เรื่อง: การปรับเปลี่ยนองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),Digital Transformation : A Case Study of TOT Public Company Limited
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย วรนิติ์ ลิมปาคม
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง : การปรับเปลี่ยนองค์กรดิจิทัล กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
โดย : นายวรนิติ์ ลิมปาคม
สาขาวิชา : เทคโนโลยีสารสนเทศ
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(บรรพต สังข์มาลา)
กรกฎาคม ๒๕๖๒
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ. ทีโอที เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสาร
โทรคมนาคม ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) มีผู้ถือ
หุ้นใหญ่คือ กระทรวงการคลัง เดิมคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งแยกตัวออกมาจาก
กรมไปรษณีย์โทรเลขฯ เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ปัจจุบัน บมจ. ทีโอที
ได้ให้บริการกับผู้ใช้บริการทั่วไป ทั้งผู้ใช้บริการประเภท บ้านพักอาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่
รวมถึงบริษัทที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ด้วยบริการหลากหลาย
อาทิ โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และ 4G บริการอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีADSL และ
บริการอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber2U) บริการ Internet Data Center (IDC),
Cloud, บริการดิจิทัลโซลูชั่นภาครัฐ ฯลฯ เป็นต้น
ตลอดระยะเวลากว่า ๖๕ ปีที่ผ่านมา บมจ. ทีโอที มีอัตราการเติบโตทางด้านรายได้ที่
ลดลง เมื่อเทียบกับมูลค่ารายได้รวมของอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูงทุกปี นับตั้งแต่ บมจ.ทีโอที มีการ
แปรสภาพจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่ง
ประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๗ มาเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ด้วยการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน และจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท มหาชน จำกัด
โลกยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก มีความผันผวน ความไม่แน่นอน
ความสลับซับซ้อนและคลุมเครือมากขึ้น ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีในยุค ๔.๐ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ระบบประมวลผลแบบก้อนเมฆ (Cloud
Computing) การพิมพ์ ๓ มิติ (3D Printing) อากาศยานไร้คนขับ (UAV/Drone) การใช้สกุลเงินดิจิทัลคริบโต (Crypto Currency) การเชื่อมต่อของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หรืออุปกรณ์
ประเภทสวมใส่เพื่อตรวจวัดสุขภาพ (wearable) หุ่นยนต์ (Robot) หรือระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ
(Automation vehicle) และการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งล้วนแล้วแต่
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจบางแห่งมีความสามารถในการเรียนรู้เร็ว แต่ในทางตรงกันข้าม ก็
สามารถทำให้บางธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทันต้องถูกกระทบอย่างรุนแรงจนอาจถึงขั้นล้มหายตายจากไป
(Disrupt) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “การที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่ นอกจากต้องพร้อมที่
จะเรียนรู้ตลอดเวลาแล้วนั้น จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เร็วด้วย” ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ธุรกิจต่าง
พยายามทำตัวเองให้ใหญ่โตเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด “Economy of Scale” แต่โลกในอนาคต
ความเร็วกว่าถึงได้เปรียบ “Economy of Speed” ซึ่งการจะปรับตัวได้เร็ว จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ให้เร็วด้วยเช่นกัน “Learn Fast, Change Fast” (“รัฐวิสาหกิจยุคใหม่กับ Thailand ๔.๐”, สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, ๒๕๖๑)
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนองค์กรดิจิทัล กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด
(มหาชน) ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาและวิเคราะห์การตอบสนองต่อการพลิกผันทาง
เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) ด้วยทฤษฎีการปรับเปลี่ยนองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation)
ของกิจการในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาและวิเคราะห์
กรณีของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบกับทฤษฎีการปรับเปลี่ยนองค์กรดิจิทัล กับแนวทาง
การดำเนินงานภายในบริษัท รวมถึงศึกษาระเบียบวิธีปฏิบัติ ประกาศ คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้มี
การดำเนินการไปแล้ว และหรือที่อาจกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาสภาพปัญหาที่
เกิดจากการพลิกผันทางดิจิทัล หรือ Digital Disruption ของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในประเด็นของสภาพปัญหาของ บมจ.ทีโอที ที่เกิดจากสถานภาพองค์กร
โครงสร้างและการจัดการองค์กร ปัญหาและผลกระทบที่เกิดกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และจากการพลิกผันทาง
ดิจิทัลเพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนองค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ที่เหมาะสมกับองค์กรABSTRACT
Title : Digital Transformation: A case study of TOT Public Company Limited
By : MR. Woraniti Limpakom
Major Field : Information Technology
Research Advisor : Colonel
(Banpot Sangmala)
July 2019
TOT Public Company Limited or “TOT” is one of the state-owned
telecommunications companies, under the supervision of the Ministry of Digital
Economy and Society (MDES), with the Ministry of Finance as a major shareholder.
Formerly, TOT was known as the Telephone Organization of Thailand Which separated
from the Post and Telegraph Department in 1954. TOT is one of the largest State
Enterprise in Telecommunication sectors in the country. At present, TOT has provided
various services to the customers; both residential and businesses, small, medium and
large enterprises; including corporates with large subsidiaries both locally and
international. For example, basic PSTN telephones, 3G and 4G mobile phones, internet
services with ADSL technology and Fiber technology, Internet Data Center (IDC), Cloud,
digital services, government sector solutions, etc. etc.
Over the past 65 years, TOT has experienced a decline in revenue growth.
When compared to the total revenue of the industry that is at a high level every year
since TOT Plc transformed from the Telephone Organization of Thailand, under the
Telephone Organization of Thailand Act, BE 2497 (1954), toTOT Public Company Limited
since 1999, under the Public Limited Companies Act, B.E. 2535(1992)
Nowadays, new technologies have changed our ways of livings, more
complex and obscure Combined with technology in the fast-changing era such as Artificial Intelligence Technology, Cloud Computing, 3D Printing, Unmanned Aircraft (UAV
/ Drone) Digital currency, Crypto-currency, Internet of Things or wearable devices for
remotely health monitoring, robots or automation drivingvehicles. The Capability power
to process large amount of Information (Big Data), which help some businesses to have
the ability to learn quickly, while on the contrary It can cause some businesses that are
unable to adjust to be severely impacted and may even be left out of business.
Therefore, it can be said that "The success of the business in the modern world
depends not only being ready to learn all the time, but being adapted quickly as
well", which is different from the past in which businesses tried to make themselves big
in order to achieve “Economies of Scale”, here comes the velocity; "Economy of
Speed"; which can be adapted quickly. Another words of thought; "Learn Fast, Change
Fast" ("Modern Enterprises with Thailand 4.0", State Enterprise Policy Office, 2018)
This research on Digital Transformation: a case study ofTOT Public Company
Limited, is a qualitative research. Author studies and analyzes how companies respond
to digital disruption in the telecommunications industry. Specifically, being focusing on
the study and analysis of the case of TOT Public Company Limited compared with the
theory of Organizational Management with guidelines for internal operations Including
studying regulations, procedures, announcements, relevant orders, which has already
been implemented or perhaps, currently in progress. Author also analyzes and studies
on issues of company caused by being the state enterprise status, the problem of the
company structure and management and any consequences caused by laws,
regulations, orders and from digital disruption. Then, author would present a digital
transformation approach that is suitable for the company.
abstract:
ไม่มี