Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22,Guideline of Motivation on Work Performance of the Army Officer In Headquarter, 22nd Military Circle

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. จักรกฤษณ์ เงินดี
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารกองบัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 22 โดย : พันเอก จักรกฤษณ์ เงินดี สาขาวิชา : อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พลตรี (ศุภธัช นรินทรภักดี) กรกฎาคม ๒๕๖๒ การที่องค์กรใดจะบรรลุถึงเป้าหมายแห่งความสำเร็จได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในองค์กรแรงจูงใจเป็นปัจจัยที่สำคัญช่วยขับเคลื่อนพลังในการทำงานให้รุกไปข้างหน้ามุ่ง ต่อความสำเร็จขององค์การ แต่ถ้าหากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานแต่ไม่มี แรงจูงใจในการทำงานอาจทำให้งานนั้นไม่ประสบผลสำเร็จขาดประสิทธิภาพทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจใน การปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อกำหนดแนวทางการ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร กองบัญชาการ มณฑลทหารบกที่ 22 กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้การวิจัย ได้แก่ ข้าราชการทหารกองบัญชาการมณฑลที่ 22 ที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหาร ระดับสูงจำนวน 4 คน และผู้บริหารระดับกลางจำนวน 23 คน รวมทั้งสิ้น 27 คน วิธีดำเนินการวิจัยใช้ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารมีดังนี้ กำลังพล มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาองค์กรน้อย วัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการ ปฏิบัติงานยังไม่เพียงพอ การกระจายความรับผิดชอบงานหรือภาระงานยังขาดความสมดุลในบาง หน่วยงานมีปริมาณงานมากน้อยไม่เท่ากัน โอกาสการเลื่อนตำแหน่งมีน้อย สวัสดิการบางอย่างไม่ สามารถเข้าถึงได้๒. แนวทางส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารมีดังนี้ควรมีการวาง แผนการเสริมสร้างแรงจูงใจที่ยั่งยืนและเห็นผลเป็นรูปธรรม ควรกำหนดความรับผิดชอบโดยพิจารณา ความรู้ความสามารถและความถนัด ส่งเสริมและพัฒนาผู้ปฏิบัติงานให้มีความเชี่ยวชาญในการที่ปฏิบัติ ควรมีกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี และส่งเสริมให้มีโอกาสเลื่อนยศหรือตำแหน่ง ที่สูงขึ้น จัดสวัสดิการที่ครอบคลุมถึงผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน ข้อเสนอแนะควรมีนโยบายในการเลื่อนตำแหน่งที่เป็นธรรมและควรศึกษารูปแบบในการ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพAbstract Title : Guideline of Motivation on Work Performance of the Army Officer in Headquarter, 22nd Military Circle By : Colonel Jakkrij Ngerndee Major Field : Research Advisor : Major General (Supathat Narindarabhakdi) July 2019 Any the organization to achieve the goal of success, work of personnel in the organization the motivation is an important factor that helps the work force to move forward, focusing on the success of the organization. But if the personnel with the knowledge and ability to perform the job but without motivation to work may result in the job being unsuccessful. The proposes of this studywere1) to study the concepts and theories related to motivation in the operation 2) to study and analyze motivation in the workand 3) to determine guideline of motivation on workperformance of the Army Officer inHeadquarter, 22nd Military Circle. The samples were selected from soldiers in the Army Officer in Headquarter, 22nd Military Circle, which had a position of 4 senior executives and 23 middle-level executives, a total of 27 people.Methods of study using in-depth interviews and group discussions.The research instrument using structured interview forms.The results of the study were as follows: 1) The problems and obstacles of the incentives for the performance of military officers are as follows: personnel are involved in the formulation of policies or guidelines for the development of the organization. Materials that are conducive to operation are not enough. The distribution of responsibilities, tasks or workloads still lacks balance in some departments with less workload. There are few opportunities for promotion. Some benefits are not accessible. 2) Guidelines for promoting motivation in the performance of military officers are as follows: there should be a plan to create sustainable motivation and see concrete results. Responsibility should be determined by considering knowledge, ability and aptitude. Promote and develop practitioners to have expertise in the practice. There should be activities to honor those who have good performance. The welfare should be provided that covers workers in all sectors. The suggestions for this study were: should have a policy of fair promotion andstudy of the pattern in enhancing the motivation to perform effective tasks.

abstract:

ไม่มี