Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาการจัดทำเอกสารวิจัยในหลักสูตรเสนาธิการทหาร,The Study of Guidelines for Development of Joint War Course Research

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. สกัณฐ์ สัตยดิษฐ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

ไม่มี

abstract:

ABSTRACT Title : The study of guidelines for development of Joint War Course’s research. By : Group Captain Sakan Sattayadit Major Field : Military Research Advisor : Group Captain ( Don Klaitabtim ) July 2019 The two crucial objectives of this research were: To study the factors affect research achievement of Joint War College graduates and to be guidelines to develop Joint War Course’s research. This research is qualitative research by using the primary data collected from target group which devided into 3 parts: 1) Deep Interviews, 2) Focus Group and 3) Analyze Documents after that using Methodological triangulationto confirm of the findings and then use Delphi Technique to analyze the data. The samplings applied in this research were Joint War College’s graduates which divided into 2 groups: 1) Deep interviews 3 persons from executives, ex-executives, instructor, ex-instructor of Joint War College which have experiencestostudy factors affect achievement of supporting Joint War Course’s research 2) Focus Group 3 persons from Joint War College graduate who work at various organization including secondary data that derived from the document, theory studies, as well as the reviewing of the literature involved. The research findings arethe quality of Joint War Course’s research are at fair level as some Joint War Course’s graduate do not have intention and motivation to do a quality research. The factors affect research achievement are factor of administration, factor of instructor, factor of student and factor of learning-teaching. The guidelines to develop Joint War Course’s research are 1) Persons involved should participate in define guideline and examine by experts 2) To define guidelines, should based on conceptual, theory, semi-military interview and focus group. The study also finds that there are 2 main guidelines to develop Joint War Course’s research: 1) Development of research administration e.g. develop information systems for searching, develop instructors, support instructor for higher education, appoint experienced external advisors, develop students to be motivated by using rewards, develop learning-teaching, Co-research with other military institutes. The guidelines should be mixed together and cannot use only one guideline.บทคัดย่อ เรื่อง : การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาการจัดทำเอกสารวิจัยในหลักสูตรเสนาธิการทหาร โดย : นาวาอากาศเอก สกัณฐ์สัตยดิษฐ์ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (ดอน คล้ายทับทิม) กรกฎาคม ๒๕๖๒ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญสองประการ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ด้านการวิจัย ของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหาร และ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาด้านการ วิจัยของหลักสูตรเสนาธิการทหาร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิ โดยแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ๑) การสอบถามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งทางการ ๒) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ ๓) การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลทั้งหมดมาตรวจสอบ โดยวิธี Triangulation การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เมื่อตรวจสอบแล้วจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธี เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique Analysis) ประกอบการสัมภาษณ์ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร เสนาธิการทหาร แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งทางการจำนวน ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติระดับ ผู้บริหาร อดีตผู้บริหาร อาจารย์ อดีตอาจารย์วิทยาลัยเสนาธิการทหาร ที่มี ประสบการณ์ สำหรับการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการวิจัยของหลักสูตร เสนาธิการทหาร กลุ่มที่สอง เป็นการ Focus Group จำนวน ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร เสนาธิการทหาร ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่ได้จากเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ มา วิเคราะห์แนวทางเพื่อพัฒนาการจัดทำเอกสารวิจัยในหลักสูตรเสนาธิการทหาร ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าคุณภาพงานวิจัยของ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร อยู่ในระดับ ปานกลาง จะเห็นจาก นศ.บางคน ทําวิจัยเพียงให้มีผลงาน ส่งประกอบการสําเร็จการศึกษา ขาดความตั้งใจ แรงจูงใจ และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัย มีด้านหลัก คือ ปัจจัยด้าน การบริหารจัดการหลักสูตรวิจัย, ปัจจัยด้านผู้สอน, ปัจจัยด้านผู้เรียน และ ปัจจัยด้านการเรียนการสอน โดยพบว่าแนวทางการพัฒนาด้านการวิจัยของหลักสูตรเสนาธิการทหาร คือ ๑) ควรนําผู้เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการกําหนดแนวทาง รวมทั้งตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ ๒) การกําหนด แนวทาง ควรใช้การวิจัยเป็นฐาน จาก ๓ วิธีคือ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การสัมภาษณ์แบบกึ่งทางการ และการสนทนากลุ่ม เป็นการนําจุดแข็งของแต่ละวิธี ทําให้ได้แนวทางที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น ตรวจสอบยืนยันซึ่งกันและกัน และจากการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาด้านการวิจัยของหลักสูตร เสนาธิการทหาร มีแนวทางหลัก คือ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการหลักสูตรวิจัย เช่น พัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อการค้นคว้า, การพัฒนาด้านผู้สอน ส่งเสริมให้อาจารย์เรียนต่อ แต่งตั้งอาจารย์ภายนอกที่ มีความรู้เป็นที่ปรึกษา, การพัฒนาด้าน ผู้เรียน เพิ่มแรงจูงใจโดยการให้รางวัล, การพัฒนาด้านการเรียน การสอน จัดทําหลักสูตรวิจัยร่วมกันระหว่างสถานศึกษาวิชาชีพทางทหาร ซึ่งจะเห็นว่าแนวทางการ ส่งเสริมการวิจัยต้องอาศัยแนวทางจํานวนหนึ่ง ไม่สามารถใช้เพียงแนวทางเดียวได้