เรื่อง: แนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการให้สอดคล้องกับกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลสากล กรณีศึกษากฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป,Guidelines for updating service providers' computer data retention in accordance with the Universal Privacy Act. Case Study EU Personal Data Protection Act
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย พงศธร วรรณสุคนธ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางปรับปรุงหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
ให้สอดคล้องกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลสากล กรณีศึกษากฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลของ
สหภาพยุโรป
โดย : นายพงศธร วรรณสุคนธ์
สาขาวิชา : ความมั่นคงแห่งชาติ
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
(ศีพัฒน์ นามวัฒน์)
กรกฎาคม ๒๕๖๒
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทาง
คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการให้สอดคล้องกับกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลสากล กรณีศึกษากฎหมายข้อมูล
ส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป โดยทำการศึกษาแนวทางพัฒนาหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทาง
คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ และกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลของสากล รวมทั้งศึกษาผลกระทบของ
กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลต่อการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ รวมทั้งเสนอ
แนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๖๐
วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร และการ
สัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่
ได้มาจากการแนวคิด ทฤษฎี ข้อกฎหมาย และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า หน่วยงานภาครัฐที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement
agency) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการ ไม่ถือว่าหน่วยงานควบคุม
ข้อมูล (Data controller) เนื่องจากการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปโดยอำนาจหน้าที่ ระเบียบ
หรือกฎหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้การปกป้องข้อมูลระหว่างการเดินทาง (Data in transit protection)
เป็นสิ่งที่สำคัญ หน่วยงานที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรมีกลไกในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์รั่วไหลของข้อมูลในทุกขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการใช้อำนาจและ
สร้างความโปร่งใสในการดำเนินการ
abstract:
ABSTRACT
Title : Guidelines for updating service providers' computer data retention in
accordance with the Universal Privacy Act. Case Study EU Personal
Data Protection Act.
By : Mr.Pongsathon Vannasukon
Major Field : National security
Research Advisor : Group Captain
(Sipat Namwat)
JULY 2019
The purpose of this research is to study the problems that occur in the
storage of computer traffic information of service providers in accordance with
international privacy laws. Case study of the European Union personal information law.
By studying the guidelines for developing guidelines for keeping computer
traffic information of service providers And international privacy laws Including studying
the impact of personal information laws on the storage of computer traffic data of
service providers Including proposing guidelines for the performance of the competent
official under the Computer Crime Act BE 2550 and as amended in BE 2560
Method The researcher used the qualitative research process for document
research. And in-depth interviews By using primary data obtained from the target group
interview Namely experts, experts and experienced people Both the executive level
and the practitioner Including the use of secondary data derived from concepts,
theories, laws and related literature reviews
The research found that The law enforcement agency, which acts in
accordance with the law to retrieve information from service providers. Not considered
a data controller because of the acquisition of personal information by the authority,
regulation or law. Data protection during travel (Data in transit protection) is important.
Law enforcement agencies There should be a mechanism to protect personal information in order not to cause information leakage in every process. To create
clarity in using power and create transparency in operations