Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพลที่ย้ายบรรจุใหม่ในเรือรบของกองเรือยุทธการ โดยการใช้ระบบมาตรฐานการทดสอบกำลังพล (PQS) กรณีศึกษาเรือหลวงรัตนโกสินทร์,The Guidelines for enhancing the readiness of new personnel for operating on the Navy ship in the Royal Thai Fleet by using the Personnel Qualification Standard (PQS) : A Case Study on ,H.T.M.S. Rattanakosin,

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. สราวุธ สมสาย ร.น.
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพลย้ายบรรจุใหม่ใน เรือรบของกองเรือยุทธการ โดยการใช้ระบบมาตรฐานการทดสอบกำลังพล (PQS) : กรณีศึกษาเรือหลวงรัตนโกสินทร์ โดย : นาวาเอก สราวุธ สมสาย สาขาวิชา : เอกสารวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก................................................. ( จิรานุวัฒน์ ศักดิ์เสือ ) กรกฎาคม ๒๕๖๒ กำลังพลของกองทัพ เป็นตัวแปรอย่างหนึ่งที่จะชี้วัดความพร้อมของกองทัพ กองทัพเรือซึ่ง มีหน้าที่เตรียมกำลังรบทางเรือให้มีความพร้อม เห็นว่าองค์บุคคลเป็นปัจจัยอันดับต้นที่ต้องให้ ความสำคัญ จึงมุ่งเน้นพัฒนาองค์บุคคล โดยกำหนดนโยบายของกองทัพเรือว่าจะปฏิบัติงานให้ได้อย่าง มืออาชีพ (Professional Navy) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ ดังนั้นหน่วยกำลังรบอย่างกองเรือยุทธการจึงมี แนวคิดการใช้ระบบมาตรฐานการทดสอบกำลังพล (PQS) มาเพิ่มขีดสมรรถนะของกำลังพล ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานของ กำลังพลย้ายบรรจุใหม่ในเรือรบของกองเรือยุทธการ โดยการใช้ระบบมาตรฐานการทดสอบกำลังพล (PQS): กรณีศึกษาเรือหลวงรัตนโกสินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อม ในการปฏิบัติงานของกำลังพลในเรือรบของกองเรือยุทธการ ๒) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความ พร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพลที่ย้ายบรรจุใหม่ในเรือรบของกองเรือยุทธการ โดยใช้ระบบ มาตรฐานการทดสอบกำลังพล (PQS) วิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนระดับผู้บริหารนโยบายด้านกำลังพลของกองทัพเรือ และตัวแทนผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องของ กองเรือยุทธการ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้แทนกำลังพลที่มีประสบการณ์ทดลองใช้ระบบมาตรฐานการทดสอบกำลังพล (PQS) ในแผนกต่าง ๆ ของเรือหลวงรัตนโกสินทร์รวมทั้งเก็บ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพลประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบคือ ๑)องค์ประกอบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา และภาวะ สุขภาพ ๒)องค์ประกอบแนวคิดปัจจัยภายใน ได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ แนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรม และบุคลิกภาพ ๓)องค์ประกอบแนวคิดปัจจัยภายนอก ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา เพื่อน ชั้นทางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่นำไปกำหนดแนวทางเชิงกลยุทธ์เพื่อ เสริมสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพลย้ายบรรจุใหม่ของกองเรือยุทธการ แนวทางเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการเสริมสร้างความพร้อมในการปฏิบัติงานของกำลังพล ย้ายบรรจุใหม่ของกองเรือยุทธการ ประกอบไปด้วย ๓ แนวทางเชิงกลยุทธ์ย่อย คือ ๑) แนวทางเชิงกล ยุทธ์กระบวนการสร้างความพร้อมจากภายใน ๒) แนวทางเชิงกลยุทธ์กระบวนการสร้างระบบมาตรฐาน การทดสอบกำลังพลของกองเรือยุทธการ และ ๓) แนวทางเชิงกลยุทธ์กระบวนการสร้างความพร้อมจาก สิ่งแวดล้อมภายนอก จากแนวทางเชิงกลยุทธ์ดังกล่าว สามารถจัดทำเป็นแนวทางกลยุทธ์ย่อยลงสู่ระดับ ปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้กำลังพลที่ย้ายมาบรรจุใหม่ของกองเรือยุทธการมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน รวมถึงกำลังพลเดิมที่สามารถเรียนรู้ในหน้าที่อื่นเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

abstract:

ABSTRACT Title : The Guidelines for enhancing the readiness of new personnel for operating on the Navy ship in the Royal Thai Fleet by using Personnel Qualification Standard (PQS) : A Case Study on H.T.M.S. Rattanakosin By : Captain Sarawut Somsai RTN. Major Field : Military Research Advisor : Colonel................................................. ( Jiranuwat Saksua ) July 2019 Armed forces personnel is one of the indicators that will measure the readiness of the Armed forces. Royal Thai Navy has the duty to prepare the naval power to be competent. Royal Thai Navy focuses on developing the personnel as the Navy's policy to be a professional Navy in 2024. Therefore Royal Thai Fleet has the concept of using the Personnel Qualification Standard (PQS) to increase the readiness of the personnel. The researcher is interested in studying how to enhance the new personnel for operating on the Navy ship of Royal Thai Fleet by using the Personnel Qualification Standard (PQS). The objectives of this study are 1) to study the factors which affect on readiness in a personnel 2) to present the approaching strategy to enhance the readiness in personnel. A Research is a qualitative research is used in this study. The in￾depth interviews with the master data (Key Informant) were conducted on the policy administrator and the commander groups in their enhancing the readiness. The focus group were conducted on crews of H.T.M.S. Rattanakosin. This includes collecting information from related academic documentary.The study found that factors which affect on enhancing the readiness of personnel in consist of three factors which are 1) Individual factors include Age, Salary, Education and Health, 2) Internal factors include Motivation, Perception, Learning, Attitude, Behavior and Personality. 3) External factors include Commander, Friend, Social Class and Culture. These main factors are used to determine the sub approaching strategy to enhance the readiness in personnel. The approaching strategy to enhance the readiness in personnel include three sub-strategy models. These are: 1) create internal enhances the readiness approaching strategy 2) adjust Personnel Qualification Standard: PQS processes approaching strategy model, and 3) create enhancing of external environment approaching strategy. The sub-strategy models are utilized to create strategic planning in the operational level in order to enhance the readiness of new personnel, to increasing number of personnel efficiency, and in another positions.