใช้ประโยชน์ร่วมกันในเชิงพาณิชย์ตามมาตรฐานสากล จึงทำให้มีความแตกต่างในการใช้งานกับทางทหารหลายประการ ทำให้เกิดผลกระทบหรืออาจเกิดการ ละเมิดทางการปฏิบัติต่อกันในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่าโอกาสที่จะเกิดปัญหาในการปฏิบัติระหว่างการปฏิบัติ ภารกิจทางการทหารด้านความมั่นคงกับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการด้านการบินพลเรือน ที่ทั้งสองส่วนมี ความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านการบินร่วมกันเช่น ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศ ยาน ห้วงอากาศ และการควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น ข้อจำกัดสำคัญที่พบคือการขาดความ ชัดเจนในการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยในการดำเนินงานร่วมกัน จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรด้านการบินให้มีรูปแบบมาตรฐานการปฏิบัติตามมาตรฐานที่องค์การการบินพลเรือน ระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด โดยพบว่ามีปัญหาข้อจำกัดและแนวทางในการแก้ไข ดังนี้ในด้านการ ใช้ประโยชน์พื้นที่ร่วมกันจะเกิดผลกระทบต่อกรณีมีภารกิจพื้นที่ทับซ้อนกับพื้นที่ทางทหาร ควรแบ่ง พื้นที่ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ ๓ และโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน และอยู่นอกเขตพื้นที่ปฏิบัติการ ทางทหารที่ใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ในด้านการบริหารงานและการดำเนินการ เช่นการปฏิบัติใน สถานการณ์เร่งด่วนด้านความมั่นคง การรักษาความปลอดภัย และการช่วยเหลืออากาศยานและโดยสาร ในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ต้องมีการจัดทำข้อตกลงร่วมที่ชัดเจน ในด้านการพัฒนาการใช้ห้วงอากาศ และ การบริการการจราจรทางอากาศรองรับความแออัดของปริมาณอากาศยานที่ใช้ห้วงอากาศในอนาคต ควรมีการพัฒนาการใช้ห้วงอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแบบไร้รอยต่อ นอกจากนี้ในด้านงบประมาณ ในการดูแลกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสนามบิน และระบบเครื่องช่วยเดินอากาศ ต้องมีความชัดเจนเชิง นโยบาย และการกำหนดแผนงานไว้ในแผนงบประมาณประจำปี สำหรับในด้านโครงสร้างกำลังพล จำเป็นต้องมีการวางแผนระยะยาว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และประเด็นสำคัญคือ กองทัพเรือต้องมีแนวทางชัดเจนในการวางโครงสร้างการบริหารจัดการ การสร้างบุคลากรอย่างเป็น ระบบ และมีความเป็นนักบริหารมืออาชีพ เพื่อไม่เป็นข้อจำกัดของกองทัพเรือในการบริหารจัดการทั้ง ด้านเชิงพาณิชย์และภารกิจด้านความมั่นคงในอนาคต สามารถสนองต่อนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ ชาติ ๒๐ ปีได้อย่างสมบูรณ์ABSTRACT Title : Guidelines For U-Tapao Joint Use Military/Civilian Airport By : CAPTAIN Akares Yimmak RTN Major Field : National Security Research Advisor : Colonel ( Taksin Sirisingha ) July 2019 U-tapao Airport Development Project is the third international international commercial airport originated from government policy. In developing infrastructure to support air transportation of the country Driven by the Eastern Economic Corridor (EEC) plan that requires U-Tapao Airport to be a city of future aviation industry and promoting investment in industries that use high technology, clean technology coupled with the development of technology infrastructure and innovation for further expansion into the country's future technology to target Thailand from the trap of middle-income countries to be a high income country. As U-Tapao airport is under the Royal Thai Navy since assigned by government in 1966, it was mainly used for security missions. When being adapted for commercial use in accordance with international standards, therefore there are many differences in use with the military resulting in an impact or a possible violation of the practice in the future inevitably. This research is a qualitative research. The results of the research show that there is a potential problem in the practice of military security missions with service provider and civil aviation service users. That both parts are necessary to utilize the common aviation infrastructure, such as runway, taxiways, aprons, airspace and air traffic control, etc. The main limitation found is the lack of clarity in compliance with standards. Joint operation safety needs to be increased for the efficiency of the use of aviation resources to form a standard of practice In accordance with the standards set by the International Civil Aviation Organization (ICAO). It is found that there are problems, limitations, and guidelines for corrections as follows : In the area of common use, there will be an impact on the case of space overlaps with military areas. Should divide the construction area of the 3rd building and the clear infrastructure and outside the current military operating area. In administration and operation such as the practice of urgent situations in airport security, aircraft security and passenger assistance in various emergencies, a clear agreement must be established. In the development the use of airspace and air traffic services to support the amount of air traffic congestion in the future should develop the concept of air traffic management to increase seamless performance. In addition, in term of budget for overseeing the airport infrastructure and air navigation aids must have policy clarity and formulation of plans in the annual budget plan. For personnel structure, long-term planning is required. To support big changes and the important issue is the Royal Thai Navy must have clear guidelines for the management structure, systematic personnel building and being a professional manager. So these are not to be limitations for the Royal Thai Navy in the management for commercial purpose and national security missions in the future and able to fully respond to the government policy and the 20-year National Strategy.

abstract:

ไม่มี