เรื่อง: แนวทางการช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดให้มีโอกาสเข้าทำงาน,Guidelines for Helping Drug Recovery Person to be Employed
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย สุวิทย์ ธฤตกูร
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
.
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดให้มีโอกาสเข้าทำงาน
โดย : นายสุวิทย์ ธฤตกูร
สาขาวิชา : ความมั่นคงแห่งชาติ
อาจารย์ที่ปรึกษาประจำวิชา : พันเอก
)บรรพต สังข์มาลา(
กรกฎาคม ๒๕๖๒
ปัญหายาเสพติดส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและความมันคงของชาติ
และกลุ่มผู้เสพยาเสพติด เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด ยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านความมั่นคง ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่
ระบาดยาเสพติดในประเทศให้ลดลงอย่างไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของประเทศ และแผนการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือและให้โอกาส
ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง โดยในเรื่องการสร้างอาชีพ รายได้เป็นแนวทางหนึ่ง
ในการศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดให้มีโอกาสเข้าทำงาน
มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ ๑) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเข้าทำงานในสถานประกอบการของ
ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ๒) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การดำเนินงาน ผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการเข้าทำงานของผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ๓) หาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ผ่านการ
บำบัดรักษายาเสพติดให้มีโอกาสในการทำงาน
การศึกษาวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ๑) ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าทำงานในสถานประกอบการของ
ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด คือ ขาดการเชื่อถือ ความไว้วางใจ และการยอมรับจากผู้ประกอบการ .
ศักยภาพของตัวผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ขาดการขับเคลื่อนนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ในเรื่อง
ดังกล่าวอย่างจริงจัง ๒) แนวทางในการช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดให้มีโอกาสในการ
ทำงาน ต้องใช้ความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเริ่มจากภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจ
สภาพปัญหา ข้อเท็จจริงร่วมกัน และจัดระบบ กลไก การบำบัดรักษาและติดตาม ช่วยเหลือ ผู้ผ่านการ
บำบัดรักษายาเสพติดตั้งแต่ระดับส่วนกลางจนถึงพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด การมี
ส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติการด้าน
ข้อมูลข่าวสาร เพื่อปรับความคิด ทัศนคติให้เข้าใจนำไปสู่การยอมรับมากขึ้น การสร้างแรงจูงใจให้สถาน
ประกอบการเข้าร่วม ในส่วนของสถานประกอบการ ต้องให้โอกาสและนำแนวทางเชิงนวัตกรรมที่
สามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดได้ และเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการด้วย
abstract:
.
ABSTRACT
Title : Guidelines for Helping Drugs Recovery Person to be Employed.
By : Mr. Suwit Taritgura
Major Field : National Security
Research Advisor : Colonel
(Banpot Sangkhamala)
July 2019
The drugs problem has caused a wide impact towards the living of people
and National Security. Drugs user is an important target group of drugs epidemic
problem. The Strategy for National Security 2018-2037 has focused on drugs epidemic
problem and reduced the problem to not affect the country. The Drugs Prevention
and Control Plan 2018-2037 focus on the measure to provide help and opportunity to
drugs user.
The research “Guidelines for helping drugs recovery person to be
employed” aimed at: 1) To find out the problems and difficulties of Drugs Recovery
Persons to be employed or to get jobs. 2) To explore the theory, concept, operation
and research related to providing help to drugs recovery persons to be employed. 3)
To find out the way to help Drugs Recovery Person to be employed especially in work
places. The study was a qualitative research by studying from documentary research
and in-depth interview with a purposive sampling.
The results of study were as follows: The barriers of drugs recovery person
to employment is shown in many ways. Firstly, lack of trust and acceptance from
entrepreneurs, due to view of the relationship between drugs and crime or illegality. .
Secondly, the abilities and skills qualifications of drugs recovery person do not meet
the criteria. Finally, the problem of the strategy implementation.
Ways to help drugs recovery person to be employed is to require
cooperation in all sectors by starting from the government sectors such as adjusting
the mechanism of treatment and after-care services, improving a policy
implementation mechanism in all levels. The participation of agencies involved in
drugs user skill development. Use public relation or information operations to fine-tune
attitudes, recognitions, and to understand the context of drugs use. In the part of work
places or entrepreneur, they have to provide the opportunity and bring an innovative
approach that can help drugs recovery person and also benefit the work place as well.