Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาแนวทางการปฏิบัติการร่วมพลเรือน-ทหาร บรรเทาสาธารณภัยในภาวะสงครามหรือประกาศกฏอัยการศึก,Studying Civil-Military Operations in disaster relief during war time or martial law declaration

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ยุทธนพงษ์ นพกุลสถิตย์ ร.น.
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การศึกษาแนวทางการปฏิบัติการร่วมพลเรือน-ทหาร บรรเทาสาธารณภัยในภาวะ สงครามหรือประกาศกฎอัยการศึก” โดย : นาวาเอก ยุทธนพงษ์ นพกุลสถิตย์ สาขา : การเมืองการปกครองและการทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พลตรี (ศุภธัช นรินทรภักดี) กรกฎาคม ๒๕๖๒ การศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการปฏิบัติการร่วมพลเรือน-ทหาร บรรเทาสาธารณ ภัยในภาวะสงครามหรือระหว่างประกาศกฎอัยการศึก เป็นการนำการปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติในยาม ปกติมาเปรียบเทียบปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะสงคราม ซึ่งมีการประกาศกฏอัยการศึกที่ทางทหารจะ มีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายพลเรือน ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (Methodology) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) และกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพไทย ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ตอบสนองภารกิจได้อย่างเต็มขีด ความสามารถ บรรเทาความเดือดร้อน ลดการสูญเสีย สร้างขวัญและกำลังใจ ในการรับมือกับภัยพิบัติ รวมทั้งตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประสบสาธารณภัยในยามสงคราม ผลจาการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐมียุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐) ทำแผนแม่บทรองรับ กรณีนี้ยึดตามยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ประเด็นที่ 3 การ พัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญกับภัยคุกคาม” โดยภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้นในประเทศไทย ผล การศึกษาพบว่า ในสถานการณ์ปกติ กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก มี พ.ร.บ.ป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ และแผน พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นกลไกขับเคลื่อน กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพให้ การสนับสนุนตามแผน มีการจัดการฝึกร่วมกันเพื่อทดสอบแผนดังกล่าว แต่เป็นการฝึกทักษะของหน่วย ปฏิบัติและการฝึกเพื่อสาธิตการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ยังไม่มีตำรา หลักนิยมการปฏิบัติการร่วมการบรรเทา สาธารณภัยระหว่างทหารและพลเรือนในภาวะสงคราม จากการศึกษาพบว่า อุปสรรค ที่ส่วนใหญ่ตอบตรงกันได้แก่ ๑. เอกภาพการสั่งการและการ บังคับบัญชาในระดับรองของหน่วยต่างๆ ๒. ไม่ใช้ช่องทางเดียวกันในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ขาดการบูรณาการ ๓. วัฒนธรรมการทำงานแตกต่าง ไม่มีหลักปฏิบัติหรือคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) ในงานนั้นๆ ๔. มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้รับผิดชอบ ความรู้ความเข้าใจงาน องค์ความรู้อยู่ที่ตัวบุคคล นอกจากนั้น ภาระงาน อัตรา ประจำของทหารมีไว้เพื่อการรบและการป้องกันประเทศเป็นหลัก การจะจัดหา ยุทโธปกรณ์ใดๆ เพื่อการบรรเทาสาธารณภัยโดยตรงทำไม่ได้ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติ ทหารจะเป็น หน่วยงานแรกที่ต้องเข้าพื้นที่ก่อน ตามที่ระบุไว้ในแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ในขณะที่ การประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ เป็นหน้าที่ของ กระทรวงมหาดไทย การใช้ งบประมาณในการ ช่วยเหลือประชาชนจากงบกลาง ทำได้ต่อเมื่อประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติและ มท.ร้องขอให้เข้าไปช่วย แตกต่างจากกรณีของสภาวะสงคราม ที่ พรบ.กฏอัยการศึก พ.ศ.๒๔๖๗ มอบอำนาจสิทธิให้ทหาร กระทำกิจใดๆ ที่เห็นว่าเป็นการลดผลกระทบต่อความมั่นคงได้ และนั่นจึงเป็นเหตุเป็นผล สนับสนุนให้ กองทัพภาค ควรทำหน้าที่ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรณีเกิดภัยพิบติใหญ่ในยามสงคราม โดย มณฑล ทหารบก จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานในพื้นที่เขตหลัง ทหารนำ พลเรือนตาม และใช้ศักยภาพของภาค พลเรือน และเอกชนมาสนับสนุนงานบรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทยในยามสงคราม ผู้บัญชาการ เหตุการณ์มีพลเรือนเป็นหัวหน้า อยู่ภายใต้แม่ทัพภาคหรือผู้แทนทหารเป็นผู้อำนวยศูนย์บรรเทาสาธารณ ภัยแห่งชาติในพื้นที่สงคราม ปฏิบัติการร่วมเป็นไปตามแผนบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติที่มีอยู่ทั้งปวง ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยแนวทางการปฏิบัติการร่วมพลเรือน-ทหาร บรรเทาสา ธารณภัยในภาวะสงครามหรือระหว่างประกาศกฎอัยการศึก ของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพไทย ต้องปรับปรุงในเรื่อง การตั้งงบประมาณภัยคุกคามด้านสาธารณภัย มีอัตราของชุดทหารบรรเทาภัยพิบัติ ประจำในหน่วย จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์เป็นบัญชีพร้อมเรียก (All Call List) เพื่อการบรรเทาสา ธารณภัยได้ เตรียมการการเคลื่อนย้ายสิ่งอุปกรณ์ (Load List) จำนวน น้ำหนักไว้ตั้งแต่ยามปกติเพื่อ ประสานไปยังหน่วยรับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว จัดทำคู่มือปฏิบัติ (SOP) จัดตั้ง เครือข่ายการติดต่อสื่อสารร่วม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ เพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างพลเรือน-ทหารให้ดียิ่งขึ้น การศึกษาวิจัยในครั้งต่อไป ควร ใช้ระเบียบวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เปรียบเทียบกับหน่วยงานด้านการศึกษาภายนอกกองทัพ และเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศต่อไป น.อ.ยุทธนพงษ์ นพกุลสถิตย์ ร.น. นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๖๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒

abstract:

ABSTRACT Title : Studying Civil-Military Operations in disaster relief during war time or Martial law Declaration By : Senior Captain Yuttanapong Noppakulsatit, RTN Major : Socio – Psychology Research Advisor : Major General (Supathat Narindarabhakdi) July 2019 Research study on the study of civil-military cooperation practices In the event of a disaster at war or declaring martial law Is the implementation of disaster relief operations in normal times to compare, adapt to be suitable for war conditions Which has declared the military law that the military will have power over the civilian department The researcher has defined research methodology or research methodology. (Methodology) Qualitative (Qualitative Research) Documentary research and in￾depth interview of the Thai Army Disaster Relief Center To be fast In time. The researcher has defined research methodology or research methodology. ( Methodology) Qualitative ( Qualitative Research) Documentary research and in-depth interview of the Thai Army Disaster Relief Center To be fast In time Fulfilling the mission to the fullest capacity Alleviate suffering, reduce loss, create morale In dealing with disasters As well as responding to the needs of people in the area experiencing disaster in times of war. The results of the study showed that Constitution of the Kingdom of Thailand Requiring the state to have a 20-year national strategy (2018-2017) to support the master plan. This case is based on the security strategy. Issue 3: Developing the potential of the country to face threats The study indicated that In normal circumstances The Ministry of Interior is the main responsible unit, with the Disaster Prevention and Mitigation Act BE 2550 and the plan of 2016 Is a driving mechanism Ministry of Defense by the army to support the plan. There are training exercises together to test the plan, but it is the practice of the unit's skills and training to demonstrate the use of equipment. There are no main texts, popular practices, joint relief operations between soldiers and civilians at war. From the study, it was found that the obstacles that most responded to were: 1. Unity of command and command at the secondary level of various units. Lack of integration 3. work culture is different There is no practice or operation manual (SOP) in that job. 4.There is a rotation of the responsible personJob understanding Knowledge is on the person's body. In addition, the military's regular workload is primarily for combat and defense to supply any equipment for direct disaster relief cannot be done. But when there was a disaster The military will be the first unit to enter the area as specified in the Ministry of Defense disaster relief plan, while the announcement is a disaster area Is the duty of Ministry of Interior. The budget for helping people from the central budget can only be done when declared as a disaster area and The request for help is different from the case of the war situation in which the Attorney General Law Act, BE 2467 authorizes the right to perform any military action that is seen as reducing the impact on stability and that is why it is encouraged that the army of the region should act as an Incident Command Center in the event of a major disaster at the time of the war and the private sector to support the Thai military disaster relief work in times of war . The Incident Commander has civilians as chiefs under the regional commander or military representative as the director of the National Disaster Relief Center in the war area Co-operation in accordance with all existing national disaster relief plans. Suggestions for research on civil-military co-operation practices in the event of a war disaster Of the Thai Army Disaster Relief Center must improve on Budget setting for public threats There is a rate of regular disaster relief military units in the unit.Providing personnel and equipment as an All Call List for disaster relief Prepare the load list, the amount of weight, from the normal time to coordinate with the unit responsible for moving quickly Create a practical manual (SOP), establish a joint communication network. In order to be able to use correctly according to the regulations Increasing the efficiency of joint operations between civilians and soldiers. Next research study should use both qualitative and quantitative research regulations compare with external education agencies, army and related countries abroad.