Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good labour Practices: GLP) ไปใช้ใน,สถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า,Applying Good Labour Practices in Business to Enhance Trade Competitiveness

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย สุกิจ ครุฑคง
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี(Good Labour Practices: GLP ไปใช้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางการค้า โดย : นายสุกิจ ครุฑคง สาขาวิชา : การปฏิบัติการร่วม อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก หญิง ( อัมพาศรี ดำรงค์กุล ) กรกฎาคม ๒๕๖๒ ปัจจุบันสถานการณ์ในเวทีการค้าโลกมาตรฐานแรงงานได้ถูกนำไปเป็นประเด็นทางการค้า ในลักษณะการกีดกันผู้ประกอบการที่ไม่ได้ใช้หรือปฏิบัติให้สอดคล้องตามมาตรฐานแรงงานที่เป็นที่ยอมรับ ของคู่ค้าซึ่งในยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ได้กำหนดบนพื้นฐานแนวคิดมิติ “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต”ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบกิจการ กระทรวงแรงงานในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านแรงงานได้มีการจัดทำแนวปฏิบัติการใช้ แรงงานที่ดี(GoodLabourPractices:GLP)โดยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้รับการ สนับสนุนทางวิชาการจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคู่มือสำหรับส่งเสริม ให้สถานประกอบกิจการนำไปใช้ในการปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานที่สอดคล้องกับกฎหมาย และหลักการสากล ซึ่งในปัจจุบันพบว่าได้มีสถานประกอบกิจการนำไปใช้แล้วจำนวนหนึ่งแต่ยังมีอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้มีการนำไปใช้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและ หลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีและ ๒)ศึกษาการนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้ ในสถานประกอบกิจการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)แบบวิจัย เอกสาร(DocumentaryResearch)และการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depthInterview) โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายได้แก่กลุ่มตัวแทนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กลุ่มตัวแทน นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good labour practices: GLP)ไปใช้แล้วและกลุ่มตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างที่ยังไม่ได้นำไปใช้รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data) ที่ได้มาจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าเพื่อเป็นการยกระดับการบริหารจัดการแรงงานที่ดีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกภาคส่วนได้มีแนวคิดร่วมกันในการนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี(Good Labour Practices: GLP) ไปใช้ในสถานประกอบกิจการ โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)ให้การสนับสนุนทางวิชาการ นำมาซึ่งการปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานที่สอดคล้องกับกฎหมายและหลักการสากล ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของสถานประกอบกิจการในเวทีการค้าโลก การนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี(GoodLabourPractices:GLP)ไปใช้ ในสถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้านั้น ผู้วิจัยพบว่าควรต้องมี กระบวนการและขั้นตอนที่สำคัญต่างๆ ในการส่งเสริมและจัดทำตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกล่าวคือ ๑) การกำหนด แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้ประกอบด้วยการกำหนดขอบเขตการกำหนดเนื้อหาลักษณะการบังคับใช้ การมีส่วนร่วม ๒) การนำมาปฏิบัติ ประกอบด้วยการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญ การฝึกอบรม การกำหนด หน่วยงานหรือบุคคลดูแล ๓) การติดตามดูแล ประกอบด้วยระบบการติดตามดูแลภายใน ระบบการติดตามดูแล จากภายนอก ๔) การแก้ไขเยียวยา ๕) การตรวจสอบรับรอง ๖) การรายงานและการเปิดเผยซึ่งจะทำให้มีความ ชัดเจนเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติและเกิดการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายABSTRACT Title : Applying Good Labour Practices in Business to Enhance Trade Competitiveness By : Mr. Sukit Khrutkhong Major Field : Joint Operations Research Advisor : Colonel (Aumpasri DamrongKul) July 2019 Present situation in the world trade arena Labour standards have been brought into trade issues. In the form of discouraging entrepreneurs who are not using or complying with the labour standards that are acceptable to partners Which in the national strategy for creating competitiveness Has determined based on the concept of dimension "create new value in the future" by increasing the potential of the entrepreneurThe Ministry of Labour, as a division of labour responsibility, has established the Good Labour Practices (GLP) with the cooperation of all stakeholders. Received academic support from the International Labour Organization (ILO). The purpose is to be a guide for promoting the establishment to be used to improve the conditions of employment and working conditions that are consistent with international law and principles. Which at present found that a number of enterprises have been used But there are still many that have not been used The researcher is therefore interested in studying this subject. With the objectives for 1) to study and analyze the concepts and principles of labour use practices and 2)tostudyApplyingGoodLabourPracticesinBusinesstoEnhanceTrade Competitiveness Method The researcher used qualitative research, documentary research, and in-depth interview, using primary data obtained from the target group interview, including the representative group. Administration and staff Representatives of employers and employees in the workplace that have adopted the Good Labour Practices (GLP) guidelines and the employer and employee representatives who have not applied Including secondary data obtained from the study of concepts, theories and literature reviews And related research The results showed that in order to raise the level of good labour management Stakeholdersevery sector hasan idea to apply Good LabourPractices (GLP) principles to use. In the workplace By the International Labour Organization (ILO) providing technical support Bring to improve the employment conditions and working conditions that are in line with international law and principles Help strengthen Trade competitiveness of enterprises In the world trade arena ApplyingGoodLabourPracticesinBusiness to Enhance TradeCompetitiveness The researcher found that there should be a process And various important steps for promotion and preparation,namely1) the determinationofgoodlabourpracticesConsistsof defining boundaries Content determination Enforcement characteristics Participation 2 ) Implementation Consisting of awareness and awareness of importance, training, formulation of departments or individuals to take care of 3) Monitoring Consists of an internal monitoring system External monitoring system 4) Remedy 5) Certification examination6) Reportingand disclosureWhichwillmakeitclearandappropriatefor implementation And being accepted by all related partiesก คำนำ กระทรวงแรงงานในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบภารกิจด้านแรงงาน ได้จัดทำแนวปฏิบัติ การใช้แรงงานที่ดี(Good Labour Practices: GLP)ขึ้นทั้งในแบบทั่วไปและแบบที่ใช้เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นกลไกที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ประกอบด้วยหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ บังคับใช้กฎหมายกลุ่มผู้ประกอบกิจการ สหภาพแรงงาน และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยการสนับสนุน ทางวิชาการจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ได้รับการยอมรับในระดับสากลจึงสามารถส่งเสริม การคุ้มครองสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานและป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งดำเนินการส่งเสริมให้ สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาดนำไปปฏิบัติต่อแรงงานในสถานประกอบกิจการของตนด้วย ความสมัครใจเพื่อพัฒนาสถานประกอบกิจการให้มีระบบบริหารจัดการแรงงานที่ดีเทียบได้กับมาตรฐานสากล ส่งผลที่ดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่สถาน ประกอบกิจการในการแข่งขันทางการค้าอย่างยั่งยืน มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เกิดภาพลักษณ์และ สังคมที่ดีของประเทศโดยในปัจจุบันพบว่าได้มีสถานประกอบกิจการนำไปใช้แล้วจำนวนหนึ่ง แต่ยังมีอีก จำนวนมากที่ยังไม่ได้นำไปใช้หรือปฏิบัติ จากกระแสการค้าโลกที่ส่งผลกระทบในด้านการค้าระหว่างประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าการนำ หลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ไปใช้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้านั้นมีความสำคัญ โดยเป็นการเพิ่มศักยภาพของ ผู้ประกอบกิจการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดการค้าโลก ซึ่งจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยสามารถเผชิญความท้าทายในประเด็นการแข่งขันของประเทศเป็นอย่างมาก ผู้วิจัยจึงสนใจดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ในการนำผลของการวิจัยพร้อมทั้งข้อเสนอแนะไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำและส่งเสริมการนำ หลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี(GoodLabourPractices:GLP)ไปใช้รวมทั้งการศึกษาวิจัย ในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป (นายสุกิจ ครุฑคง) นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๐ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ข กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านของวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ที่ท่านได้กรุณาประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ในเรื่องของภาวะผู้นำการจัดทำยุทธศาสตร์ การบริหารงาน และการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำ เอกสารวิจัยนี้ เอกสารวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีโดยความช่วยเหลือสนับสนุนจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย ได้แก่ พันเอก หญิงอัมพาศรีดำรงค์กุล ประจำกรมแผนที่ทหาร ช่วยราชการวิทยาลัยเสนาธิการทหารสถาบัน วิชาการป้องกันประเทศและอาจารย์ที่ปรึกษาสายวิทยาการได้แก่ นางโสภา เกียรตินิรชาผู้ตรวจราชการกรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำแนวทางในการดำเนินการวิจัยอย่างใกล้ชิด และให้คำปรึกษางานวิจัยอย่างดียิ่งตลอดห้วงระยะเวลาของการทำวิจัยซึ่งผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้นอกจากนี้ผู้วิจัยขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ที่ได้เสียสละเวลาสนับสนุนข้อมูล และให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำเอกสารวิจัยในครั้งนี้ นายสุกิจ ครุฑคง นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๐ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ คสารบัญ หน้า คำนำ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ฉ สารบัญแผนภาพ ช บทที่ ๑ บทนำ ๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ๑ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๓ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ๓ ขอบเขตของการวิจัย ๔ ระเบียบวิธีวิจัย ๔ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ๔ นิยามศัพท์ ๕ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย ๖ กรอบแนวคิดของการวิจัย ๗ บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ๘ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ๘ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๙ ยุทธศาสตร์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ๑๑แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงาน ๑๔ หลักการจัดการมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์กรและสมาคม ๒๑ ง สารบัญ (ต่อ) หน้า แนวคิดทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม ๒๘ แนวคิดและหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ๓๒ คู่มือแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับสถานประกอบกิจการทั่วไป (Good Labour ๓๔ Practices Guidelines for Workplace) อนุสัญญาหลักและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๔๑ ความรู้ทางวิชาการ แนวความคิด ที่ใช้ในการดำเนินการ ๔๔ ผลการส่งเสริมสถานประกอบกิจการ และการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี ๔๙ (Good Labour Practices: GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการแรงงาน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๕๐ สรุปการทบทวนวรรณกรรม ๕๒ บทที่ ๓ วิธีดำเนินการวิจัย ๕๖ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย (Key Informants) ๕๖ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ๕๖ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๕๗ การวิเคราะห์ข้อมูล ๕๗ บทที่ ๔ ผลของการวิจัย ๕๙แนวคิดและหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ๕๙ การนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ๗๓ ไปใช้ในสถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า - การนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ๗๖ ไปใช้ในสถานประกอบกิจการ ดำเนินการอย่างไร จ สารบัญ (ต่อ) หน้า - การนำหลักการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ๗๘ ไปใช้ในสถานประกอบกิจการ จะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า - ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และนายจ้างไม่เอารัดเอาเปรียบในการจ้างแรงงาน ๗๙ - สินค้าและบริการของผู้ประกอบการ ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากคู่ค้า ๘๐ และผู้ใช้บริการ - ประเทศชาติมีภาพลักษณ์ที่ดี และสามารถแข่งขันได้ ๘๑ บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ ๘๗ สรุปผลการวิจัย ๘๗ อภิปรายผลการวิจัย ๘๙ ข้อเสนอแนะ ๙๑ บรรณานุกรม ๙๓ ภาคผนวก ๙๖ประวัติย่อผู้วิจัย ๑๐๐ ฉ สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า ๒.๑ สรุปรายชื่ออนุสัญญาหลักและจำนวนประเทศที่ให้สัตยาบัน ปี๒๕๔๘ ๑๗ ๒.๒ มาตรฐานแรงงานหลัก(CoreLabourStandards)ของILO ๒๑ช สารบัญแผนภาพ แผนภาพที่ หน้า ๒.๑ ผลการดำเนินการส่งเสริมสถานประกอบกิจการ ๔๙ ๒.๒ การที่นำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ไปใช้ ๕๐ ๔.๑ ผลการดำเนินการส่งเสริมสถานประกอบกิจการ ๗๕ ๔.๒ การที่นำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ไปใช้ ๗๖

abstract:

ไม่มี